การตายของทารกปริกำเนิดในโรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ปิยวัฒน์ อังควะนิช

บทคัดย่อ

เหตุผลของการวิจัย: อัตราตายปริกำเนิดเป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของการดูแลมารดาและทารก ตลอดจนระดับสุขภาพอนามัยของประชากรรวมถึงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และสังคมของชุมชน ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาอัตราตายปริกำเนิด ยังค่อนข้างสูงและสาเหตุการตายปริกำเนิด ส่วนใหญ่เป็นสาเหตุการตายที่ สามารถป้องกันได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการตายปริกำเนิดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตายของทารกปริกำเนิดในโรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2548
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม และกลุ่มงานกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลศรีสะเกษ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
วิธีการศึกษา: รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของทารกตายปริกำเนิดที่คลอดในโรงพยาบาลและ คลอดระหว่างทางมาโรงพยาบาลศรีสะเกษ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ถึง
ผลการศึกษา: 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2548 จำนวนทารกที่ คลอดในโรงพยาบาลและคลอดระหว่างทางมาโรงพยาบาลศรีสะเกษ จำนวน 11,806 ราย มีทารกคลอดมีชีพจำนวน 11,684 ราย ทารกตายคลอด 122 ราย คิดเป็นอัตราตายคลอด 10.33 ต่อ 1,000 การคลอด ทารก แรกเกิดตายภายใน 7 จัน จำนวน 72 ราย อัตราตายของทารกแรกเกิดระยะด้น 6.16 ต่อ 1,000 การคลอดมีชีพ ทารกตายปริกำเนิด 194 ราย คิดเป็น
สรุป: อัตราตายปริกำเนิด 16.43 ต่อ 1,000 การคลอด สาเหตุการตายปริกำเนิด ส่วนใหญ่เป็นการตายเปีอย (ร้อยละ 41.2) สัดไปคือความพิการแต่กำเนิด (ร้อยละ 23.7) ภาวะที่เกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนด (ร้อยละ 15.0) ภาวะขาดออกซิเจนในระยะคลอด (ร้อยละ 13.4) และสาเหตุเฉพาะ (ร้อยละ 6.7) อัตราตายปริกำเนิดในโรงพยาบาลศรีสะเกษตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2548 เท่ากับ 16.43 ต่อ 1,000 การคลอด ซึ่งสูงกว่า เป้าหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 แนวทาง แก้ไขเพื่อลดอัตราตายปริกำเนิดจะต้องพัฒนาคุณภาพการดูแลในระยะตั้งครรภ์ การดแลในระยะคลอดและการดแลทารกแรกเกิด ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Wilkinson, David. Avoidable perinatal deaths in a rural hospital: strategies to improve quality of care. Tropical Doctor 1995 Jan;25:16-20.

2. ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์ และกำแหง จาตุรจินดา. การตายของทารกปริกำเนิด. ใน : ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์, วินิต พัวประดิษฐ์ และสุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล, บรรณาธิการ .สูติศาสตร์รามาธิบดี 1. นิพนธ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โฮสิสติก พับลิชชิ่ง ; 2539 : หน้า 61-86.

3. ธราธิป โคละทัต. การเสียชีวิตของทารกแรกเกิด. ใน: มนตรี ตู้จินดา, วินัย สุวัตถี, อรุณ วงษ์จิราษฎร์, ประอร ชวลิตธำรง และพิภพ จิรภิญโญ, บรรณาธิการ. กุมารเวชศาสตร์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์ ; 2540: หน้า 203-211

4. วิทยา ถิฐาพันธ์ และสายฝน ชวาลไพบูลย์. การตายของทารกปริกำเนิด. ใน : เยื้อน ตันนิรันดร, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์มารดาและทารก. กรุงเทพฯ : สร้างสื่อและอุษาการพิมพ์ ; 2544 : หน้า 329-38.

5. Beischer, Norman A. Major Fetal Malformations and Perinatal Mortality Rates: the place of late terminations (editorial). Aust NZ J obstet Gynaecol 1995 ; 35(1) : 1-2.

6. ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. สถิติหลักด้านอนามัยแม่และเด็ก: รายงานเบื้องด้น. สูติศาสตร์นรีเวชวิทยาสาร 2544 ;10:20-26.

7. ประพุทธ ศิริปุณย์.ทารกแรกเกิด คำจำกัดความและภาพรวมของปัญหา. ใน: วันดี วราวิทย์, ประพุทธ ศิริปุณย์ และสุรางด์ เจียมจรรยา, บรรณาธิการ. ตำรากุมารเวชศาสตร์ (ฉบับเรียบเรียงใหม่ เล่ม 2) กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง ; 2540 : หน้า1-4

8. นลินี เดียววัฒนาวิวัฒน์. การตายปริกำเนิด ในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช พ.ศ. 2535-2537. วารสารแพทย์เขต 7. 2538 ;14: 24-32.

9. คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 9 แผนพัฒนา สุขภาพ แห่งชาติ ในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545-2549. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับล่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์ ; 2544.

10. World Health Organization. International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems. Tenth Revision.Geneva : WHO ; 1992.

11. J.S. Wigglesworth. Monitoring Perinatal Mortality A Pathophysiological Approach. Lancet 1980;2:684-6.

12. สมคิด สุริยเลิศ. การตายของทารกปริกำเนิด ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2540 ;12:31-39.

13. สมบูรณ์ สมหล่อ. อัตราตายทารกปริกำเนิด ในโรงพยาบาลพระปกเกล้า พ.ศ. 2535-2539. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2540;14:4-14.

14. Vilai Ratrisawadi, Sunthorn Horpaopan, Uraiwan Chotigeat, et al. Perinatal -Neonatal and Weight Specific Neonatal Mortality in Thailand in 1996 and Comparison with 1976 and 1986 : A Hospital Based study. J Med Assoc Thai 1998;81 (7)506-10.

15. Horpaopan S, Puaponh Y, Ratrisawadi V, et al. Perinatal Mortality at Childrens and Rajvithi Hospitals in 1983-1987. J.Med Assoc Thai 1993; 72(2): 119-29.

16. ปพันธ์ พิมุ. การตายปริกำเนิดที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และ โรงพยาบาลราชวิถี พ.ศ. 2540. วิทยานิพนธ์ เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญใน การประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขากุมารเวชศาสตร์ สถาบันฝึกอบรม สถาบัน สุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : สถาบันฯ ; 2541.

17. ประสงค์ วิทยภาวรวงศ์. การตายของทารกปริกำเนิดโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ พ.ศ. 2535-2539. กุมารเวชสารก้าวหน้า 2541;5: 41-51.

18. วิชัย วัชรปรีชาสกุล. การตายของทารกปริกำเนิดในโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 7 2539;15:105-11.

19. เยื้อน ตันนิรันดร. หัตถการในการวินิจฉัยทารกก่อนคลอด. ใน : เยื้อน ตันนิรันดร, บรรณาธิการ. เวชศาสตร์ทารกในครรภ์. กรุงเทพมหานคร : โอเอส. พริ้นติ้งเฮาส์; 2540,หน้า 116-52.

20. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การดูแลระบบการหายใจในทารกแรกเกิด. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์; 2536.

21. ผการัตน์ แสงกล้า. การตายของทารกปริกำเนิดในโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2545;17:33-47.

22. นราธิป โคละหัต. Neonatal Resuscitation : Clues of Success. ใน : ธราธิป โคละหัต และสุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์, บรรณาธิการ. Neonatology for Pediatricians. กรุงเทพฯ : พี.เอ.ลิฟวิ่ง ; 2542. หน้า 60-77.