ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตเร็วและช้าในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

Main Article Content

ประกาศิต เทนสิทธิ์
ชยันตร์ธร ปทุมานนท์
สุขี พบลาภ
ชลิสา นันทสันติ
ธนิตา มนตรี

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นในเมืองไทย ทำให้เกิดการสูญเสียเป็นจำนวนมาก ทั้งการดูแลและค่าใช้จ่าย ถ้ามีการศึกษาถึงปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วและช้า เพื่อมีการเฝ้าระวังที่ดี และเร่งรักษาปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นน่าจะเกิดประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตทั้งในระยะเวลา 3 วันและหลังจาก 3 วัน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาประเภทค้นประวัติย้อนหลัง ตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2560 จนถึง เมษายน พ.ศ. 2562 ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อในกระแสเลือด และหาปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อน 3 วัน และหลัง 3 วัน
ผลการศึกษา: อัตราตายทั้งหมดของผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดคิดเป็น ร้อยละ 20.4 ปัจจัยที่มีผลต่อผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วคือ ภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะการหายใจล้มเหลว ปัจจัยที่มีผลต่อผู้ป่วยเสียชีวิตช้าคือภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดภาวะการหายใจล้มเหลว และภาวะอัลบูมินในเลือดต่ำ และปัจจัยที่มีผลต่อทั้งผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วและช้าคือ ภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะการหายใจล้มเหลว
สรุป: ปัจจัยที่มีผลทั้งต่อการเสียชีวิตเร็วและช้า ในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดคือ ภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และภาวะการหายใจล้มเหลว
คำสำคัญ: ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ปัจจัยการเสียชีวิต เสียชีวิตเร็ว เสียชีวิตช้า

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Angus DC, van der Poll T. Severe sepsis and septic shock. N Engl J Med 2013;369(9):840-51.

Martin GS, Mannino DM, Eaton S, Moss M. The epidemiology of sepsis in the United States from 1979 through 2000. N Engl J Med 2003;348(16):1546-54.

Artero A, Zaragoza R, Camarena JJ, Sancho S, González R, Nogueira JM. Prognostic factors of mortality in patients with community-acquired bloodstream infection with severe sepsis and septic shock. J Crit Care 2010;25(2):276-81.

Díaz-Martín A, Martínez-González ML, Ferrer R, Ortiz-Leyba C, Piacentini E, Lopez-Pueyo MJ,et al. Antibiotic prescription patterns in the empiric therapy of severe sepsis: combination of antimicrobials with different mechanisms of action reduces mortality. Crit Care2012;16(6):223.

Park DW, Chun BC, Kim JM, Sohn JW, Peck KR, Kim YS, et al. Epidemiological and clinical characteristics of community-acquired severe sepsis and septic shock: a prospective observational study in 12 university hospitals in Korea. J Korean Med Sci 2012;27(11):1308-14.

Daviaud F, Grimaldi D, Dechartres A, Charpentier J, Geri G, Marin N, et al. Timing and causes of death in septic shock. Ann Intensive Care 2015;5(1):16.

Angkasekwinai N, Rattanaumpawan P, Thamlikitkul V. Epidemiology of sepsis in Siriraj Hospital 2007. J Med Assoc Thai 2009;92 Suppl 2:S68-78.

ชูหงส์ มหรรทัศนพงศ์. ผลลัพธ์ของ Surin sepsis treatment protocol ในการจัดการดูแลรักษา ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. ศรีนครินทร์เวชสาร 2555; 27(4):332-9.

Champunot R, Tribuppachat P, Kamsawang N, Tuandoung P, Thimsri D. Mortality Rate Reduction of Patients with Severe Sepsis by “Saving Severe Sepsis 500 live” Campaign. BuddhachinaraJ Medical Journal 2016; 33(1): 66-74.

Dellinger RP, Levy MM, Rhodes A, Annane D, Gerlach H, Opal SM, et al. Surviving sepsis campaign: international guidelines for management of severe sepsis and septic shock: 2012. Crit Care Med 2013;41(2):580-637.

Aguayo-Becerra OA, Torres-Garibay C, Macías-Amezcua MD, Fuentes-Orozco C, Chávez-Tostado Mde G, Andalón-Dueñas E, et al. Serum albumin level as a risk factor for mortality in burn patients. Clinics (Sao Paulo) 2013;68(7):940-5.

Chou CD, Yien HW, Wu DM, Kuo CD. Albumin administration in patients with severe sepsis due to secondary peritonitis. J Chin Med Assoc 2009;72(5):243-50.

Gatta A, Verardo A, Bolognesi M. Hypoalbuminemia. Intern Emerg Med 2012;7 Suppl 3:S193-9.

SAFE Study Investigators, Finfer S, McEvoy S, Bellomo R, McArthur C, Myburgh J, et al. Impact of albumin compared to saline on organ function and mortality of patients with severe sepsis. Intensive Care Med 2011;37(1):86-96.

Qian SY, Liu J. [Relationship between serum albumin level and prognosis in children with sepsis, severe sepsis or septic shock]. [Article in Chinese] Zhonghua Er Ke Za Zhi 2012;50(3):184-7.

[No authors listed]. Practice parameters for hemodynamic support of sepsis in adult patients in sepsis. Task Force of the American College of Critical Care Medicine, Society of Critical Care Medicine. Crit Care Med 1999;27(3):639-60.

Rivers E, Nguyen B, Havstad S, Ressler J, Muzzin A, Knoblich B, et al. Early goal-directed therapy in the treatment of severe sepsis and septic shock. N Engl J Med 2001;345(19):1368-77.