ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้ยาชุดในผู้สูงอายุ

Main Article Content

สุพิตรา เศลวัตนะกุล
กรวรรณ ผมทอง

บทคัดย่อ

บทนำ: ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีการใช้ยาชุดเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มของสังคมผู้สูงอายุที่มากขึ้น พบว่ามีปัญหาการบริหารยา ได้แก่ ใช้ยาผิดขนาด ผิดเวลา ใช้ยาไม่ถูกวิธี และใช้ยาตามความเคยชิน จากการทบทวนวรรณกรรมยังไม่พบการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาชุดในจังหวัดสุรินทร์ หากผู้สูงอายุที่มีความรู้ มีความเชื่อ และได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการเลือกใช้ยาที่ถูกต้อง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้ยาชุดในผู้สูงอายุ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้ยาชุดในผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทำนาย (Predictive research) โดยศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านความรู้ ความเชื่อ และแรงสนับสนุนจากครอบครัว ต่อพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในจังหวัดสุรินทร์จำนวน 99 ราย คัดเลือกโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการเลือกใช้ยาชุดของผู้สูงอายุ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาชุดของผู้สูงอายุ แบบสอบถามความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยาชุดของผู้สูงอายุ และแบบสอบถามแรงสนับสนุนจากครอบครัวเกี่ยวกับการใช้ยาชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเลือกใช้ยาชุดในผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ระดับดี (Mean =34.6, S.D.=5.5) และปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการเลือกใช้ยาชุดในกลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ แรงสนับสนุนจากครอบครัวเกี่ยวกับการใช้ยาชุด (R2= 0.264, p<0.001) ส่วนปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาชุดในผู้สูงอายุ และปัจจัยด้านความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยาชุดของผู้สูงอายุ ไม่สามารถทำนายได้
สรุป: จากการศึกษาในครั้งนี้ ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการเลือกใช้ยาชุดในกลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ แรงสนับสนุนจากครอบครัว ดังนั้นควรจัดกิจกรรมการพยาบาลที่ส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุโดยให้ครอบครัวมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ยา
คำสำคัญ: พฤติกรรมการเลือกใช้ยาชุดความรู้ความเชื่อแรงสนับสนุนจากครอบครัว

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

เอกพล กาละดี. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาชุดของประชาชนในตำบลนาฝายอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ : การวิเคราะห์ตัวแปรเชิงพหุ. วารสารอาหารและยา 2557; 21(2): 50-8.

ศิริรัตน์ เรืองจุ้ย. ยาชุดร้านชำ ก่อโรคไตวาย"อีสาน"แชมป์. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้น 23 ก.ย. 2562]; เข้าถึงได้จาก: URL:https://www.komchadluek.net/news/edu-health/306480

สุภาวดี เปล่งชัย. ความชุกของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการบริโภคยาในชุมชนของผู้ป่วยเรื้อรัง. วารสารเภสัชศาสตร์ 2558; 11(ฉบับพิเศษ):33-42.

อัปสร บุญยัง, รุ่งทิวา หมื่นปา. ความชุกของการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมของร้านชำในจังหวัดพิษณุโลกและปัจจัยที่มีผล. วารสารเภสัชกรรมไทย 2562;11(1):105-18.

กุสาวดี เหลืองนนท์, ศิรินทรา กอแสงเรือง, อัฐวัฒน์ ไชยรบ, ธิติ นพศรี, ยุทธนา จิรศักดิ์พิศาล. การสำรวจยชุดในปทุมธานี. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ 2557;17(34):1-14.

พะยอม เพชระบรูณิน, สุรศักดิ์ เสาร์แก้ว. ความชุกของยาไม่ปลอดภัยในร้านชำ: กรณีศึกษาอำเภอหล่มสักเขาค้อ และน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารเภสัชกรรมไทย 2562;11(2):422-430.

สุนันท์ชนก น้ำใจดี, กานต์ ชัยทอง, วิระพล ภิมาลย์. ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้ยาชุดในอำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น : การศึกษาเชิงสำรวจ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัมหาสารคาม 2560; 36(5):621-8.

อรอนงค์โสดา, มนตราศรีษะแย้ม, อรรถพล รอดแก้ว, จิตศิริน ลายลักษณ์, ศศิภาวรรณ มาชะนา. การสำรวจสเตียรอยด์ในยาชุดและยาสมุนไพรในตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารเภสัชกรรมไทย 2560;9(1):216-24.

เสาวนีย์ ลาเสือ, ปรวุฒิ เมืองอู่, กนิพันธุ์ ปานณรงค์. ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคยาชุดของประชากรบ้านโพธิ์ ตำบลโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา 2560;4(2):70-6.

วาสนา นัยพัฒน์. ปัญหาสุขภาพ ปัญหาการใช้ยา และพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านพัก ข้าราชการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2553;3(1):1-14.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. แนวโน้มการสูงวัยของประชากรไทย ในสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย .นครปฐม : พริ้นเทอรี่; 2562.

Ryan P, Sawin KJ. The dividual and family salf–management theory: Background and perspective on context. NIH public Access Author Manuscript 2009; 57(4): 217-55.

ณัฐรพี ใจงาม, อรนุช ชูศรี, รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย, รังสรรค์ มาระเพ็ญ.แนวคิดการจัดการภาวะสุขภาพของบุคคลและครอบครัวที่มีสมาชิกป่วยด้วยโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27(3):1-9.

เบญจมาศ บุดดาวงศ์, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, ขนิษฐา วัลลีพงษ์, ลัทธิพร บุญมานัส, อรวรรณ กาศสมบูรณ์, จันทร์จรี ดอกบัว,กาญจนพงษ์ เพ็ญทองดี. แหล่งต้นทางและเส้นทางการกระจายยาไม่เหมาะสมในชุมชนจาก 8 จังหวัด สู่ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาการกระจายยาไม่เหมาะสมเชิงระบบ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2559;11(ฉบับพิเศษ):260-68.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ Surin Provincial Public Health Office. [ออนไลน์]. [สืบค้น 23 ก.ย. 2562]. เข้าถึงได้จาก: URL:https://www.surinpho.go.th/SPHO

House JS., Kahn RL., McLeod JD., Williams D. Measures and concepts of social support. In: Cohen S., Syme SL. editors. Social support and health. London: Academic Press; 1985p. 83–108.

ญาตรการณ์ ชยุตสาหกิจ. การสนับสนุนจากครอบครัวความหมายในชีวิตและสุขภาวะในเยาวชนผู้กระทำผิดที่ใช้สารเสพติด.[วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะจิตวิทยา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.

อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ.แรงสนับสนุนทางสังคม: ปัจจัยสำคัญในการดูแลผู้ป่วย. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2553;16(2):309-23.

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์.พฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุไทย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2558;9(1):32-6.

Faual F., Erdfelder E., Lang A-G., Bucher A. G*power3: A flexible statistical power Analysis program for the social, behavior, and biomedical sciences. Behavior Research Methods 2007; 39(1):175-91.

Cohen JA. power primer. Psychological Bulletin 1992;112(1):155-9.

จิรชัย มงคลชัยภักดิ์, จิรวัฒน์ รวมสุข และเอมอร ชัยประทีป. การศึกษาความรู้และพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการ ในร้านยาชุมชนจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2555; 6(2): 91-100.

Langlarlertsakul M, Imamee N, Therawiwat M, Kengganpanich T. Factor Predicting self-care behavior on Diet and Exercise of Diabetes Risk group, Phuket Province in Thailand. Journal Public Health 2013;21(1):87-98.

ภุชงค์ อินทร์ชัย, อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข, สมชาย ดุรงค์เดช ,ปุณยนุช สนธิโพธิ์ , จุฑารัตน์ บรรดิจ, ชนาภัทร เอี่ยมสะอาด. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง. วารสารกรมการแพทย์ 2561;43(4):100-12.