Primary nephrotic syndromeI ในผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

Main Article Content

ธีรวัฒน์ อังควณิช

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา Primary nephrotic syndrome เกี่ยวกับอุบัติการณ์การเกิดโรค อาการ และอาการแสดง, ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ภาวะแทรกซ้อน และอัตรา การตายของผู้ป่วย Primary nephrotic syndrome ในกลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
รูปแบบงานวิจัย: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา
เป้าหมาย: ผู้ป่วย Primary nephrotic syndrome ที่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่หน่วยโรคไต กลุ่มงานกุมารเวชกรรม ในช่วงเดือนมกราคม 2543 ถึง ธันวาคม 2547
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยในและจาก OPD Card
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยทั้งหมด 86 ราย เพศชาย 59 คน หญิง 27 คน อัตราส่วนชายต่อหญิง 2.2 ต่อ 1 ผู้ป่วยร้อยละ 79 อยู่ในช่วงอายุ 3 ถึง 12 ปี อายุเฉลี่ย 6.8 ปี อาการสำคัญที่พบได้บ่อยที่สุด คือ อาการบวมพบร้อยละ 100 (บวมแบบกด ไม่บุ๋ม ร้อยละ 54.7, บวมแบบกดบุ๋ม ร้อยละ 45.3) น้ำในช่องท้อง ร้อยละ 45.3 ความดันโลหิตสูงร้อยละ 34.9 น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดร้อยละ 15.1 ผล การตรวจทางห้องปฏิบัติการพบ hematuria ร้อยละ 24.4 ระดับ complement C3 ต่ำ ร้อยละ 7 urine protein/urine creatinine มากกว่า 2.0 ทุกราย การรักษาด้วย prednisolone ในขนาด 1 และ 2 มก./กก./วัน พบว่าผลการ รักษาไม่มีความแตกต่างกัน ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงจะมี remission น้อย กว่าผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตปกติอย่างมีนัยสำคัญ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด คือ urinary tract infection ไม่มีผู้ป่วยทีเสียชีวิต
สรุป: จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วย primary nephrotic syndrome พบในเพศชาย ประมาณ 2 เท่าของเพศหญิง อาการสำคัญที่พบได้ในผู้ป่วยทุกรายคือ อาการบวม การให้ prednisolone ในขนาด 1 และ 2 มก./กก./วัน มีผลการรักษาไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงจะมี remission น้อยกว่าผู้ป่วยที่ความดันปกติ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุดคือ urinary tract infection

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Salcedo JR, Thabet MA, Latta K, Chan JCM. Nephrosis in childhood. Nephron 1995;71:373-85

2. Houser M. Assessment of proteinuria using random urine samples. J pediatr 1984;104:845-8

3. Clark AG, Barratt TM. Steroid responsive nephrotic syndorme. In : Berman S, editor. Pediatric decision making. 4th ed Philadelphia : Mosby : 2003 p 776 - 9

4. Schlesinger ER, Sultz HA, Mosher WE, Feldman JG. The nephrotic syndrome. Its incidence and implication for the community. Am J Dis child 1968;116;623-32

5. Rothenberg MB, Heymann W. The incidence of the nephrotic syndrome in children. Pediatrics 1957;19:446-52

6. Avner ED, Harmon WE, Niaudet P. eds. Pediatric Nephrology. 5th ed. Philadelphia : Lippincott, Williams & Wilkins, 2004:543 -75;1481-525

7. National Heart, Lung and Blood Institute Report of the second task on blood pressure control in childen - 1987. Pediatrice 1987;791:1-25

8. ทศพร สีหิรัญวงค์. Therapeatic outcome in childhood nephrotic Syndrome at songklanakarind Hospital สงขลานครินทร์เวชสาร 2537 ; 12(4):171-2

9. จันทร์นิวัทธ์ เกษมสันต์ และอารี วัลยะเสวี. โรคทางอายุรศาสตร์ของไตในเด็ก การประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 9 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พ.ศ.2505 : 137-73

10. ธิดาวรรณ วีรไพบูลย์ และ กาญจนา ตั้งนรารัชชกิจ. โรคเนโฟรติกชนิดปฐมภูมิ ในผู้ป่วยเด็ก. โรงพยาบาลรามาธิบดี พ.ศ. 2536 - 2543 วิทยานิพนธ์เพื่อวุฒิบัตร สาขากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี พ.ศ.2545

11. Kashemsant C, Sritubtim W, Tapaneyaolarn W, Boonpucknavig V, Boonpucknavig S. The primary nephrotic syndrome in children at Ramathibodi Hospital : Clincial and pathological study. J Med Assoc Thai 1989 ; 72 Suppl 1 : 18-25

12. พิชัย ตันศุภผล. Retrospective study of nephrotic syndrome in Siriraj Hospital BE 2520 - 2523 (thesis). วารสารสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย 2529; 25(2):125 (บทคัดย่อ)

13. Kirdpon S, Vuttivirojana A, Kovitang- koon K, Poolsawat Sam. S Primary nephrotic syndrome in children and histopathologic study at Srinagarind Hospital. J Med Assoc thai 1989 ; 72 suppl 1 :26-31.

14. บุบผา ไพศาลนันท์, อัจฉรา สัมบุณณานนท์. IgM nephropathy ในภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช พ.ศ. 2531 - 2538 (บทคัดย่อจากวิทยานิพนธ์ แพทย์ ประจำบ้านสาขากุมารเวชศาสตร์) วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2543 ; 39 (1) : 92 - 3 (บทคัดย่อ)

15. กฤษดา วัฒนเพ็ญ'ไพบูลย์ การศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยเด็ก focal segmental glomerulo sclerosis ในโรงพยาบาลศิริราช ระหว่าง พ.ศ. 2524 - 2535 (บทคัดย่อจากวิทยานิพนธ์ แพทย์ประจำบ้าน สาขากุมารเวชศาสตร์) วารสารกุมารเวชศาสตร์ พ.ศ. 2541 ; 37(1):114 - 5

16. International Study of Kidney Disease in Children. Nephrotic syndrome in chlidren : prediction of histopa- thology from clinical and laboratory characteristics at time of diagnosis. Kidney Int 1978;13:159 - 65

17. อรุณ วงษ์จิราษฎร์. กลุ่มอาการเนโพรติก ใน นวลอนงค์ วิศิษฎสุนทร บรรณาธิการ. “เวชปฏิบัติทางกุมารเวชศาสตร์” 2545;159 -75.

18. Urizar RE. The nephrotic syndrome. In : UrizarRE, Largent JA, Giloa N, eds Pediatric nephrology. New York : Medical Examination Publishing Co. Inc, 1983;1-47

19. ประสิทธิ์ ฟูตระกูล, นริสา ฟูตระกูล. การพัฒนาการรักษาโรคไตชนิดรุนแรง. จุฬาลงกรณ์เวชสาร 2537;38(1):3 -7 (บทคัดย่อ)