อัตราการรอดชีพของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมาก ในโรงพยาบาลอำนาจเจริญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
เหตุผลของการวิจัย: ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยมาก เป็นกลุ่มของทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า หรือเท่ากับ 1,500 กรัม ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีอัตรารอดชีพต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่มีน้ำหนักตัวมากกว่านี้ เนื่องจากมักเป็นกลุ่มที่มีปัจจัยร่วมที่เกี่ยวข้องกับอัตรา การรอดชีพหลายปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ อายุครรภ์ น้ำหนักแรกเกิด ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนคลอด ระหว่างคลอด และโรคหรือสภาวะต่างๆ หลังคลอด เพี่อให้ทราบปัญหาที่อาจจะมีผลต่ออัตราการรอดชีพดังกล่าวของทารกแรกเกิด น้ำหนักตัวน้อยมากในโรงพยาบาลอำนาจเจริญ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพี่อศึกษาถึงอัตราการรอดชีพของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากที่พบ และนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาวิเคราะห์ และหาแนวทางในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยทารก แรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์: เพี่อศึกษาอัตราการรอดชีพของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมาก
สถานที่ศึกษา: กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
รูปแบบการวิจัย: เป็นการศึกษาย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: โดยการรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากจากเวชระเบียน และสมุดลงทะเบียนแรกรับผู้ป่วยของหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โดยกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วย ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากที่คลอดในโรงพยาบาลอำนาจเจริญ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2547 ถึง 30 เมษายน 2549
ผลการศึกษา: ทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยมากทั้งหมด 51 ราย เพศชาย 14 ราย เพศหญิง 37 ราย ค่าเฉลี่ยน้ำหนักแรกคลอด 1,212.75 กรัม (น้ำหนักผู้ป่วยน้อยที่สุด 750 กรัม และน้ำหนักมากที่สุด 1,500 กรัม) ค่าเฉลี่ยอายุครรภ์ 30.89 สัปดาห์ (อายุครรภ์น้อยที่สุด 25 สัปดาห์ และมากที่สุด 37 สัปดาห์), มีผู้ป่วยที่เป็น SGA ร้อยละ 3.6, ร้อยละ 96.40 เป็นผู้ป่วยที่คลอดก่อนกำหนด, ร้อยละ 27.50 คลอดโดยการผ่าตัดคลอด, ร้อยละ 10.90 เป็นผู้ป่วยที่ถูกส่งตัวต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์ ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุดได้แก่ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด คิดเป็นร้อยละ 82.4 รองลงมา ได้แก่ ภาวะตัวเหลือง (76.5%) ภาวะซีดในผู้ป่วยคลอดก่อนกำหนดร้อยละ 68.60 และภาวะหายใจลำบากในผู้ป่วยที่คลอดก่อน กำหนดพบร้อยละ 62.7 อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยกลุ่มนี้ทั้งหมดร้อยละ 88.24 (45 ราย จากทั้งหมด 51 ราย) กรณีที่ทารกน้ำหนักน้อยกว่า 1,000 กรัม มีอัตรา การรอดชีวิต ร้อยละ 50 ลำหรับทารกน้ำหนัก 1,001-1,500 กรัม อัตราการ รอดชีวิตเท่ากับร้อยละ 95.35 อัตราการรอดชีวิตในทารกที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 25 ส่วนทารกที่อายุครรภ์ระหว่าง 28-37 สัปดาห์ คิดเป็น 93.62 และไม่มีทารกที่น้ำหนักน้อยกว่า 700 กรัม หรืออายุครรภ์น้อยกว่า 23 สัปดาห์ที่รอดชีวิต สาเหตุของการเสิยชีวิตที่พบมากที่สุดได้แก่ ภาวะติดเชื้อ โนกระแสโลหิต รองลงมาเป็นภาวะที่ทารกแรกเกิดอายุครรภ์น้อยมาก ได้แก่ อายุครรภ์ตากว่า 25 สัปดาห์ และกาวะหายใจลำบากในทารกคลอดก่อนกำหนด
สรุปผลการศึกษา: จากการศึกษาการรอดชีพของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยมากในโรงพยาบาล อำนาจเจริญ จำนวนทั้งสิ้น 51 ราย มีอัตราการรอดชีพโดยรวมถึงร้อยละ 88.24 ปัจจัยทีมผลต่ออัตราการรอดชีพ คือ อายุครรภ์และน้ำหนักแรกเกิด โดย ทารกส่วนใหญ่ที่รอดชีพมีอายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ และน้ำหนักแรกเกิด มากกว่า 1000 กรัม
Article Details
References
2. พัขรีวรรณ วิสิทธ์พานิช, สุภาพร พิพัฒนปัญญกูล, วรนาท อดทน, ฉฎาธร ปรานมนตรี, นงนุช วิทยโชคกิตติคุณ, รุ่งนภา ศักดิ์ตระกูล, สุพิชญา นุทกิจ และชุลีพร พิลึก. อัตราและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนด ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนครสวรรค์ ปี 2544. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 8 2546;11:30-9.
3. เรณู ศรีสมิต, สมบูรณ์ศักดิ์ ญาณไพศาล, จินดา วังวิญญู, ศุภพร โกรัตนะ, Peter H. Kilmarx และครรชิต ลิมปกาญจนารัตน์. แนวโน้มและปัจจัยเสี่ยงของน้ำหนักเด็ก แรกคลอดต่ำในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ พ.ศ. 2533 - มิถุนายน 2540. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2541;7:33-37.
4. รักชาย บุหงาชาติ และสุธรรม ปิ่นเจริญ. มารดาวัยรุ่นครรภ์แรกกับการให้กำเนิด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย. Songkla Med J 1998; 16 (3): 113-23.
5. สุชิต คุณประดิษฐ์. ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย : จุดเริ่มต้นในทารกสู่โรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่. Chula Med J. May;48(5):309-22.
6. นฤทธิ์ อ้นพร้อม. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย. วารสารกรมการแพทย์. 21 : 136-45.
7. บุญสนอง ภิญโญ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการ เกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม. พุทธชินราชเวชสาร. 22 : 269-78.
8. Tsou KI and Tsao PN. The morbidity and survival of very-low-birth-weight infants in Taiwan. Acta Paediatr Taiwan. 2003 Nov-Dec; 44 (6) : 349-55.
9. Velaphi SC, Mokhachane M, Mphahlele RM, Beckh-Arnold E, Kuwanda ML and Cooper PA. Survival of very-low-birth-weight infants according to birth weight and gestational age in a public hospital. S Afr Med J. 2005 Jul;95(7):504-9.