ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกในผู้ป่วยสูงอายุของโรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: ไส้ติ่งอักเสบเป็นภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรมที่พบได้บ่อย ซึ่งเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนเป็นภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกจะทำให้เกิดอันตราย ระยะการเจ็บป่วยยาวนานและอัตราตายที่สูงขึ้นซึ่งผู้สูงอายุเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีอัตราการเกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกมากที่สุด
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีเพื่อศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกในผู้สูงอายุ
วิธีการศึกษา: ใช้รูปแบบการศึกษา 2 แบบ ได้แก่การศึกษาแบบพรรณนาและการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบ case control study เพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะ ไส้ติ่งอักเสบแตกโดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบในโรงพยาบาลนางรอง ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 –31 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ผลการศึกษา: ในการศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูล 191 ตัวอย่าง มีภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกคิดเป็นร้อยละ 35.1 ปัจจัยที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือดัชนีมวลกาย >25kg/m2 (Adjusted odds ratio=3.3, 95%CI=1.4-7.8, p-value=0.008) อาการไข้
(Adjusted odds ratio=5.6, 95%CI=2.2-14.1 p-value=0.003) และระยะเวลาตั้งแต่ปวดท้องจนได้รับการวินิจฉัย (Adjusted odds ratio=1.1, 95%CI=1.1-1.1 p-value=0.000)
สรุป: ภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกคิดเป็นร้อยละ 35.1 โดยพบว่า กลุ่มที่มีดัชนีมวลกาย 25-40 kg/m2 มีโอกาสเกิดไส้ติ่งอักเสบแตก 3.3 เท่าของกลุ่มที่มีดัชนีมวลกายปกติ กลุ่มที่มีอาการไข้มีโอกาสเกิดไส้ติ่งอักเสบแตก 2.4 เท่าของกลุ่มที่ไม่มีไข้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระยะเวลาที่เริ่มมีอาการจนได้รับการวินิจฉัยที่มากขึ้นทุก 1 ชั่วโมง มีโอกาสเกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกเพิ่มเป็น 1.1 เท่า
คำสำคัญ: ไส้ติ่งอักเสบ ภาวะไส้ติ่งอักเสบแตก ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
Article Details
References
อารยา ฐิติสุรวัฒน์, เศรษฐบุตร เอื้อพานิชเจริญ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกในผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลเทพรัตน์. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. 2561;40(3):171-6.
Sirikurnpiboon S, Amornpornchareon S. Factors Associated with Perforated Appendicitis in Elderly Patients in a Tertiary Care Hospital. Surg Res Pract 2015;2015:847681
Omari AH, Khammash MR, Qasaimeh GR, Shammari AK, Yaseen MK, Hammori SK. Acute appendicitis in the elderly: risk factors for perforation. World J Emerg Surg 2014;9(1):6.
Pokharel N, Sapkota P, Kc B, Rimal S, Thapa S, Shakya R. Acute appendicitis in elderly patients: a challenge for surgeons. Nepal Med Coll J 2011;13(4):285-8.
Lunca S, Bouras G, Romedea NS. Acute appendicitis in the elderly patient: diagnostic problems, prognostic factors and outcomes. Rom J Gastroentero. 2004;13(4):299-303.
Tantarattanapong S, Arwae N. Risk factors associated with perforated acute appendicitis in geriatric emergency patients. Open Access Emerg Med 2018;10:129-34.
Ghnnam WM. Elderly versus young patients with appendicitis 3 years experience. Alex J Med 2012;48(1):9-12.
ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์. Acute Abdomen in Geriatrics. ใน : พรพรหม เมืองแมน, ชาญเวช ศรัทธาพุทธ, ธัญญ์ อึงคะกุล, สุขไชย สาทถาพร, วรุตม์ โล่ห์สิริวัฒน์, บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์ทั่วไป 25. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร ; 2560:230-51.
Arer IM, Kus M, Akkapulu N, Akdur A, Avci T, Hargura AS, et al. Retrospective cohort study of elderly patients with acute appendicitis. J Turgut Ozal Med Cent 2017;24(4):404-8.
ธีรชัย ยงชัยตระกูล. Acute Appendicitis Update 2017. ใน : พรพรหม เมืองแมน, ชาญเวช ศรัทธาพุทธ, ธัญญ์ อึงคะกุล, สุขไชย สาทถาพร, วรุตม์ โล่ห์สิริวัฒน์, บรรณาธิการ. ศัลยศาสตร์ทั่วไป 25. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร ; 2560:399-422.
Gökakin AK, Atabey M, Uysal EB, Deveci K, Koyuncu A, Topcu Ö. Outcome of acute appendicitis in elderly patients: a 5 year experience at a single institution. Basic and clinical sciences 2013:2:40-46.
Canbak T, Acar A, Ozedemir BA, Yucel M, Basak F, Ilk E, et al. Effect of the presence of morbidity on complication development in geriatric patients with acute appendicitis. Ş.E.E.A.H. Tıp Bülteni 2017;51(2):115-8.
วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์. โรคทางศัลยกรรมของไส้ติ่ง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์; 2540.
Shin DH, Cho YS, Kim YS, Ahn HC, Oh YT, Park SO, et al. Delta neutrophil index: A reliable marker to differentiate perforated appendicitis from non-perforated appendicitis in the elderly. J Clin Lab Ana. 2018;32(1):22177.