ภาวะแทรกซ้อนทางสมองส่วนซีรีเบลลัมของโรคสครับ ทัยฟัส ในเด็กที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

สรัญญา ส่งคุฌธรรม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาอุบัติการณ์ของโรคสครับ ทัยฟัสในเด็กที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ อาการแสดง ทางคลินิก ผลการตรวจทางท้องปฏิบัติการ และรายงานผู้ป่วยที่มีภาวะ แทรกซ้อนทางสมองส่วนชีรีเบลลัม
ผู้ป่วยและวิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคสครับ ทัยฟัส ระหว่างเดือนมกราคม 2542 ถึง เดือนธันวาคม 2543 โดยการวินิจฉัยโรคอาศัยจากอาการทางคลินิก ผลการตรวจน้ำเหลือง และการตอบสนองต่อยาที่ใช้รักษา
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 23 ราย พบผู้ป่วยชายมากกว่าหญิง (อัตราส่วน ชาย : หญิงเท่ากับ 4.75 : 1) อายุเฉลี่ย 9 ปี ร้อยละ 91 ของผู้ปกครองมีอาชีพ ทำนาและอาศัยอยู่ในเขตชนบท พบผู้ป่วยมากในช่วงฤดูฝน ผู้ป่วยมีไข้เฉลี่ย นาน 8 วันก่อนมารับการรักษาที่โรงพยาบาล ร้อยละ 61 พบมีอาการปวดศีรษะ แผลเอสคาร์พบเพียงร้อยละ 30 ส่วนอาการตับโตม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต พบเพียงร้อยละ 13 พบผู้ป่วย 2 รายที่มีภาวะแทรกช้อนทางระบบประสาท ส่วนซีรีเบลลัมโดยมีอาการตาแกว่ง เดินเซ มือสั่น ซึ่งเนินภาวะที่พบได้ไม่บ่อย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่น่าสนใจคือ พบผู้ป่วยมีเกร็ดเลือดตํ่าถึง 4 ราย ซึ่งนับเป็นโรคที่ต้องให้การวินิจฉัยแยกโรคให้ถูกต้องจากโรคไข้เลือดออกอีก โรคหนึ่ง
สรุป: โรคสครับ ทัยฟัส พบมากในช่วงฤดูฝน พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงพบในเขตชนบทมากกว่า มีประวัติไข้นานและอาการปวดศีรษะเนินอาการเด่น พบ แผลเอสคาร์เพียงร้อยละ 30 และพบภาวะแทรกช้อนทางระบบประสาทใต้ และเนินสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของภาวะไข้ไม่ทราบสาเหตุในเด็ก ซึ่งแพทย์ต้องนึกถึงเสมอในการวินิจฉัยแยกโรค

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. คิริจิตต์ วาสนะวัฒน. สครับ ทัยฟัส. ใน ; อรุณี ทรัพย์เจริญ, บรรณาธิการ, กุมารเวช ศาสตร์เขตร้อน : โรคเด็กที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ดีไซร์; 2537, หน้า 352-63.

2. ขจรศักดิ์ ศิลปโภชากุล. โรคติดเชื้อริกเกทเชีย. ใน: วันดี วราวิทย์, ประพุทธ ศิริปุณย์, สุรางค์ เจียมจรรยา, บรรณาธิการ. ตำรากุมารเวชศาสตร์ เล่ม 3. กรุงเทพมหานคร : โฮลิ สติกพับลิชชิ่ง; 2544. หน้า 413-5.

3. บุญสม ผลประเสริฐ. วิรัต ศิริสันธนะ, นรีลักษณ์ พิทักษ์ดำรงวงค์, ดุลยา ไชยเศรษฐ์. อาการทางระบบประสาทของสครับ ทัยพัสในเด็ก. วารสารกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย 2532;25(1-2):12-24.

4. บุญสม ผสประเสริฐ. Scrub typhus meningoencephalitis. ใน: สุวรรณี พันเจริญ, วิโรจน์ พงษ์พันธุเลิศ, ทายาท ดีสุดจิต, บรรณาธิการ. Neurology for pediatricians. กรุงเทพมหานคร: ชัยเจริญ; 2541. หน้า 17-24.

5. ขจรสักดิ์ ศิลปโภชากุล. โรคติดเชื้อของ ระบบประสาทจากริกเกทเชีย. ใน: พงษ์ศักดิ์ วิสุทธิพันธ์, สุรางค์ เจียมจรรยา, ดิษยา รัตนากร, บรรณาธิการ. โรคติดเชื้อของระบบประสาทในประเทศเขตร้อน. กรุงเทพมหานคร : ส.วิชาญการพิมพ์ ; 2538. หน้า 98-106.

6. กวี เจริญลาภ. โรคจากเชื้อริกเกทเชีย. ใน: นภา จรูญเวสน์, บรรณาธิการ. โรคเขตร้อน, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์; 2532. หน้า 374-81.

7. อมร ลีลารัศมี, ขจรสักดิ์ ศิลปโภชากุล. ไข้เฉียบพลันไม่ทราบสาเหตุ. ใน: นลินี อัศวโภค,บรรณาธิการ. Current therapy of common infectious diseases. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ที.พี.พรินน์; 2537. หน้า 121-59.

8. Silpapojakul K, Chupuppakarn S, Yuthasompub S, et al. Scrub and murine typhus in children with obscure fever in the tropics. Pediatr Infect Dis J 1991; 10 (a):200-3.

9. American Academy of Pediatrics. Rickettsial Diseases. In: Peter G, editor. Report of the committee on Infectious Diseases. 24thed. Elk Groove Village, IL : American Academy of Pediatrics; 1997. p.449-53.

10. Schaftner W. The Rickettsioses. In: Freedberg IM, Eisen AZ, editors. Fitzpatricks Dermatology in general medicine. 5thed. New York : Me Graw - Hill; 1999. p.2539-46.

11. เพ็ญพักตร์ สรชัย, สุภารัชต์ กาญจนะวณิชย์. การศึกษาผู้ป่วยเด็กสครับ ทัยพัส ในโรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2544; 39 (1) : 19-29.

12. Walker D, Raoult D, Dumler S, Marrie T. Ricketsial diseases. In: Braunwald E, Hauser SL, editors. Harrisons principles of internal medicine. 15thed. New York : Me Graw - Hill ; 2001. p.1065-73.

13. Takada N, Khamboonroang C, Yamaguchi T, Thitasut P, Vajrasthira S, et al. Scrub typhus and chiggers in Northern Thailand. Southeast Asain J Trop Med Pub Hlth 1984;15:402-6.

14. ไพโรจน์ บุญลักษณ์สิริ. ไข้สมองอักเสบในเด็กที่โรงพยาบาลหาดใหญ่. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2544;40:9-19.

15. Harrell GT. Rickettsial involvement of the nervous system. Med Clin North Am. 1953;37:395-422.

16. Silpapojakul K, Ukkachoke C, Krisanapan S, et al. Rickettsial meninigitis and encephalitis. Arch Intern Med 1991(b);151:1753-7.

17. ประจักษ์ มูลลออ. Scrub typhus. ใน : บรรณาธิการ, วิทยา ศรีมาดา. อายุรศาสตร์ แนวใหม่ : evidence based medicine. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราจุฬาอายุรศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ; 2542:144-50.

18. Saah AJ. Rickettsia tsutsugamushi (scrub typhus). In : Mandell GL, Bennett JE, Dolin R, editors. Mandell, Douglas and Bennetts principles and practice of infectious diseases. 4thed. New-York : Churchill Livingstone ; 1995:1737-9.

19. สมศักดิ์ โล่ห์เลขา. Rickettsial disease. ใน : บุญมี สถาปัตยวงศ์, บรรณาธิการ. An Update on Infectious diseases V. กรุงเทพมหานคร : ส.วิชาญการพิมพ์ ; 2541:10.

20. Maggi G, Varone A, Aliberti F, et al. Acute cerebellar ataxia in children. Childs Nerv Syst 1997 Oct;13(10):542-5.

21. Abdulla MN, Sukrab TE, Laidan ZA, et al. Post-malarial cerebellar ataxia in adult sudanes patients. East Afr Med J 1997 Sep ; 74(a):570-2.

22. Nagamitsu ร, Matsuishi T, Ishibashi M, et al. Decreased cerebellar blood flow in post infectious acute cerebellar ataxia. J Neurol Neurosurg Psychiatry 1999 Jul; 67(1):109-12.

23. Daaboul Y, Vem BA, Blend MJ, et al. Brain SPECT imaging and treatment with IVIg in acute post-infectious cerebellar ataxia : case report. Neurol Res 1998 Jan;20(1):85-8.

24. Visudtibhan A, Visudtibhan P, Chiemchanya S, et al. Recurrence acute cerebellar ataxia of children following non-specific respiratory tract infection. J med Assoc Thai 1998 Dec;81(12):1015-8.

25. วิรัติ ศิริสันธนะ. ไขไม่ทราบสาเหตุในเด็ก. ใน : อุษา ทิสยากร, ทวี โชติพิทยสุนันท์, บรรณาธิการ. Update on Pediatric infectious diseases. กรุงเทพมหานคร : ชัยเจริญ ; 2540. 236-42.