ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อหาสาเหตุและเปรียบเทียบความรุนแรงของภาวะตัวเหลืองในเด็กทารกแรก เกิดอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ขึ้นไปของโรงพยาบาลนางรอง
สถานที่ทำการศึกษา: โรงพยาบาลนางรอง
ชนิดการศึกษา: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังเชิงพรรณนา
ประชากรศึกษา: เด็กทารกแรกเกิดอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ขึ้นไปที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะตัว เหลืองรักษาที่โรงพยาบาลนางรองตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2549 - 31 กรกฎาคม 2550 จำนวน 182 คน
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลสาเหตุและเปรียบเทียบความรุนแรงของภาวะตัวเหลืองในแง่อายุ ที่เริ่มเหลือง, ค่าบิลิรูบินสูงสุด และจำนวนวันที่ต้องรักษาด้วยการส่องไฟในเด็กทารกแรกเกิดอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ขึ้นไปที่รักษาที่โรงพยาบาลนางรอง ตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2549 - 31 กรกฎาคม 2550
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 182 คน ตรวจแล้วไม่พบสาเหตุ 88 ราย, G6PD deficiency 60 ราย, Breast feeding jaundice 9 ราย, Breast milk jaundice 6 ราย, Infection 5 ราย, Cephalhematoma 4 ราย, Condition อื่น ๆ ส่งเสริมให้เหลือง 3 ราย, Polycythemia 1 ราย, Hypothyroid with Down Syndrome 1 ราย, พบ 2 สาเหตุร่วมกัน 5 ราย, สาเหตุที่ทำให้เหลืองเร็วที่สุด คือ G6PD deficiency with ABO incompatibility และ G6PD deficiency with Hypothyroid with Down syndrome, สาเหตุที่ทำให้มีค่าบิลิรูบินสูงสุด คือ G6PD deficiency with sepsis, สาเหตุที่ต้องส่องไฟนานที่สุด คือ G6PD deficiency with ABO incompatibility ผู้ป่วยที่ต้องกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำด้วยภาวะตัวเหลืองมี 66 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.26 โดยเป็นผู้ป่วยที่คลอดที่โรงพยาบาลนางรองถึงร้อยละ 26.37 ของผู้ป่วยทั้งหมด (ร้อยละ 1.75 ของทารกเกิดมีชีพ ครบกำหนดที่คลอดที่โรงพยาบาลนางรองทั้งหมด) ในจำนวนนี้มีการส่องไฟซ้ำเป็นครั้งที่ 2 จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.55 สาเหตุ ส่วนใหญ่ที่ต้องกลับ มานอนโรงพยาบาลซ้ำ คือ Inconclusive jaundice และ G6PD deficiency
สรุป: ควรมีการตรวจค่าบิลิรูบินและ G6PD level ในทารกแรกเกิดทุกรายเพื่อเป็น แนวทางในการคาดคะเนค่าบิลิรูบินในอนาคตหาก พบว่าค่าบิลิรูบินผิดปกติและ หรือ G6PD level ผลเป็น Deficiency ควรรีบให้การรักษาและหรือติดตามค่า บิลิรูบินในทารกรายนั้นๆ อย่างใกล้ชิด
คำสำคัญ: ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
Article Details
References
2. สรายุทธ ลุภาพรรณฃาติ. อาการเหลืองในทารกแรกเกิด. ใน : วันดี วราวิทย์, ประพุทธ ศิริปุณย์, สุรางค์ เจียมจรรยา, บรรณาธิการ. ตำรากุมารเวชศาสตร์ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โฮลิสติก พับลิชชิ่ง ; 2540. 51-7
3. วรวรรณ ตันไพจิตร. ภาวะพร่องเอ็นชัยม์ จี-6-พีดี. ใน : มนตรี ตู้จินดา, วินัย ลุวัตถี, อรุณ วงษ์จิราษฎร์, ประอร ชวลิตธำรง, พิภพ จิรภิญโญ, บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์; 2541. 1428-38.
4. พงษ์จันทร์ หัตถีรัตน์. ภาวะโลหิตจางจาก การแตกของเม็ดเลือดแดง. ใน : พงษ์จันทร์ หัตถีรัตน์, อำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์, ภัทรพร อิศรางกูร ณ อยุธยา, บรรณาธิการ. โลหิตวิทยาในเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ชัยเจริญ ; 2538. 53-69.
5. Sgro M, Campbell D, Shah V. Incidence and causes of severe neonatal hyperbilirubinemia in Canada. CMAJ 2006 Sep 12;175 (6) : 587-90.
6. Abolghasemi H, Mehrani H, Amid A. An update on the prevalence of glucose 6-phosphate dehydrogenase deficiency and neonatal jaundice in Tehran neonates. Clin Biochem 2004 Mar ; 37(3) : 241-4.
7. Kaplan M, Bromiker R, Schimmel MS, Algur N, Hammerman C. Evaluation of discharge management in the prediction of hyperbilirubinemia : the Jerusalem experience. Pediatr 2007 Apr ; 150 (4): 412-7.
8. อรวินท์ ฦาชา. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป เขต 4. 2550 ; 1 : 35-43.