ประสิทธิภาพของโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตต่อพัฒนาการเด็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญา (IQ) พบว่าระดับสติปัญญาเฉลี่ยทั้งประเทศ อยู่ที่ 98.2 แยกตามเขตสุขภาพ พบว่าเขตสุภาพที่ 9 ซึ่งได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ มีค่าเฉลี่ยระดับสติปัญญาที่ 96.6 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานเขตสุขภาพที่ 9 ได้จัดทำโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต มีกรอบแนวคิดในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน (Family and Community-based)
วัตถุประสงค์: ศึกษาประสิทธิภาพของโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตต่อพัฒนาการของเด็ก
กลุ่มศึกษา: เด็กทารกที่คลอดจากมารดาตั้งครรภ์ที่เข้าโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2562 ในเขตรับผิดชอบคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 55 คน
สถานที่ศึกษา: คลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: Non-randomized intervention study.
ผลการศึกษา: หญิงตั้งครรภ์กลุ่มที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต กลุ่มละ 55 คน โดยกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการมีอายุเฉลี่ย 27.6(±6.5) ปี กลุ่มที่ไม่เข้าร่วมโครงการมีอายุเฉลี่ย 28.5(±6.8) ปี (p=0.48) อายุครรภ์เฉลี่ยก่อนคลอดครบกำหนดทั้ง 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการมีอายุครรภ์เฉลี่ย 38.5 สัปดาห์ และกลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการมีอายุครรภ์เฉลี่ย 37.4 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังพบว่าหญิงตั้งครรภ์ในการศึกษานี้ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะครรภ์เสี่ยง (ร้อยละ 87.4) และครรภ์เสี่ยงที่พบมากที่สุด ได้แก่ ตั้งครรภ์วัยรุ่น ทารกโตช้าในครรภ์ เบาหวาน และซีด ตามลำดับ เมื่อศึกษาติดตามเด็กทารกที่คลอดจากครรภ์มารดาทั้งสองกลุ่มพบว่า ทารกที่มารดาเข้าร่วม โครงการมีพัฒนาการสมวัยมากกว่าทารกที่มารดาไม่ได้เข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ช่วงอายุ 9 เดือน (p=0.001) และ 18 เดือน (p=0.003) เมื่อคุม confounding by indication และ confounding by indication โดยใช้ค่าคะแนนความโน้มเอียง (propensity score) และวิเคราะห์โดยใช้สถิติถดถอย (logistic regression) พบว่าทารกที่เกิดจากมารดาที่เข้าร่วมโครงการมีพัฒนาการที่อายุ 9 เดือน สมวัยมากกว่าทารกกลุ่มที่มารดาไม่ได้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 32.6 อย่างมีนัยสำคัญที่ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 14.5-51.2 (p=0.001) นอกจากนี้ยังพบว่าการเข้าร่วมโครงการสัมพันธ์กับการที่สามีช่วยเลี้ยงดูลูก (p=0.00) การที่ทารกได้กินนมแม่จนครบ 6 เดือน (p=0.00) การได้รับยา Triferdine (p=0.06) และทารกที่มารดาเข้าร่วมโครงการมีน้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ย 3066.4(±292.7) กรัม มากกว่าทารกที่คลอดกลุ่มที่มารดาไม่ได้เข้าโครงการซึ่งมีน้ำหนักแรกคลอดเฉลี่ย 2896.7(±263.9) กรัม (p=0.00)
สรุป: ทารกที่เกิดจากมารดาที่เข้าร่วมโครงการมีพัฒนาการที่อายุ 9 เดือนสมวัย มากกว่าทารกกลุ่มที่มารดาไม่ได้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 32.6 อย่างมีนัยสำคัญที่ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 14.5-51.2 (p=0.001) ที่อายุ 18 เดือนสมวัยมากกว่าทารกกลุ่มที่มารดาไม่ได้เข้าร่วมโครงการร้อยละ 23.4 (Coefficient 0.234)อย่างมีนัยสำคัญที่ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 8.0-38.8 (p=0.003)
คำสำคัญ: มหัศจรรย์ 1,000 วัน พัฒนาการเด็ก อัจฉริยะแสนดี
Article Details
References
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์. คู่มือคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก วัยแรกเกิด - 5 ปี สำหรับบุคลากร สาธารณสุข ผู้ดูแลเด็ก อาสาสมัคร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลเด็ก. สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์; 2550.
กลุ่มติดตามและประเมินผล กองแผนงาน กรมอนามัย. รายงานประจำปี กรมอนามัย 2560. กรุงเทพฯ : อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.
พรรณพิมล วิปุลากร. ผลสำรวจ 'ไอคิว' เด็กไทย เกือบครึ่งมีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ. [ออนไลน์].23 มิถุนายน 2557 [สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2554].เข้าถึงได้จาก :URL:WWW://https://www.thairath.co.th/content/431464
กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. กรมอนามัย. รายงกานศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : ซีจีทูล; 2561.
Sadock BJ, Sadock VA, Ruiz P. editors. Kaplan and Sadock’s synopsis of psychiatry: behavioral sciences/ clinical psychiatry. 11th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2015.
The College of Family Physicians of Canada. The role of the family physician in home care: a discussion paper-December 2000.[online]. [cited 2020 Apr 10]. Availale from : URL: https://bit.ly/2XB9WFR
Health Canada. Provincial and territorial home care programs: a synthesis for Canada.; 1999.
Montauk SL. Home health care. Am Fam Physician; 1998 :1608
McWhinney IR. A Texbook of family medicine, 2nd edtion New York : Oxford University Press; 1997.
Unwin BK, Jerant AE. The home visit. Am Fam Physician 1999;60(5):1481-88.
ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์. พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตบริการสุขภาพที่ 4. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2558;2(5):173-88.
สุจินดา สุขกำเนิด. โครงการวิจัยการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน.วารสารสุขภาพภาคประชาชน 2560;12:(4):16-27.
Heinicke CM, FinemanNR, RuthG.RecchiaSL, Guthrie D, Rodning C. Relationship-based intervention with at-risk mothers: Outcome in the first year of life. Infant Mental Health Journal 1999;20(4):349-74.
Jacobson SW, Frye KF. Effect of maternal social support on attachment: experimental Evidence. Child Development 1991;62;572-82.
Juffer FH, Hoksbergen RAC, Riksen-WalravenJM,Kohnstamm GA. Early intervention in adoptive families: Supporting maternal sensitive responsiveness, infant-mother attachment, and infant competence. J Child Psycho Psychiatry 1997;38(8):1039-50.
นิตยาคชภักดี. คู่มือการฝึกอบรม การทดสอบพัฒนาการเด็กปฐมวัย Denver II (ฉบับภาษาไทย).ฉบับแก้ไขปรับปรุง. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหดิล; 2546.
ศรินนาแสงอรุณ, รัตโนทัย พลับรู้การ.การศึกษาผลของการประเมินพัฒนาการ โดยใช้แบบคัดกรองพัฒนาการอนามัย 49 เทียบกับแบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก Denver II ในเด็กอายุ 2, 4, 9 และ 15 เดือน. วิทยานิพนธ์การศึกษาและฝึกอบรม ตามหลักสูตรเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม อนุสาขากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรมของแพทยสภา พ.ศ. 2554, กรุงเทพฯ : สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีกระทรวงสาธารณสุข; 2554.
ArisaraThonghem, PrapimjaiPiemkum. Parental engagement in promoting the development of the autistic children in child and adolescent mental health rajanagarindrainstitute (CAMRI). The 8th Internation symposium on Special Education “Update theory & Practices; September 18th – September 20th 2019; Raktakanishta Building, Suan Dusit Univrsity, Bangkok, 2019.
อาริสรา ทองเหม, ประพิมพ์ใจ เปี่ยมคุ้ม. การมีสวนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยุร่นราชนครินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ 2560;6(2):21-36.