ผลของการให้คำปรึกษาแบบสั้นเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ของจังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทนำ: ในปี พ.ศ. 2560 ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่ร้อยละ 19.1 ของประชากรการรณรงค์หรือให้คำแนะนำให้ผู้ที่ยังสูบบุหรี่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ จะสามารถลดอัตราป่วย และอัตราตายจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ในอนาคตได้ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าการให้คำปรึกษาในการเลิกบุหรี่แบบสั้นมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเพิ่มอัตราการเลิกสูบบุหรี่
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลสำเร็จ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผลสำเร็จของการให้คำปรึกษาแบบสั้นเพื่อการเลิกสูบบุหรี่แก่ผู้ป่วยที่มาตรวจรักษาโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังด้วยการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเครือข่ายของโรงพยาบาลบางกรวย จังหวัดนนทบุรี จำนวน 3 แห่ง ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ซึ่งได้รับคำแนะนำแบบสั้นในการเลิกสูบบุหรี่โดยข้อมูลที่เก็บจากเวชระเบียน เป็นข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย โรคประจำตัวผู้ป่วย และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในปัจจุบันของผู้ป่วยรวมถึงข้อมูลพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยหลังได้รับคำปรึกษาแบบสั้น
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยในการศึกษาจำนวน 47 คน กลุ่มผู้ป่วยมีประวัติการสูบบุหรี่มานานโดยเฉลี่ยจำนวน 40.7 ปี และสูบโดยเฉลี่ยวันละประมาณ 15 มวน ในการติดตามผู้ป่วยหลังได้รับคำแนะนำการเลิกสูบบุหรี่แบบสั้น พบว่าผู้ป่วยมีจำนวนการสูบบุหรี่ต่อวันลดลงเรื่อยๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และ มีผู้ป่วย ที่สามารถเลิกสูบบุหรี่ ได้จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 8.5 ปัจจัยเดียวที่มีผลต่อการเลิกสูบบุหรี่ ได้สำเร็จในการศึกษานี้ คือ ผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าหรือเท่ากับ ปวช.หรือ ปวส. จะมีโอกาสเลิกสูบบุหรี่ สำเร็จมากกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อยกว่า ปวช.หรือ ปวส. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR=23.78 , p<0.05)
สรุป: การให้คำปรึกษาแบบสั้นเพื่อการเลิกสูบบุหรี่เป็นการให้คำปรึกษาที่มีประสิทธิภาพ สามารถทำให้ผู้สูบบุหรี่ลดจำนวนการสูบบุหรี่หรือเลิกสูบบุหรี่ได้
คำสำคัญ: การสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่ การให้คำปรึกษาแบบสั้น
Article Details
References
ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฎ์, ปวีณา ปั้นกระจ่าง. รายงานสถิติการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.
Barua RS, Rigotti NA, Benowitz NL, Cummings KM, Jazayeri MA, Morris PB, et al. 2018 ACC Expert Consensus Decision Pathway on Tobacco Cessation Treatment: A Report of the American College of Cardiology Task Force on Clinical Expert Consensus Documents. J Am Coll Cardiol 2018;72(25):3332-65.
The American Association for Respiratory Care. Clinician‘s Guide to Treating Tobacco Dependence. San Francisco: The American Association for Respiratory Care; 2014.
Stead LF, Buitrago D, Preciado N, Sanchez G, Hartmann-Boyce J, Lancaster T. Physician advice for smoking cessation. Cochrane Database Syst Rev 2013;(5):CD000165.
ปเนต ผู้กฤตยาคามี, สนทรรศ บุษราทิจ, ฑิฆัมพร หอสิริ, กมลพร วรรณฤทธิ์. การใช้หลัก 5 A’s ในการรักษาผู้ป่วยติดบุหรี่โดยแพทย์ประจำบ้านในโรงพยาบาลศิริราช. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2560;62(2):157-66.
Brown J, West R, Angus C, Beard E, Brennan A, Drummond C, et al. Comparison of brief interventions in primary care on smoking and excessive alcohol consumption: a population survey in England. Br J Gen Pract 2016;66(642):e1-9.
Althabe F, Alemán A, Berrueta M, Morello P, Gibbons L, Colomar M, et al. A Multifaceted Strategy to Implement Brief Smoking Cessation Counseling During Antenatal Care in Argentina and Uruguay: A Cluster Randomized Trial. Nicotine Tob Res 2016;18(5):1083-92.
Li WH, Wang MP, Lam TH, Cheung YT, Cheung DY, Suen YN, et al. Brief intervention to promote smoking cessation and improve glycemic control in smokers with type 2 diabetes: a randomized controlled trial. Sci Rep 2017;7:45902.
Puschel K, Thompson B, Coronado G, Huang Y, Gonzalez L, Rivera S. Effectiveness of a brief intervention based on the '5A' model for smoking cessation at the primary care level in Santiago, Chile. Health Promot Int 2008;23(3):240-50.
Goodney PP, Spangler EL, Newhall K, Brooke BS, Schanzer A, Tan TW, et al. Feasibility and pilot efficacy of a brief smoking cessation intervention delivered by vascular surgeons in the Vascular Physician Offer and Report (VAPOR) Trial. J Vasc Surg 2017;65(4):1152-60.
Wray JM, Funderburk JS, Acker JD, Wray LO, Maisto SA. A Meta-Analysis of Brief Tobacco Interventions for Use in Integrated Primary Care. Nicotine Tob Res 2018;20(12):1418-26.
Aveyard P, Begh R, Parsons A, West R. Brief opportunistic smoking cessation interventions: a systematic review and meta-analysis to compare advice to quit and offer of assistance. Addiction 2012;107(6):1066-73.
Daoud N, Hayek S, Sheikh Muhammad A, Abu-Saad K, Osman A, Thrasher JF, et al. Stages of change of the readiness to quit smoking among a random sample of minority Arab male smokers in Israel. BMC Public Health 2015;15:672.
Glasgow RE, Whitlock EP, Eakin EG, Lichtenstein E. A brief smoking cessation intervention for women in low-income planned parenthood clinics. Am J Public Health 2000;90(5):786-9.
Riaz M, Lewis S, Naughton F, Ussher M. Predictors of smoking cessation during pregnancy: a systematic review and meta-analysis. Addiction 2018;113(4):610-22.
Lam TH, Li WH, Wang MP, Cheung YT , Cheung DY, Ho KY, et al. A brief, tailored smoking cessation intervention for smokers with diabetes mellitus in Hong Kong. Hong Kong Med J 2017:23 Suppl 2(3):10-11.