การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน ในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ (กรณีศึกษา)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่มารับบริการที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 4 โรงพยาบาลบุรีรัมย์มีจำนวนเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความสนใจและทำการศึกษาผู้ป่วย เบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 2 ราย
วัตถุประสงค์: เพื่อเป็นแนวทางในการให้การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนและ เป็นแนวทางในการสนับสนุนส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยและครอบครัว
วิธีการศึกษา: เลือกผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่มารับบริการที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 4 โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2550 จำนวน 2 ราย
ผลการศึกษา: กรณีศึกษารายที่ 1 แพทย์วินิจฉัยเป็น Hypoglycemia with DM with HT ให้การพยาบาลโดยติดตามระดับน้ำตาลในเลือด วัดสัญญาณชีพ ประเมินระดับ ความรู้สึกตัว สังเกตอาการระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ควบคุมอัตราการไหลของ สารน้ำ เฝ้าระวังภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและอีเลคโทรไลท์อาการไม่พึงประสงค์ จากการใช้ยา และการป้องกันอุบัติเหตุ วางแผนจำหน่ายเรื่องการงดยา การควบคุมอาหารและส่งต่อการดูแลต่อเนื่อง หลังนอนโรงพยาบาล 2 วัน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น แพทย์ให้กลับบ้านได้ ได้รับการส่งต่อเพื่อดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ผลการเยี่ยมบ้านพบผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิถีการดำเนินชีวิต ดูแลตนเอง ได้เหมาะสม
กรณีศึกษารายที่ 2 แพทย์วินิจฉัยเป็น Acute Pyelonephritis with DM with HT ให้การพยาบาลโดยวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง ประเมินภาวะไข้ ให้ยาปฏิชีวนะ เฝ้าระวังอาการไม่พึ่งประสงค์จากการใช้ยาและภาวะซ็อคจากการติด เชื้อในกระแสเลือด เจาะเลือดเพื่อประเมินระดับน้ำตาล และฉีดยาอินซูลิน หลังนอนโรงพยาบาล 13 วัน มีอาการดีขึ้น แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ได้รับการ ส่งต่อเพื่อดูแลต่อเนื่องปัญหาด้านการรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ การทำความ สะอาดร่างกาย ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ การงดใช้ยาสมุนไพรแทนยาควบคุมเบาหวาน และปัญหาด้านอาชีพ หลังการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยสามารถปรับตัวดูแลตนเองได้ ถูกต้อง
สรุป: ความรู้ความเข้าใจเป็นอย่างดีของพยาบาลเกี่ยวกับพยาธิสภาพของโรค แนวทางการรักบา การใช้ยา และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และการรวบรวมและ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยถูกต้องครอบคลุมองค์รวมช่วยให้ผู้ป่วย ปลอดภัยจากภาวะวิกฤติ สามารถปรับพฤติกรรมและวิถีการดำเนินชีวิตให้ปลอดภัย จากภาวะแทรกช้อนซ้ำได้
Article Details
References
2. ธิติ สนับบุญ. โรคแทรกซ้อนชนิดฉับพลัน ในผู้ป่วยเบาหวาน. ใน : วิทยา ศรีดามา. บรรณธิการ. การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที' 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ยูนิตี้ พับลิเคชั่น ; 2545 : 324-6.
3. พรรณพิศ สุวรรณกูล. ภาวะติดเชื้อกับโรค เบาหวาน. ใน : วิทยา ศรีดามา. การดูแล ผู้ป่วยเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ยูนิตี้พับลิเคชั่น ; 2545 : 286.
4. นิดยา สออารีย์. หลักการพยาบาลผู้ป่วยเสียสมดุลน้ำและอีเล็คโตรลัยศ์. ใน : พัชรียา ไชยลังกา, ทิพมาส ชิณวงศ์, นวลจันทร์ รมณารักษ์. บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ป่วย ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (อายุรศาสตร์) เล่ม 1 สงขลา:ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส.ซี.วี.บิสสิเนสส์; 2546 : 72, 83, 86.
5. บุญสืบ ศรีไชยยันต์. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบทางเดินปัสสาวะ. ใน : โครงการ สวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก. การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ. เล่ม 1. นนทบุรี : โรงพิมพ์ยุทธรินทร์, 2541 : 626-35.
6. ปราณี ทู้ไพเราะ. คู่มือยา.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ, LT.Press CO. Ltd., 2548 : 203-4, 209-10, 295.
7. นวลจันทร์ รมณารักษ์. หลักการพยาบาล ผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ. ใน : พัชรียา ไชยลังกา, ทิพมาส ชิณวงศ์, นวลจันทร์ รมณารักษ์. บรรณาธิการ. การพยาบาลผู้ป่วย ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (อายุรศาสตร์) เล่ม 1 สงขลา : ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอล.ซี.วี. บิสสิเนสส์ ; 2546 : 285-6.
8. ชวนพิศ วงศ์ละม้าย, คล้ายเชิญ โชคบำรุง. การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 4 ขอนแก่น : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ขอนแก่นการพิมพ์ ; 2546 : 118.