ความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อบทบาทในการสนับสนุนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ

Main Article Content

อติญาณ์ ศรเกษตริน
สุชาดา นิ้มวัฒนากุล
จุฬารัตน์ ห้าวหาญ
ธวัชชัย ยืนยาว

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ระบบสุขภาพปฐมภูมิเป็นระบบที่ความสำคัญกับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พยาบาล เป็นบุคลากรสุขภาพที่มีบทบาทในการสนับสนุนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อบทบาทในการสนับสนุนระบบบริการ สุขภาพระดับปฐมภูมิ
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลหรือสถานบริการสุขภาพของรัฐในระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ จำนวน 282 คน ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เก็บ ข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อบทบาทของพยาบาล ในการสนับสนุนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อ บทบาทของพยาบาลในการสนับสนุนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิระหว่างเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และการอบรมตามหลักสูตรเวชปฏิบัติ โดยการ ทดสอบที่ (t–test Independent)
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 91.2) มีอายุระหว่าง 22-59 ปี (M=26.8, SD=7.7) สถานภาพสมรสโสดร้อยละ 77.0 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 94.3 ผ่านการอบรมตามหลักสูตรเวชปฏิบัติ ร้อยละ 23.7 ด้านความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพที่ต่อบทบาทในการสนับสนุนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิโดยรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (M=4.20, SD=0.42) การวิเคราะห์ความแตกต่างความคิดเห็น ต่อบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการสนับสนุนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิกับ ข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า ความคิดเห็นต่อบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการสนับสนุน ระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันในด้านอายุ สถานภาพสมรส และระดับการศึกษามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=2.46; df=281; p=0.014), (t=2.73; df=281 ; p=0.007) และ (t=3.01; df=281; p=0.003) ตามลำดับ
สรุป: ผลจากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีอายุมาก มีสถานภาพสมรส และจบการศึกษา มากกว่าระดับปริญญาตรีมีคะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อบทบาทในการสนับสนุนระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิสูง ดังนั้นควรมีการสร้างเสริม ให้พยาบาลได้เห็นความสำคัญของระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิตั้งแต่ยังเป็น นักศึกษาพยาบาลเพื่อให้มีพยาบาลที่กระจายปฏิบัติงานในระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิอย่างครอบคลุม
คำสำคัญ: ความคิดเห็น พยาบาลวิชาชีพ ระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.). [อินเตอร์เน็ต]; [สืบค้น 31 กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงไดจาก: https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/slide_ present190761.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. 10 ตัวชี้วัดสุขภาพคนไทย . [อินเตอร์เน็ต]; [สืบค้น 25 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงไดจาก:URL:

https://hss.moph.go.th/fileupload_doc_slider/2016-12-08--465.pdf

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา; 2540.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607-10.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี : ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปร เกรสซิฟ; 2553.

อติญาณ์ ศรเกษตริน, อรวรรณ สัมภวะมานะ, กาญจนา สุวรรณรัตน์. การปฏิบัติงานตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ. วารสารกองการพยาบาล 2553;37(3):52-63.

ยงยุทธ บรรจง. บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการดำเนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2560;9(2):21-32.

ชลการ ทรงศรี. การปฏิบัติตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2556;31(2):176-82.

อุมาพร วงศ์ประยูร. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสถานการณ์ คุณลักษณะของงาน กับการปฏิบัติงานตามบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลชุมชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. ภาควิชาการบริหารการพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2545.