ความเข้าใจในการใช้ยาต้านจุลชีพของผู้ป่วยนอก ที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

ธิติรัตน์ โรจนากาศ

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจในการใช้ยาต้านจุลชีพและปัจจัยที่มีผลต่อ ความเข้าใจในการใช้ยาชนิดนี้ของผู้ป่วยนอกที่มารับบริการจากโรงพยาบาลบุรีรัมย์ เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่น .79 กับกลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นผู้ป่วยนอกที่มารับบริการจากโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จำนวน 309 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 78.6 มีความเข้าใจในการใช้ยาต้านจุลชีพอยู่ในระดับดี โดยมีความเข้าใจในเรื่องจำนวนยาที่ต้องรับประทานต่อครั้งมากที่สุด คือร้อยละ 100 รองลงมา คือร้อยละ 98.1 มีความเข้าใจในเรื่องจำนวนครั้งที่ต้องรับประทานยาต้านจุลชีพต่อวัน และมีความเข้าใจในเรื่อง วิธีรับประทานยาต้านจุลชีพก่อนอาหารน้อยที่สุด คือร้อยละ 23.3 ปัจจัย ที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีระดับ ความเข้าใจในการใช้ยาต้านจุลชีพแตกต่างกัน ได้แก่ ระดับการศึกษา จำนวนครั้งที่มารับบริการ การได้รับคำแนะนำในการใช้ยาจากบุคลากรทางสาธารณสุข และชนิดของยาต้านจุลชีพ
     กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเข้าใจในการใช้ยาต้านจุลชีพในเรื่องจำนวนยาที่ต้องรับประทาน ต่อครั้งและจำนวนครั้งที่ต้องรับประทานต่อวันส่วนน้อยมีความเข้าใจในเรื่องวิธีรับประทานยาก่อนอาหาร และวิธีเก็บรักษายาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังพบว่าการให้คำแนะนำปรึกษาในการใช้ยาจะเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจในการใช้ยาเพิ่มมากขึ้น ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไป ใช้เป็นแนวทางในการให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ยาด้านจุลชีพและยาชนิดอื่นๆแก่ผู้ป่วยต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ : ส่วนข้อมูลข่าวสารสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข 2541.

2. สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข. รายงานการป่วยของผู้ป่วยที่มารับบริการสาธารณสุข พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก 2541.

3. โรงพยาบาลบุรีรัมย์. รายงานประจำปี 2540. บุรีรัมย์ : กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพบริการ และวิชาการ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ 2541.

4. สยมพร สิรินาวิน. แบคทีเรียดื้อยา : ปัญหาและแนวทางแก้ไข. ในสยมพร คิริ นาวิน, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส และสิวพร จิตตธรรม. (กองบรรณาธิการ). การบริหาร จัดการเพื่อพัฒนาการใช้ยาต้านจุลชีพใน โรงพยาบาล. กรุงเทพ ฯ : สร้างลื่อ. 2538.

5. อภิชาติ เพ่งเรืองโรจนชัย. ประสบการณ์ใน การให้คำปรึกษาและความรู้ด้านยาแก่ผู้ป่วยและประชาชน. เอกสารประกอบการบรรยายในการประชุมการพัฒนางาน เภสัชกรรมคลินิกในโรงพยาบาล. ณ ห้องประชุมโรงแรมโกลเดนตรากอล นนทบุรี วันที่ 28 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน 2534.

6. ประภาเพ็ญ สุวรรณ และสวิง สุวรรณ. พฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมสุขภาพและ สุขศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะสาธารณสุข ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2534.

7. Benefield W.H. et al . Medication Teaching Manual : The Guide to Patient Drug Information. 1 St. ed. USA : American Society of Hospital Pharmacist 1994.

8. กำพล ศรีวัฒนกุล. (บรรณาธิการ). คู่มือยาประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : เมดาร์ท, 2534.

9. เภสัชกรรมสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. ยาน่ารู้ เล่ม1 (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : อักษรสัมพันธ์, 2532.

10. Cada D.J. (Editor.) . Drug Facts and Comparisons, 50 th. ed. St. Louis : A Wolters Klumer, 1996.

11. กำพล ศรีวัฒนกุล. (บรรณาธิการ). คู่มือ การใช้ยาทั่วไปฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : เมดาร์ท . 2527.

12. พรเพ็ญ เปรมโยธิน และคณะ. บัญหาจาก การใช้ยา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2536.

13. สมศักดิ์ โล่ห์เลขา. การใช้ยาต้านจุลชีพใน โรคติดเชื้อที่พบบ่อยและการสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรค (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โครงการตำราศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 2520.

14. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. คู่มือการใช้ยาสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน พ.ศ. 2530. กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ์ 2530.

15. พรทิพย์ เชื้อมโนชาญ, ปริยา ตันติพัฒนานันต์, สุระรอง ชินวงศ์, วินัย สินประเสริฐ และพาณี คิริสะอาด. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับยาและคำแนะนำในการใช้ยาของผู้ มาใช้บริการที่ห้องปฏิบัติการเภสัชชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ 2541.

16. อมรรัตน์ ฉันทศาสตร์. การรับรู้และความเข้าใจของผู้ป่วยนอกที่ได้รับยาจาก โรงพยาบาลสมุทรสงคราม. การค้นคว้าอิสระสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2537.

17. วาสี สิริเสาวลักษณ์, เยาวภา ศรีวิชัย และ มานพ ขันตี. การศึกษาพฤติกรรมการใช้ ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่โรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2539;5 (2):1-11.

18. สิริวัฒน์ สุดธนาพันธ์. การศึกษาความเข้าใจวิธีการใช้ยาที่ได้รับของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลลำปางเพื่อการพัฒนางาน บริการจ่ายยา. ลำปางเวชสาร 2535;13 (1):110-38.

19. กำพล ศรีวัฒนกุล. (บรรณาธิการ). คู่มือการใช้ยาฉบับสมบูรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สกายบูกส์ 2538.

20. สุรเกียรติ อาชานุภาพ, กำพล ศรีวัฒนกุล และลือธวุฒิ บานเย็น. คู่มือการใช้ยาเล่ม 1 : การใช้ยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 3 ). กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการหนังสือข่าวสารทางการแพทย์และสาธารณสุข 2525.

21. อภิฤดี เหมะจุฑา และสุวรรณี เจริญพิชิตนันท์. ความสำคัญในการให้คำปรึกษาเรื่อง ยาแก่ผู้ป่วย. เอกสารประกอบการจัดประชุมวิชาการเรื่องการให้คำปรึกษาต้านยา แก่ผู้ป่วย. ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย วันที่ 2 - 3 มีนาคม 2538.