การประยุกต์วิธีตรวจหาแอนติเจน D ในโลหิตผู้บริจาคด้วยวิธีสไลด์และใช้น้ำยาแอนติ D เจือจาง เพื่อลดต้นทุน

Main Article Content

สุทธินี จันทร์สุวรรณ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การประยุกต์การตรวจหาแอนติเจน D ด้วยวิธีสไลด์ ซึ่งทำจากแผ่นโฟเมก้า ขนาด 30 x 40 cm. ที่มีการแบ่งช่องสำหรับการทดสอบได้ 90 ช่องเพื่อใช้ในการ ทดสอบครั้งละจำนวนมากโดยใช้น้ำยาแอนติ D เจือจางเพื่อลดต้นทุนและ ประหยัดเวลาในการทดสอบ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของน้ำยาแอนติ D เจือจาง ที่ใช้ในการตรวจแอนติเจน D ในโลหิตผู้บริจาคด้วยวิธีการตรวจบนแผ่นสไลด์ เปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐานเพื่อลด ต้นทุนและระยะเวลาในการทดสอบ
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลน่าน จังหวัดน่าน
รูปแบบงานวิจัย: การศึกษาแบบดัดแปลงและเปรียบเทียบทดสอบการวินิจฉัย
วิธีการศึกษา: ใช้กลุ่มตัวอย่างเลือดของผู้บริจาคโลหิตในโรงพยาบาลน่านจำนวน 8,396 รายระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ในการตรวจหาแอนติเจน D บนเม็ดเลือดแดงของผู้บริจาคด้วยวิธีสไลด์เปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐาน โดยหยดน้ำยาแอนติ D ที่เจือจาง 1:16 ลงบนแผ่นสไลด์ 1 หยดแล้วใช้ไม้เขี่ยแตะเลือดให้ติดปลายไม้ของเม็ดเลือดแดงที่ต้องการทดสอบ (stick method) ผสมกับน้ำยาที่หยดไว้บนสไลด์ให้เข้ากันแล้วสังเกตปฏิกิริยาการจับกลุ่มของเม็ดเลือดแดงภายในเวลา 2 นาทีแล้วอ่านผลด้วยตาเปล่าหากผลการทดสอบในรายที่ให้ผลลบต้องทำการทดสอบเพิ่มเติมด้วย Indirect Antiglobulin Test (IAT) เพื่อยืนยันผลการทดสอบเป็น Rh negative หรือ weak D
ผลการศึกษา: พบว่า การตรวจแอนติเจน D ด้วยวิธีสไลด์ ให้ผลบวก (Rh positive) 8,375 ราย (ร้อยละ 99.75) และให้ผลลบ 21ราย (ร้อยละ 0.25) เมื่อนำตัวอย่าง เลือดที่ให้ผลลบตรวจเพิ่มเติมด้วย Indirect Antiglobulin Test พบว่าให้ผลลบทั้ง 21 ราย รายงานผลเป็น Rh negative
สรุป: การตรวจแอนติเจน D ด้วยน้ำยาแอนติ D เจือจาง 1:16 โดยการตรวจบนแผ่น สไลด์ให้ผลถูกต้องสอดคล้องกับวิธีมาตรฐานอีกทั้งสามารถลดต้นทุนได้ถึง 16 เท่า และช่วยลดเวลาในการทดสอบ โดยเฉพาะในกรณีที่มีตัวอย่างเลือดจำนวนมากที่ ต้องทดสอบในเวลาเดียวกัน
คำสำคัญ: แอนติเจน D น้ำยาแอนติ D เจือจาง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Fongsarun J, Nuchprayoon I, Yod-in S, Kupatawintu P, Kidprasirt C. Blood groups in Thai blood donors. Thai J HematoTransfus Med 2002;12:278-86.

Roback JD, Combs MR, Grossman BJ, Hillyer CD, editors. Technical manual. 16th.ed. Bethesda: American Association of Blood Banks, 2008.

Harmening DM. Modern blood banking & transfusion practices. 5th ed. Philadelphia: F.A. Davis Company, 2005.

Avent ND, Reid ME.The Rh blood group system: a review. Blood 2000;95(2):375-87.

Anderson HJ, Patel S.Red cell phenotyping using hexadimethrine bromide (Polybrene) in a microplate system. Transfusion 1984;24(4):353-6.

Dixon MR. Microplate: a flexible system for serologic testing. In: Myerds M, Reynolds A,editors. Micro method in blood group serology. Arlington: American Association of Blood Banks, 1984:376-9.

.อมรรัตน์ ร่มพฤกษ์, ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ, ชาญวิทย์ ลีลายุวัฒน์, มาลินี มีแสง. การดัดแปลงเทคนิคไมโครเพลทเพื่อใช้ตรวจหาแอนติเจน D. วารสารเทคนิคการแพทย์ 2535;20:123-7.

มาลินี มีแสง. การใช้เทคนิคไมโครเพลทตรวจหาแอนติเจนอาร์เอชดีโดยใช้แอนติ-ดีเจือจางทำปฏิกิริยาในน้ำเกลือปกติ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2540;12(4):207-11.

พัฒน์ศิริอังกสิทธิ์,สมเชษฐ์ เดชะพันธ์,ยศธร จงศิริกุล, ปราโมทย์ ศรีวาณิชรักษ์,มานิดา เศรษฐการ, สิณีนาฏ อุทาและคณะ. การตรวจแอนติเจน D ของหมู่เลือดระบบ Rh ด้วยวิธีไมโครเพลท. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2554;21(1):15-21.

สหวัฒน์ บรัศว์รักษ์, บรรณาธิการ. เทคนิคพื้นฐานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการทางคลังเลือด คู่มือปฏิบัติการคลังเลือด. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น : ภาควิชาภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2535.