ความพึงพอใจของผู้ป่วยในต่อบริการของโรงพยาบาลสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยในต่อบริการของโรงพยาบาลสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยในจำนวน 246 คน เก็บข้อมูลโดยการ สัมภาษณ์ผู้ป่วยที่ได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 15 มีนาคม 2543 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของ ค่าเฉลี่ย และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพึยร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยในมีความพึงพอใจต่อการบริการของโรงพยาบาลสุรินทร์อยู่ในระดับสูง กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ สถานภาพสมรส อาชีพ การศึกษา ภูมิสำเนา ประเภทของบัตรสวัสดิการรักษาพยาบาล ที่แตกต่างกันมีระดับความพึงพอใจต่อบริการไม่แตกต่างสัน (p>0.05) อายุ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลา ที่พักรักษาตัว ไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจ (p>0.05)
ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ ควรมีการพัฒนาพฤติกรรมบริการของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่นๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีจิตสำนึกที่ดีในการให้บริการผู้ป่วยด้วยความเสมอภาคมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดูสะอาด และสวยงาม ปรับปรุงการจราจรให้สะดวกและคล่องตัว ปรับปรุง ขั้นตอนในการรอรับยา เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และปรับปรุงบริการอาหารเรื่องรสชาดและความตรงเวลา
Article Details
References
2. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. คณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาการสาธารณสุข. (2539). แผนพัฒนาการสาธารณสุขใน ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
3. จิรุตม์ ศรีรัตนบัลค์. (2537). คุณภาพของการบริการทางการแพทย์กับแนวคิดการตลาด. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 38 (4), 169-178.
4. ชัยสิทธิ์ เฉลิมชัยมีประเสริฐ. (2538). สถิติเพื่อนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. ธวัชชัย วรพงศธร. (2538). หลักการวิจัยทางสาธารณสุขศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
6. เบญจมาศ คิริกมลเสถียร. (2542). ความพึงพอใจของผู้ป่วยในต่อการบริการของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการ บริหารโรงพยาบาล. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
7. วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร และคนอื่นๆ. (2539). คุณภาพบริการในโรงพยาบาลในสายตาผู้ป่วย. วารสารการวิจัยระบบสาธารณสุข, 4(3), 158-168
8. อนงค์ เอื้อวัฒนา. (2542). ความพึงพอใจของ ผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารโรงพยาบาล. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
9. Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed). New York : Wiley, J. & son.
10. Kotler, P. (1994). Marketing management : Analysis Planning Implementation and Control. (8th ed). New Jersey : Prentice - Hall.
11. Parasuraman, A., Zeithamal, V. A. & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research . Journal of Marketing, 49 (full).