โปรแกรม ICD NAVIGATOR VERSION 6.1.1

Main Article Content

สุนทร รมณียเพชร
สุทิน ศรีลาชัย

บทคัดย่อ

ความสำคัญ: ความถูกต้องในการให้รหัสโรคและหัตถการของผู้ทำหน้าที่ให้รหัสโรคและหัตถการโรงพยาบาลศรีสะเกษ ซึ่งตรวจสอบโดยสำนึกงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบร้อยละ 68.0 ส่งผลให้มีการเรียกเงินคืน
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาความถูกต้องในการให้รหัสโรคและหัตถการโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ระเบียบวิธีวิจัย: วิจัยนี้เป็นการวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการให้รหัสโรคและหัตถการของโรงพยาบาลศรีสะเกษผู้สร้างนวัตกรรมประกอบด้วย นายสุนทร รมณียเพชร เป็นผู้สร้างและวิจัยหลัก ร่วมกับ นายสุทิน ศรีลาชัย เป็นผู้สร้างและวิจัยร่วม การเก็บรวบรวมข้อมูลความถูกต้องของการให้รหัสโรคและหัตถการแบบเปิดหนังสือเปรียบเทียบกับการให้รหัสที่ใช้โปรแกรม ICD NAVIGATOR VERSION 6.1.1 มีการเก็บข้อมูลความถูกต้องของการให้รหัสโรคหัตถการ (ตามแบบบันทึกข้อมูล 1) ใช้ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่ 1 มีนาคม 2561 ถึง 31 กรกฎาคม 61 การเลือกผู้ให้รหัสจากทุกคน จำนวน 6 คน และการเลือกเวชระเบียนผู้ป่วยใน ให้ผู้ใช้รหัสเลือกแบบสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เพื่อเปรียบเทียบร้อยละความถูกต้องของการให้รหัสโรคโดยการใช้หนังสือคู่มือเปรียบเทียบการใช้โปรแกรม ICD NAVIGATOR VERSION 6.1.1
ผลการศึกษา: จากการทดลองใช้โปรแกรม ICD NAVIGATOR VERSION 6.1.1 ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นหารหัสโรคและหัตถการ พบว่าผู้ให้รหัสมีการใช้รหัสโรคที่มีความถูกต้องเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 90.4 และผลงานรวมเมื่อใช้โปรแกรม ICD NAVIGATOR VERSION 6.1.1 อยู่ที่ร้อยละ 98.3 เมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2561
สรุป: โปรแกรม ICD NAVIGATOR VERSION 6.1.1 สามารถทำให้การให้รหัสโรคและหัตถการมีความถูกต้องมากขึ้น เนื่องจากผู้ใช้โปรแกรมนี้เข้าถึงรหัสและคู่มือต่างๆได้และทำให้การตัดสินใจให้รหัสง่ายขึ้น
คำสำคัญ: โปรแกรม ICD NAVIGATOR VERSION 6.1.1 รหัสโรค หัตถการ

Article Details

How to Cite
รมณียเพชร ส. ., & ศรีลาชัย ส. . (2020). โปรแกรม ICD NAVIGATOR VERSION 6.1.1. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(2), 281–289. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/241310
บท
บทความฟื้นฟูวิชาการ

References

1. World Health Organization. International statistical classification of diseases and related health problems. Volume 1. 10th rev. 5th ed. Geneva, Switzerland : WHO; 2016.

2. International Classitication of Diseases ICD-9-CM 2015 Classification of procedures. 9th rev. Geneva, Switzerland; WHO : 2015.

3. Ministry of Public Health. Bureau of Policy and Strategy. Office of the Permanent Secretart. International statistical classification of diseases and related health problems tenth revision Thai Modification (ICD-10-TM). Vol. 5 Standard coding guidines. Nonthaburi; Ministry of Public Health : 2014.

4. สำนักบริหารการจัดสรรและชดเชยค่าบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2561. กรุงเทพฯ : แสงจันทร์การพิมพ์; 2560.

5. สำนักตรวจสอบการชดเชยและคุณภาพบริการ. คู่มือแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2562. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้ง; 2561.

6. วรรษา เปาอินทร์. การให้รหัส ICD ขั้นสูง (Advance ICD Coding). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก; 2561.

7. Fritz A, Percy C, Jack A, Shanmugaratnam K, Sobin L, Parkin DM, et al., ed. International Classitication of Diseases for Oncology (ICD-O). 1st rev. 3rd ed. Geneva, Switzerland : WHO; 2013.

8. International Statistical Classitication of diseases and related health problems (ICO-10). Volume 3. Alphabetical index. 10th rev. 5th ed. Geneva, Switzerland ; WHO : 2016.