การตัดอวัยวะส่วนแขนขาของประชาชนที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ ในระหว่างปี พ.ศ. 2547-2549

Main Article Content

ฐิติวัฒน์ เพ็งชัย

บทคัดย่อ

เหตุผลการวิจัย: จากรายงานการสำรวจสถานการณ์การตัดแขนขาของผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ พบว่าเมื่อเปรียบเทียบในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา การตัดอวัยวะส่วนของแขนขามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยพบว่าการทำหัตถการดังกล่าวได้ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.6 ในปี 2547 เป็นร้อยละ 35.5 และ 36.9 'ในปี พ.ศ. 2548 และ 2549 ตามลำตับ การตัดอวัยวะส่วนของแขนขาเป็นหัตถการที่ทำให้เกิดการ สูญเสียอวัยวะเดิมที่มีอยู่เดิม และเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต ตลอดจนก่อให้ เกิดผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลและครอบครัว เป็นภาระแก่สังคมและ ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประเทศชาติ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์การตัดอวัยวะส่วนแขนขาของประชาชนที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ ในระหว่าง พ.ศ. 2547-2549 ในประเด็น ลักษณะทางประชากรและสังคมของประชาชนที่ตัดอวัยวะส่วนแขนขาในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ สาเหตุการตัดอวัยวะส่วนแขน ขาและระดับการตัดอวัยวะส่วนแขน ขา
รูปแบบการวิจัย: ศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive research) โดยการเก็บข้อมูลย้อนหลังจาก เวชระเบียนผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีสะเกษที่ได้รับการตัดอวัยวะส่วนแขนขา (Limb Amputation) ในระหว่างปี พ.ศ. 2547-2549 โดยศึกษาถึงเพศ อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ สาเหตุของการตัดและระดับของการตัดอวัยวะส่วนแขน ขา การบันทึกข้อมูลเป็นการบันทึกจำนวนของแขนขาที่ถูกตัดในแต่ละครั้งที่นอน รักษา ศึกษาระตับของการตัดสุดท้ายที่สิ้นสูดในแต่ละครั้งที่มานอนโรงพยาบาล และการตัดอวัยวะส่วนแขนขาข้างเดียวกันในการนอนรักษาครั้งนั้นๆ ถือเป็นหนึ่งครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละ นำเสนอตามตัวแปรที่รวบรวมและจำแนกตามตัวแปรที่กำหนด
ผลการศึกษา: การตัดอวัยวะส่วนแขนขาในผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีสะเกษในระหว่างปี พ.ศ. 2547-2549 จำนวน 420 คน พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย เพศชาย ต่อเพศหญิง เท่ากับ 1.6 : 1 ช่วงอายุ 50-59 ปี เป็นช่วงอายุที่มีการตัดแขน ขามากที่สุด สถานภาพสมรสคู่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก สาเหตุสำคัญของการตัดแขนขา พบว่า โรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตันเป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง รองลงมามีสาเหตุจากอุบัติเหตุและภาวะติดเชื้อ แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะที่ขา พบว่า สาเหตุอันดับแรกเกิดจากโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตัน รองลงมามีสาเหตุจากอุบัติเหตุ สำหรับการตัดส่วนแขนมีสาเหตุส่วนใหญ่จาก อุบัติเหตุอื่นๆ ที่ไม่ใช่อุบัติเหตุจราจร รองลงมาได้แก่สาเหตุจากโรคหลอดเลือด ส่วนปลายอุดตัน ระดับการตัดแขนขา พบว่า มีการตัดส่วนของขามากกว่าการตัดส่วนของแขน ร้อยละ 69.8 และร้อยละ 30.2 ตามลำดับ โดยตัดใต้เข่ามากที่สุด (ร้อยละ 99.0) เป็นการตัดนิ้วเท้า ร้อยละ 50.8 พบในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ส่วนการตัดแขนพบในช่วงอายุน้อยกว่า 40 ปี พบว่าคิดเป็นร้อยละ 46.8 ของการตัดแขนขาในกลุ่มอายุน้อยกว่า 40 ปี สำหรับการตัดในรายในที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป พบว่ามีการตัดใต้เข่ามากที่สุด (ร้อยละ 78.1) โดยพบสูงสุด ในกลุ่มอายุช่วง 50-59 ปี (ร้อยละ 31.2) รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 60-69 ปี ร้อยละ 25.1
สรุป: การตัดแขนขาเป็นการทำหัตถการที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความพิการโดยถาวร การป้องกันการเกิดความพิการดังกล่าวโดยการเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงตามบริบทของแต่ละกลุ่มจะช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดความพิการและลดต้นทุนทั้งด้านผู้ป่วย และรัฐบาลรวมทั้งลดปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ. บรรณาธิการ.การสาธารณสุขไทย พ.ศ. 2544-2547. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2547.

2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตริ. สมุดสถิติรายปี ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานฯ ; 2545.

3. สำนักส่งเสริมและพิทักษ์คนพิการ สำนักงาน ส่งเสริมสรัสติภาพ เด็ก เยาวชน ผู้ด้อย โอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุพระราชบัญญัติ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534. นนทบุรี : สำนักฯ ; 2534.

4. โรงพยาบาลศรีสะเกษ,งานเวชสถิติ. รายงานประจำปี 2549. ศรีสะเกษ : โรงพยาบาลฯ ; 2549.

5. สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ, เพ็ญจันทร์ ประดับมุข, รัชรา ริ้ว1ไพบูลย์, วราพร รุจาคม, ไพจิตร เพ็งไพบูลย์. รายงานการวิจัยระบบทางการแพทย์ เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านพิการ. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบ; 2539.

6. อนันพัฒน์ อิ่มพูลทรัพย์, การดัดอวัยวะส่วนแขนขาในโรงพยาบาลศิริราชในรอบ 10 ปี (2520-2529) แพทย์สารทหารอากาศ 2535; 38 : 123-38.

7. เอกสิทธิ์ ภู่ศิริภิญโญ, ฐิติวัฒน์ เพ็งชัย. การตัดอวัยวะส่วนแขนขาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในรอบ 7 ปี (2531-2538) รายงานการศึกษา. ขอนแก่น : ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู มหาวิทยาลัยขอนแก่น ; 2539.

8. Ebskov-lb : Level of lower limb amputation in relation to etiology and epidemiological study. Arisona Prosthet-Orthot-Int., 1992.

9. สุขจันทร์ พงษ์ประไพ, สถิติและแนวโน้ม ผู้ป่วยที่ได้รับการตัดแขนขาในโรงพยาบาล สงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2546; 11: 21 -7.

10. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2547. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข, 2547.