การศึกษาหารูปแบบการให้สุขศึกษาต่อความความเชื่อ การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ญาณี ชาญอนุรักษ์

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้ป่วยโรคเบาหวานยังขาดความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และมีความเชื่อเกี่ยวกับ โรคเบาหวานยังไม่ถูกต้อง ตลอดจนถึงมีความบกพร่องในการดูแลตนเอง จึงทำให้ ผู้ดำเนินโครงการวิจัยสนใจที่จะศึกษารูปแบบการให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความเชื่อทางด้านสุขภาพ ในการกำหนด เนื้อหาในการให้สุขศึกษา แล้วเสือกวิธีการที่เหมาะสมในการสอนแก่ผู้ป่วย เพื่อให้ เกิดการเรียนรู้ มีความเชื่อทางด้านสุขภาพที่ถูกต้อง นำไปสู่การปฏิบัติการดูแล ตนเองในการควบคุมและป้องกันอันตรายจากโรคแทรกซ้อนของโรคเบาหวานต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบ ความรู้ ความเชื่อ, การดูแลตนเอง และการควบคุมโรคของผู้ป่วย โรคเบาหวานภายในกลุ่มตัวอย่างและระหว่างกลุ่มตัวอย่าง ก่อนการให้สุขศึกษาและ หลังการให้สุขศึกษาในรูปแบบการให้การศึกษาที่ต่างๆกัน
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง
สถานที่ศึกษา: คลินิกพิเศษโรคเบาหวาน โรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
วิธีการศึกษา: เลือกผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ คือ กลุ่มทดลองที่ 1 ที่ได้รับการให้สุขศึกษาโดยวิธีการอภิปรายกลุ่ม พร้อมแจกคู่มือเรื่องโรคเบาหวาน จำนวน 13 คน กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการให้ สุขศึกษา โดยวิธีการดูวิดิทัศน์ ตอบข้อซักถามร่วมกับแจกแผ่นพับเรื่องโรคเบาหวาน และการดูแลตนเอง จำนวน 14 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการให้สุขศึกษาตามปกติจากเจ้าหน้าที่แผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 14 คน ประเมินผลจากการทดลอง แบบสัมภาษณ์ และการเจาะเลือดตรวจดูระดับโปรตีนสังเคราะห์ ในเม็ดเลือดแดง (HbAic) ก่อนการให้สุขศึกษา และหลังการให้สุขศึกษาในรูปแบบการให้สุขศึกษาที่ ต่างๆกัน
สถิติที่ใช้: วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Paired t-test และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-way Analysis of Variance)
ผลการศึกษา:
1. ก่อนการทดลองพบว่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้ ความเชื่อ การดูแลตนเองของผู้ป่วย และการควบคุมโรคเบาหวาน ระหว่างกลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
2. คะแนนเฉลี่ยของความรู้ ความเชื่อ และการควบคุมของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มทดลองที่ 1 ก่อนและหลังการทดลอง มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มทดลองที่ 1 ก่อนและหลังการ ทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
3. คะแนนเฉลี่ยของความรู้ ความเชื่อ การดูแลตนเอง และการควบคุมโรคของ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มทดลองที่ 2 หลังการทดลอง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
4. คะแนนเฉลยของความรู้ ความเชื่อ การดูแลตนเอง และการควบคุมโรคของ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในกลุ่มควบคุมหลังการทดลองกับก่อนการทดลอง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
5. หลังการทดลอง พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่อง ความเชื่อ การดูแลตนเอง และการควบคุมโรคของผู้ป่วยโรคเบาหวานของกลุ่มทดลองที่ 2 แตกต่างจากกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05)
สรุป: จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรนำรูปแบบการให้สุขศึกษาโดยวิธีให้ดูวิดิทัศน์ พร้อมตอบข้อซักถาม และแจกแผ่นพับเรื่องโรคเบาหวาน ให้ผู้'ป่วย'โรคเบาหวาน โรงพยาบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ: โรคเบาหวาน, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, รูปแบบการให้สุขศึกษา, ความรู้, ความเชื่อและการดูแล

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ. ความชุกของเบาหวานในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นโป ปรับโดยมาตรฐานประซากรโลก รายงาน การสำรวจสถานะสุขภาพอนามัยของประซากรไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2534-2535. กรุงเทพฯ : บริษัท สารมวลซน ; 2535. หน้า 161-2.

2. Miller LV, Goidstein J, Nicolaisen E. Evaluation of patients knowledge of diabetes self-care. Diabetes Care 1978;1 :257-80.

3. Conrod BA, Betschart J, Harris MI. Frequency and determinants of diabetes patient education among adults in the U.S. population. Diabetes Care 1994; 17:852-8.

4. Report of the Diabetes mellitus. Diabetes Care 2003;26 (suppl 1):S 5-20.

5. Becker, M.H. et al. A New Approach explaning Sick-Role Behavior in Low Income Population. American Journal of Public Health 1974;6 (3):205-216.

6. กัลยา วานิชย์บัญชา. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : บริษัทธรรมสาร ; 2549.