ความชุกของธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ ในหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุกของโรคหรือพาหะธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนา
สถานที่ทำการวิจัย:
1. หน่วยฝากครรภ์ กลุ่มงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์
2. หน่วยมนุษย์พันธุศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กลุ่มตัวอย่าง: หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกที่โรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์ ระหว่างวันที่ 1 มิ.ย. 2542 ถึง 31 ก.ค. 2542 จำนวน 429 คน
การวัดผล: การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ จำนวนนับ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย
วิธีการศึกษา: เลือดจากหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกที่โรงพยาบาลศูนย์สุรินทร์จำนวน 429 คน จะถูกส่งไปตรวจที่หน่วยมนุษย์พันธุศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อ ทำการตรวจคัดกรองโดยวิธี Thai screen test (OF) และ HbE screening test รายที่ผลการ ตรวจคัดกรองเป็นบวกวิธีหนึ่งวิธีใดหรือทั้งสองวิธี จะถูกตรวจเพื่อยืนยันชนิดและปริมาณของ ฮีโมโกลบินด้วยวิธี Cellulose acetate Hb electrophoresis และวิธี microcolumn DEAE Sephadex A50 chromatography เฉพาะรายที่ Thai screen test ให้ผลบวกจะถูกตรวจเพื่อยืนยันพาหะ α -Thal.1 ด้วยวิธี PCR ( Polymerase chain reaction) จากนั้นน่าข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์ทางสถิติ
ผลการศึกษา: พบความชุกของพาหะธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ ในหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ 48.71 โดยเป็นพาหะ α - thalassemia 1 ร้อยละ 1.17 พาหะ β - Thalassemia ร้อยละ 0.23 พาหะ Hb E trait ร้อยละ 38.46 พาหะ Hb E Homozygous?อยละ 8.16 Hb E trait / α - thal 1 ร้อย ละ 0.47 พาหะHb E homozygous/ α - thal 1 ร้อยละ 0.23
สรุปผล: แม้ความชุกของพาหะธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติในหญิงตั้งครรภ์จะสูงถึงร้อยละ 48.71 แต่โอกาสที่จะให้กำเนิดทารกที่เป็นโรคมีไม่มากเพราะพาหะส่วนใหญ่เป็น Hb E ในขณะที่ความชุก ของพาหะ α - thal 1 และพาหะ β – Thalassemia มีค่าต่ำมาก
Article Details
References
2. Voravam S. Tanphaichitr, Current Situation of Thalassemia in Thailand, The 7th international Conference on thalassemia and the hemoglobinopathier, 31 May-4 June
1999, Bangkok Thailand.
3. Wasi, P. Haemoglobinopathies including thalassemia: tropical Asia-Clin Haematol 1981;10:707-29.
4. ต่อพงศ์ สงวนเสริมศรี, Prevention and Control of Severe Thalassemia Syndrome in North Thailand, ในการประชุมวิชาการธาลัสซีเมียแห่งชาติ ครั้งที่ 4 2-4 กันยายน 2541 จังหวัดเชียงใหม่.
5. ถวัลย์วงศ์ รัตน์ติริ, เกรียงไกร กิจเจริญ และคณะ, การตรวจกรองธาลัสซีเมีย ในสตรีตั้งครรภ์ไตรมาสแรกที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ : การศึกษานำร่องที่โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย, ในการประชุมสัมมนา วิชาการเรื่อง การควบคุมและป้องกนโรคธาลัสซีเมียครั้งที่ 4 21-22 พฤศจิกายน 2539 จังหวัดขอนแก่น.
6. เพ็ญพรรณ ตันสุวรรณและวิภาดา เชื้อศุภโรบลม การศึกษาความชุกของโรคโลหิต จางธาลัสซีเมียและภาวะพาหะในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลยโสธร ปีงบประมาณ 2539-2541. ยโสธรเวชสาร 2542;2(1):119-29.
7. ภัทรา ธนรัตนากร, กวี ไชยคิริและคณะ, การศึกษาเปรียบเทียบความชุกของโรค ธาลัสซีเมียและพาหะในหญิงมีครรภ์ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การประชุมสัมมนาวิชาการเรื่อง การควบคุมและป้องกันโรคธาลัสซีเมีย ครั้งที่4, 21-22 พฤศจิกายน 2539 จังหวัดขอนแก่น
8. Kanokwan Sanchaisuriya, Goonnapa Freharoen et al, Molecnlar and hemotological characterization of HbE heterozygote with (-Thalassemia detecminants, Southeast Asia J Trop Med Pub Het 1996 ( in Pen)
9. พรสุดา กฤติดาเมษ, ชานนทร์ วนาภิรักษ์, สุพัตร คิริไชติยกุลและพวก. Thalassemia trait screening. เชียงใหม่เวชสาร 2539;35(เสริม):108-9.
10. กุลนภา ฟูเจริญ, กันยารัตน์ แคนตะ และ คณะ. ธาลัสซีเมียและภาวะขาดเหล็กในกลุ่มประชากรที่ให้ผลบวกต่อการตรวจรกรอง OF test และ KKU-OCIP-Clear วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการ โลหิต 2542;9(2):111-8.
11. ต่อพงศ์ สงวนเสริมศรี, ชนม์ศุภางค์ สังข์ปรีชาและ Heinrich F. Steger HbE screening test, วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต ปีที่ 2541;8(3):215-21.
12. กุลนภา พู่เจริญ, กนกวรณ แสนไชยสุริยา และคณะ, ข้อมูลทางโลหิตวิทยาของพาหะ บีต้า-ธาสัสซีเมีย จำแนกตามชนิดของมิวเตชันที่ตรวจพบในจังหวัดขอนแก่น, วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2538;7(3):158-66.
13. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รายละเอียดเอกสาร วิชาการในการประชุม/อบรมโครงการป้องกันและควบคุมเลือดจางธาลัสซีเมีย พ.ศ. 2542
14. ต่อพงศ์ สงวนเสริมศรี, Heinrich F Steger , พรรนี ศิริวรรธนาภา, ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, ธีระ ทองสง, การควบคุมและป้องกันโรคธาสัสซีเมียชนิดร้ายแรง โดยวิธี Chiang Mai Strategy: วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2541;8:207-14
15. ชวดี นพรัตน์, วิวัฒน์ โภคาสิกรณ์, อุรา ทัศนลีลพร และพวก Incidence of carriers of thalassemia and abnormal hemoglobin in pregnant women at Songklanagarind Hospital. สงขลานครินทร์ เวชสาร 2539;14 (2):63-8.