การสอบสวนโรคเฉพาะรายกรณีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคติดเชื้อเมลิออยโดสิส หลังจากอุทกภัยที่ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

วรยศ ดาราสว่าง

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: หน่วยควบคุมโรคและระบาดวิทยา กลุ่มงานเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ได้รับรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคปอดติดเชื้อ จึงได้ทำการสอบสวนโรคเฉพาะราย ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาสาเหตุการเสียชีวิตและป้องกันการเกิดโรคและการเสียชีวิตในประชาชนกลุ่มเสี่ยง
ระเบียบวิธีการศึกษา: ใช้วิธีการศึกษาแบบ Case Study เพื่อทำการสอบสวนโรคเฉพาะราย โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้เสียชีวิต ซึ่งเก็บข้อมูลวันและเวลาที่เริ่มมีอาการ อาการแสดงผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การรักษาโดยแพทย์ตั้งแต่รับการรักษา และประวัติการเดินทางของผู้เสียชีวิตก่อนมีอาการ
ผลการศึกษา: ผู้เสียชีวิตเป็นผู้ป่วยชายไทยอายุ 34 ปี มาพบแพทย์ด้วยมีอาการไข้ ไอ หอบ เหนื่อย เบื้องต้นแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนวินิจฉัยว่าเป็น Bacterial infection on top pulmonary tuberculosis ร่วมกับตรวจเจอ diabetes mellitus ในครั้งแรก หลังจากนั้นได้ส่งตัวมาที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด ผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น ได้รักษาด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจ ในวันเดียวกันผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ผลการตรวจเชื้อแบคทีเรียทางจุลชีววิทยาจากตัวอย่างเสมหะและเลือดของผู้เสียชีวิตให้ผลว่าเจอเชื้อ Burkholderia pseudomallei โดยก่อนมีอาการผู้เสียชีวิตได้ไปเป็นกู้ภัยเหตุการณ์อุทกภัยที่จังหวัดอุบลราชธานี
สรุปผลการศึกษา: ผู้ป่วยเสียชีวิต Melioidosis ซึ่งสามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการไข้ ไอ หายใจหอบ เหนื่อย และเกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลว เสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยคาดว่าผู้เสียชีวิตน่าจะได้รับเชื้อมาจากการสัมผัสดินและน้ำจากการไปช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอุทกภัยที่จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ: โรคเมลิออยโดสิส อุบลราชธานี ปอดอักเสบ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Benjamin GC. Melioidosis. In: Heymann DL, editors. Control of communicable diseases manual. 18th.ed. Philadelphia: American public Health Association; 2008: 386-8.

Hoffmaster AR, AuCoin D, Baccam P, Baggett HC, Baird R, Bhengsri S, et al. Melioidosis diagnostic workshop, 2013. Emerg Infect Dis 2015;21(2):1-9

Sirisinha S. Diagnostic value of serological tests for melioidosis in an endemic area. Asian Pac J Allergy Immunol 1991;9(1):1-3.

Currie B. Melioidosis : The 2014 Revised RDH Guideline. North Territ Dis Control Bull 2014;21(2):4–8.

Waiwarawooth J, Jutiworakul K, Joraka W. Epidemiology and clinical outcome of melioidosis at Chonburi Hospital, Thailand. J Infect Dis Antimicrob Agents 2008;25(1):1–11.

Cheng AC, Currie BJ. Melioidosis: epidemiology, pathophysiology, and management. Clin Microbiol Rev 2005;18(2):383-416.

Zueter A, Yean CY, Abumarzouq M, Rahman ZA, Deris ZZ, Harun A. The epidemiology and clinical spectrum of melioidosis in a teaching hospital in a North-Eastern state of Malaysia: a fifteen-year review. BMC Infect Dis 2016;16:333.

Manivanh L, Pierret A, Rattanavong S, Kounnavongsa O, Buisson Y, Elliott I, et al. Burkholderia pseudomallei in a lowland rice paddy: seasonal changes and influence of soil depth and physico-chemical properties. Sci Rep 2017;7(1):3031.

ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย สำนักงานเลขธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง. คู่มือฝึกอบรมการปลุกจิตสำนึกเพื่อเตรียมพร้อมรับภัยน้ำท่วม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท เทมมา กรุ๊ป จำกัด; 2553:36.