การพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันโรงพยาบาลสุรินทร์

Main Article Content

ปกรณ์ ตุงคะเสรีรักษ์
สุนันญา พรมตวง
อุบลรัตน์ ดีพร้อม

บทคัดย่อ

บทนำ: AMI คือ ภาวะที่มีการสลายตัวของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจากการขาดเลือดจากหลอดเลือดโคโรนารีอุดตัน ผู้ป่วยจะมาโรงพยาบาลด้วยอาการเจ็บหน้าอก เป็นโรคที่อัตราการตายสูงสุดใน 24 ชั่วโมงแรก ปัญหาที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยตายระหว่างส่งต่อคัดกรองล่าช้า การให้ยา Streptokinase (SK) น้อย อีกทั้งไม่มีแนวทางปฏิบัติและอัตราการเข้าไอซียูต่ำเนื่องจากไม่มีเตียงว่าง
วัตถุประสงค์: 1. เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแล 2. ทีมสหสาขาวิชาชีพมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วย
วิธีการดำเนินงาน: PCT อายุรกรรมประชุมปรึกษาเพื่อมีมติเรื่องแนวทางการดูแลผู้ป่วย AMI โดยมีขั้นตอนตั้งแต่ตึกอุบัติเหตุและฉุกเฉินมีทางด่วนพิเศษสำหรับผู้ป่วย AMI
1) มีการอัดกรองโดยใช้เกณฑ์ประเมิน 2 ใน 3 ของเกณฑ์การวินิจฉัยและตรวจ Trop-T, EKG 12 lead ภายใน 10 นาที หลังจากนนแพทย์เพิ่มพูนทักษะ รายงานแพทย์แผนกอายุรกรรมเพื่อตัดสินใจการรักษา 2) ให้ออกซิเจนและการ รักษาเบื้องต้น 3) หากต้องให้ยา SK เบิกยาเพื่อมาให้ที่หอผู้ป่วยหนัก 4) เคลื่อน ย้ายผู้ป่วยภายในเวลา 30 นาที หอผู้ป่วยหนักอายุกรรม 1) เตรียมอุปกรณ์ 2) ติดต่อแพทย์เพื่อดูแลขณะให้ยา 3) แพทย์อธิบายผลช้างเคียงของยาและลง สมุดบันทึกและยินยอมการรักษา 4) เตรียมผู้ป่วยให้ยา SK 5) ติดตามอาการ ขณะให้ยา 6) บันทึกอาการ 7) ให้การดูแลตาม CPG และ CNPG โดยให้ญาติ มีส่วนร่วม 8) วางแผนจำหน่าย หอผู้ป่วยอายุรกรรม 1) ให้การดูแลผู้ป่วยในระยะพักฟื้น 2) สอนและวางแผนจำหน่ายโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
ระยะเวลาดำเนินงาน: ระยะที่ 1 ปี พ.ศ. 2547-2548 ระยะที่ 2 เดือนมกราคม 2549 - สิงหาคม 2549 ระยะที่ 3 กำลังดำเนินงานพัฒนาต่อไป
ผลการดำเนินงาน: ตัวชี้วัดพบว่าผู้ป่วยใช้ระบบ fast tract 51 ราย ได้รับยา Streptokinase 11 ราย ผลการตรวจ Troponin T positive 42 ราย ระยะที่ 1 เสียชีวิต 42 ราย ระยะที่ 2 เสียชีวิตลดลงเหลือ 7 ราย (7 เดือน) การพัฒนาต่อเนื่อง 1) จัดทำ CNPG การดูแลผู้ป่วย AMI ทั้งแต่แรกรับจนผู้ป่วยจำหน่ายออกจาก โรงพยาบาล 2) จัดทำแบบประเมินความเจ็บปวดชนิดเฉียบพลัน เพื่อให้บุคลากรผู้ดูแลสามารถประเมินความเจ็บปวดอย่างถูกต้อง และสามารถให้การช่วยเหลือ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ผู้ป่วยได้รับการดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยแต่ละวิชาชีพปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ
วิจารณ์: หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมมีเตียงว่าง 1 เตียง เพื่อรอรับผู้ป่วย AMI เสมอ อีกทั้งแต่ละสาขาวิชาชีพทำงานตามมาตรฐานวิชาชีพ ทำให้อัตราเสียชีวิตลดลงอีกทั้ง แพทย์อายุรกรรมมีแบบแผนในการดูแลผู้ป่วยเป็นแนวทางเดียวลัน ด้านการพยาบาล มีความรู้และแผนการดูแลที่ครอบคลุมและสามารถดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ขั้นตอนการรับผู้ป่วยจนกระทั่งการติดตามผลการรักษาเมื่อกลับไปอยู่บ้าน ทำให้การดูแลผู้ป่วย AMI มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและต้องพัฒนาต่อไป
คำสำคัญ: กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, การดูแล

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. วดีน พุทธารี. แนวทางการรักษา Unstable angina/Non ST - elevation Myocardial Infarction, ใน Evidence - Based Clinical Practice Guideline ทางอายุรกรรม ฉบับแก้ไขปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 3. วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548. 403-15.

2. สุพจน์ ศรีมหาโชตะ. แนวทางการรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่มี ST-elevation. ใน Evidence - Based Clinical Practice Guideline ทางอายุรกรรม ฉบับแก้ไขปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 3. วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548. 416-27.

3. นิธิ มหานนท์, ปียะมิตร ศรีธารา และสรณ์ บุญใบชัยพฤกษ์, บรรณาธิการ. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. กรุงเทพฯ : โอเอส พริ้นติ้งเฮ้าท์ ; 2543.

4. อับฎา ตียพันธ. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การศึกษาในโรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2545; 27(3). 151-8.

5. มุกดา สุดงาม. โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ, สุรินทร์, บุรีรัมย์ 2549; 21 (2), 27-35.

6. ธนรัตน์ ชุนงาม. Current Concept in Acute Coronary Syndrome. อายุรศาสตร์ 2006. ใน สมศักดิ ลัพธิกุลธรรม และคณะ, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: บริษัท ซิตี้พริ้น จำกัด ; 2549.

7. สันต์ ใจยอดศิลป์, บรรณาธิการ.คู่มือการช่วยชีวิตขั้นสูง สมาคมแพทย์โรคหัวใจกระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์สวย จำกัด; 2541.

8. ศิริพร จิรวัฒนกุล. การวิจัยเชิงคุณภาพในวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น : โรงพิมพ์ ศิริกัณฑ์ออฟเซ็ท; 2546.

9. ราศี ลีนะกุล, ทัศนา บุญทอง, กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล และอันเพ็ญ พิชิตพรชัย. การพัฒนารูปแบบการอัดการรายกรณีทางการพยาบาลในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตาย. วารสารวิจัยทางการพยาบาล 2547; 10 (2), 120-32.

10. กฤษดา แสวงดี, ธีรพร สถิรอังกูร และเรวดี ศรีนคร, บรรณาธิการ. แนวทางการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2539; 13-25.

11. เดือนฉาย ชยานนท์. การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย หลังการเกิด Acute myocardial infarction ในโรคอายุรศาสตร์ที่ต้องรักษาต่อเนื่อง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ยูนิตี้พับลิเคชั่น. 2538; 8-16.