ผลการรักษาและความปลอดภัยของการใช้ยา streptokinase ในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ณ โรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

Voravut Jianjaroonwong

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงผลการรักษาและความปลอดภัยของการใช้ยา streptokinase ในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดที่มีส่วนของ ST segment ยกสูงขึ้นที่โรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
สถานที่ทำการศึกษา: โรงพยาบาลลำปลายมาศซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง
ชนิดการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา
ประชากรศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 5 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่มีส่วน ของ ST segment ยกสูงขึ้นและได้รับการรักษาด้วยยา streptokinase ที่ โรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2550
วิธีการศึกษา: ทำการศึกษารวบรวมข้อมูลผลการรักษาในแง่อัตราการรอดชีวิตที่ 7 วัน และ 30 วัน การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำและภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยา streptokinase และการรักษาอื่นๆ และได้ศึกษาถึงอายุ เพศ อาการทางคลินิก ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมีอาการจนมาถึงโรงพยาบาล ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึง โรงพยาบาลจนได้รับยา streptokinase ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงผลตรวจวัดระดับของ serum troponin-T
ผลการศึกษา: ในจำนวนผู้ป่วยที่ศึกษาทั้งหมด 5 ราย เป็นผู้ป่วยชาย 4 ราย ผู้ป่วยหญิง 1 ราย อายุอยู่ในช่วง 49-73 ปี (อายุเฉลี่ย 63 ปี) ลักษณะทางคลินิกก่อนให้ยาที่พบมากที่สุดคืออาการแน่นหน้าอกและเหงื่อแตก (ร้อยละ 80) ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมีอาการจนกระทั้งมาถึงโรงพยาบาลส่วนมากอยู่ในช่วง 1-2 ชั่วโมง ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลจนได้รบยา streptokinase อยู่ในช่วง 31-136 นาที จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับยามีระดับการ ยกตัวฃอง ST segment ลดลง ผลการรักษาในผู้ป่วย 4 ราย ที่มาด้วยอาการแน่นหน้าอกและยังไม่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นก่อนให้ยาพบว่าทุกรายรอดชีวิต, ไม่มี ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจชนิดเฉียบพลันและไม่มีกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำไม่ว่าจะ เป็นการดูผลที่ 7 รัน หรือ 30 รัน หลังให้ยาโดยที่ไม่พบภาวะแทรกซ้อนจาก การให้ยานี้มีผู้ป่วย 1 ราย ซึ่งเป็นรายที่มีการให้ streptokinase หลังจากมี cardiac arrest แล้วได้รับการช่วยกู้ฟื้นคืนชีพเป็นเวลา 8 นาที เสียชีวิตและมีเลือดออกจากทางเดินอาหารส่วนบน
สรุป: การรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายด้วยยาละลายลิ่มเลือด เช่น streptokinase สามารถทำได้ในโรงพยาบาลชุมชนที่มีความพร้อม ยา streptokinase มีประสิทธิภาพดีสามารถเพิ่มโอกาสรอดชีวิตและลดการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำ ได้โดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลหลังมีอาการไม่นานและได้รับการวินิจฉัยเร็ว อีกทั้งมีความปลอดภัยในการใช้ถ้ามีการคัดเลือกผู้ป่วยอย่างเหมาะสม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. อภิชาต สุคนธสรรพ์, บรรณาธิการ. Advanced Clinical Cardiology (First edition). เชียงใหม่ : ไอแอมออเก'ในเซอร์แอนด์แอ๊ด เวอร้ใท1ชิ่ง;2548:185-186.

2. Keeley EC, Boura JA, Grines CL. Primary angioplasty versus intravenous thrombolytic therapy for acute myocardial infarction; a quantitative review of 23 randomised trials. Lancet 2003;361:13-20.

3. Zijlstra F, Patel A, Jones M, et al. Clinical characteristics and outcome of patients with early (< 2 h), intermediate (2-4 h) and late (> 4 h) presentation treated by primary coronary angioplasty or thrombolytic therapy for acute myocardial infarction. Eur Heart J 2002;23:550-7.

4. Antman EM, et al: ACC/AHA Guidelines for the Management of Patients with ST-Elevation Myocardial Infarction 2004. Available from: URL: http://www.acc.org/clinical/ guidelines/stemi/index.htm.

5. Tunsstall-Pedoe H, Kuulasmaa K, Amougel p. Myocardial infarction and coronary deaths in the World Health Organization MONICA project. Circulation 1994;90:583-612.

6. สุพจน์ ศรีมหาโชตะ. แนวทางการรักษากล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลันที่มี ST elevation. ใน : วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. Evidence-based Clinical Practice Guideline ทางอายุรกรรม 2548. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2548:416-427.

7. Fibrinolytic Therapy Trialists’ (FTT) Collaborative Group. Indications for fibrinolytic therapy in suspected acute myocardial infarction ะ collaborative overview of early mortality and major morbidity results from all randomised trials of more than 1000 patients. Lancet 1994; 343:311-322.

8. Andersen HR, et al. A Comparison of coronary angioplasty with fibrinolytic therapy in acute myocardial infarction. N Engl J Med 2003; 349: 733-42.

9. Eliott MA, David AM, Carolyn H et al. Enoxaparin versus unfractionated heparin with fibrinolysis for ST-elevation myocardial infarction. N Engl J Med 2006;354:1477-88.

10. Venu M, Robert AH, Judith SH et al. Thrombolysis and Adjunctive Therapy in Acute Myocardial Infarction : The seventh ACCP conference on antithrombotic and thrombolytic therapy. Chest 2004;126:549s-575s.