การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในโรงพยาบาลพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2548

Main Article Content

มะลิวัลย์ มากมน

บทคัดย่อ

เหตุผลในการศึกษา: โรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่ยังรักษาไม่หายและต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบต่างๆ ดังนั้นการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานจึงเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมโรคและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน บุคคลากรทางการแพทย์นอกจากทำหน้าที่ในการดูแลรักษาแล้วยังมีหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีปราศจากโรคแทรกซ้อน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและหาความสัมพันธ์ ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ
กลุ่มตัวอย่าง: เลือกแบบเจาะจงจากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างวันที่ 1-30 กันยายน 2548
ผลการศึกษา: พบว่าส่วนใหญ่มีเพศหญิง ร้อยละ 80.6 เป็นเพศชายร้อยละ 19.4 ส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี ร้อยละ 63.1 รองลงมาได้แก่ มีอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 36.9 มีอายุเฉลี่ย 58.25 อายุต่ำสุด 32 ปี อายุสูงสุด 82 ปี มีสถานภาพ สมรส คู่ ร้อยละ 69.9 รองลงมา เป็น ม่าย/แยกกันอยู่ ร้อยละ 25.2 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98.1 มีการศึกษาระดับ ประถมศึกษา ร้อยละ 84.5 รองลงมาได้แก่การศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช. และปริญญาตรีหรือ สูงกว่า ร้อยละ 4.9 เท่ากัน มีอาชีพ แม่บ้าน, พ่อบ้าน, อยู่บ้านเฉยๆ ร้อยละ 68.0 รองลงมาได้แก่มีอาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 14.6 เป็นผู้ที่มีรายได้น้อยกว่า 1,000 บาท/เดือน ร้อยละ 50.5 รองลงมาได้แก่ มีรายได้ 1,001-5,000 บาท ร้อยละ 37.9 กลุ่มผู้ที่มีระยะเวลาที่ได้รับการรักษามากที่สุดคือ น้อยกว่า 5 ปี ร้อยละ 55.3 รองลงมาได้แก่ มีระยะเวลารักษา 5-10 ปี ร้อยละ 34.0 เป็นผู้ป่วยที่มาตรวจตามนัดทุก 3 เดือน มากที่สุด ร้อยละ 43.7 รองลงมาได้แก่ มาตรวจตามนัดทุก 2 เดือน ร้อยละ 42.7 มาตรวจตามนัดสม่ำเสมอ ร้อยละ 97.1 แหล่งที่ได้รับความรู้ในการดูแลตนเองมากที่สุดได้แก่ พยาบาล ร้อยละ 90.3 รองลงมาได้แก่ แพทย์ ร้อยละ 89.3 ผู้ป่วยมีโรคอื่นร่วมด้วย ร้อยละ 95.1 โรคที่เป็นร่วมด้วยสูงสุดได้แก่ ไขมันในเลือดสูง รองลงมาได้แก่ ความดันโลหิตสูง และไตวาย ร้อยละ 63.1, 51.5, 10.7 ตามสำดับ เมื่อจำแนกผู้ป่วยเป็นกลุ่มตามคะแนน พบว่า หมวดการดูแลตนเองด้านโภชนาการ มีกลุ่มผู้ป่วยมีคะแนนการดูแลตนเองในระดับปานกลาง การดูแล ตนเองด้านสุขภาพ ผู้ป่วยมีคะแนนการดูแลตนเองในระดับปานกลาง
สรุป: ผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคะแนนรวมการดูแลตนเอง พบว่า ผู้ป่วยที่มีเพศ อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ และความถี่ในการมาตรวจตามนัด ต่างกัน มีค่าคะแนนเฉลี่ยการดูแลตนเอง ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผู้ที่มีรายได้ต่างกันมีคะแนนเฉลี่ยการดูแลตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. วินทนา คูศิริสิน. การดูแลตนเองด้านโภชนาการและสุขภาพกับระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุสิน. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโภชนศาสตร์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546.

2. จารุนันท์ สมณะ. การสอนอย่างมีแบบแผนและการเยี่ยมบ้านที่มีผลต่อการลดระดับ น้ำตาลในเลือด และการควบคุมภาวะ แทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.

3. เพ็ญฟรี พรวิริยะทรัพย์. พฤติกรรมสุขภาพของผู้หญิงโรคเบาหวานในภาคตะวันตก. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาพยาบาลผู้ใหญ่) คณะพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย ; กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2540.