พฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน ในโรงพยาบาลบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ใจทิพย์ เชื่อมไธสง

บทคัดย่อ

เหตุผลในการศึกษา: เท้าเป็นจุดอ่อนแห่งหนึ่งในร่างกายที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากเบาหวานได้มากนอกจากนี้ยังพบว่าการมีพยาธิสภาพที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่นำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลมากที่สุด และเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกตัดขามากขึ้น ดังนั้นพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานจึงเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมโรคและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานและศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วย
รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ แบบไปข้างหน้า
กลุ่มตัวอย่าง: เลือกแบบเจาะจงจากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 30 กันยายน 2549
ผลการศึกษา: พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.7 เป็นเพศชาย ร้อยละ 23.3 ส่วนใหญ่มีอายุ 51-60 ปี ร้อยละ 40.7 รองลงมา ได้แก่ อายุ 61-70 ปี ร้อยละ 25.9 มีสถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 72.5 รองลงมา เป็นม่าย/แยกกันอยู่ ร้อยละ 21.5 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ98.8 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 90.6 และไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 5.9 มีอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 35.5 รองลงมา ได้แก่ อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 33.6 มีรายได้ ร้อยละ 76.2 และไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.8 ในกลุ่มผู้มีรายได้นั้นพบว่ามีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (2,230.75 บาท/เดือน) ร้อยละ 54.4 และเป็นผู้มีรายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย ร้อยละ 21.9 ช่วงระยะเวลาที่ ผู้ป่วยทราบว่าเป็นโรคเบาหวานมากที่สุด คือ น้อยกว่า 5 ปี ร้อยละ 50.4 รอง ลงมา ได้แก่ 5-10 ปี ร้อยละ 26.1 เป็นผู้ป่วยที่เคยมีประสบการณ์เกิดแผลที่เท้ามากที่สุด ร้อยละ 66.1 เป็นผู้ที่เคยได้รับคำแนะนำเรื่องการดูแลเท้ามากที่สุด ร้อยละ 92.7 แหล่งที่ได้รับความรู้ในการดูแลเท้ามากที่สุด ได้แก่ พยาบาล ร้อยละ 48.7 รองลงมา ได้แก่ แพทย์ ร้อยละ 37.9 ผู้ป่วยมีโรคอื่นร่วมด้วย ร้อยละ 81.6 โรคที่เป็นร่วมด้วยสูงสุด ได้แก่ ความดันโลหิตสูง รองลงมา ได้แก่ โรคระบบประสาทส่วนปลาย และไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 49.18, 29.88, 28.7 ตามลำดับ เมื่อจำแนกผู้ป่วยเป็นกลุ่มตามคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้า พบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้าในระดับปานกลางมีมากที่สุด คือ ร้อยละ 80.7 รองลงมา ได้แก่ พฤติกรรมการดูแลเท้าสูง ร้อยละ 13.4
สรุป: เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ ประสบการณ์เคยมีแผลที่เท้า สถานภาพสมรส สถานภาพในครอบครัว ระดับการศึกษา ระยะ เวลาที่ป่วย รายได้ พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสัมพันธ์กันทางสถิติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ชัยชาญ ดีโรจน์วงศ์. Diabetic foot ulcer. ใน : วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. โรค ต่อมไร้ท่อ และเมตตาบอลิสม สำหรับ เวชปฏิบัติทั่วไป 2. กรุงเทพฯ : ยูนิลิตี้พับลิเคชัน; 2537. 11-20.

2. สุนทร ตัณทนันทน์. การดูแลรักษาตนเอง. วารสารเบาหวาน, 25 (4); 2536: 43-52.

3. ทวี อนันตกุวนธี. แผลที่เท้า. ใน : เทพ หิมะทองคำ, บรรณาธิการ. ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : จูนพับลิชชิ่ง; 2543. 70-4.

4. ศรีอุไร ปรมาธิกุล, บรรณาธิการ. Diabetes Foot : Epidimiological and Clinical Aspects. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ เรื่อง Diabetes and Foot Care: Clinical Management; 9 พฤศจิกายน 2548; ณ ห้องประชุมอรรถสิทธ์ เวชชาชีวะ ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ ชั้น 5 คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี.

5. วัลลา ตันตโยทัย, บรรณาธิการ. Empowerment for Diabetes Self-Management. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ เรื่อง Diabetes and Foot Care: Clinical Management; 9 พฤศจิกายน 2548; ณ ห้องประชุมอรรถสิทธ์ เวชชาชีวะ ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ ชั้น 5 คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี.

6. กอบชัย พัววิไล. การดูแลรักษาเท้าในคนไข้เบาหวาน. วารสารเบาหวาน, 17(5); 2538: 6-12.

7. ศักดิ์ชัย จันทรอมรกุล, เทพ หิมะทองคำ, บรรณาธิการ. การรักษาแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน. โครงการอบรมผู้ให้ความรู้โรค เบาหวาน หลักสูตรพื้นฐาน รุ่นที่ 7; 19-23 กรกฎาคม 2547; ณ โรงพยาบาลราชวิถี.

8. ธิติ สนับบุญ. การดูแลรักษาเท้า. ใน : วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545, 275-6.

9. Reiber, G.E. Diabetic foot care. Diabetic care. 15 (Suppl. l); 1992, 29-31.

10. พัฒน์พงษ์ นาวีเจริญ. การดูแลรักษาเท้า. ใน : วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. การดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545, 240-8.