ความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองที่มีผลต่อภาวะสุขภาพ ตามการรับรู้ของผู้สูงอายุ

Main Article Content

อรนุช ประดับทอง
ธิดารัตน์ คณึงเพียร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การเสื่อมถอยทางร่างกายของผู้สูงอายุนำไปสู่การมีโรคภัยไข้เจ็บเรื้อรังความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเป็นปัจจัยบ่งชี้สำคัญในการส่งเสริมภาวะจิตใจและคงไว้ซึ่งการมีสุขภาพดี
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจการทำนายของความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองที่มีผลต่อ ภาวะสุขภาพตามการรับรู้ของผู้สูงอายุ
วิธีการศึกษา: การวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ 84 คนในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ โดยการสุ่มแบบบังเอิญ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ.2562–กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 3 แบบประเมิน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและแบบประเมินภาวะสุขภาพทั่วไป (GHQ-28) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.82 และ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยอย่างง่าย
ผลการศึกษา: ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า ผู้สูงอายุมีการประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก (Mean=2.7 S.D=0.563) ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทาง ลบกับภาวะสุขภาพตามการรับรู้ของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001(r=-0.468)และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสามารถทำนายภาวะสุขภาพตามการรับรู้ของ ผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 21.9 (r2=0.219, F=22.982)
สรุป: ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์และเป็นปัจจัยบ่งชี้ภาวะสุขภาพตามการรับรู้ของผู้สูงอายุ
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การรับรู้ภาวะสุขภาพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักงานสถิติจังหวัดสุรินทร์.สถานการณ์ประชากรในพื้นที่กับผู้สูงอายุจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์ : สำนักงานสถิติจังหวัดสุรินทร์; 2560.

วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.สำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย. การสำรวจความสุขของผู้สูงอายุของวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย[อินเตอร์เน็ต]; [สืบค้น 4 ธค. 2562]. เข้าถึงได้จาก: URL:https://www.cps.chula.ac.th/newcps/hot_news_detail.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ปี 61 ไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ.[อินเตอร์เน็ต]; [สืบค้น 4 ตค.2562]. เข้าถึงได้จาก: URL:https://www.thaihealth.or.th/Content/37506-ปี%2061%20 Html.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. การดูแลรักษาโรคผู้สูงอายุแบบสหสาขาวิชา. นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2548. [อินเตอร์เน็ต]; [สืบค้น 20 ตค.2562]. เข้าถึงได้จาก: URL:https://www.thaihealth.or.th/Content/31008-

วลัยพร นันทศุภวัฒน์. การพยาบาลผู้สูงอายุ ความท้าทายกับภาวะประชากรสูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์; 2552.

Barlow J, Wright C, Sheasby J, Turner A, Hainsworth J.Self-management approaches for people with chronic conditions: a review. Patient EducCouns 2002;48(2):177-87.

สินีนาฏ ตรีรินทร, ขนิษฐา นาคะอรวรรณ หนูแก้ว. ผลของโปรแกรมการระลึกความหลังต่อความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2560;32(2);106-17.

วารี กังใจ. ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความสามารถในการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต], สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2540.

Hirst SP, Metcalf BJ. Promoting self esteem. J GerontolNurs 1984;10(2):72-7.

ดวงพร หาญภาค. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ เขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง รพ.แพร่ (ร่องซ้อ). วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2560;25(2):13-22.

พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว, รติพร ถึงฝั่ง การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย 2559;21(2);94-107.

เทศบาลเมืองสุรินทร์. ข้อมูลผู้สูงอายุ 2562 เทศบาลเมืองสุรินทร์. สุรินทร์: กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุรินทร์; 2562.

งานวิเคราะห์นโยบายและแผนกองวิชาการและแผนงาน เทศบาลเมืองสุรินทร์. แผนพัฒนาเทศบาลเมืองสุรินทร์ (2561-2562). สุรินทร์ : งานวิเคราะห์นโยบายและแผนกองวิชาการและแผนงานเทศบาลเมืองสุรินทร์; 2562.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A.G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences.Behav Res Methods 2007;39(2):175-91.

RosenbergM. Society and the Adolescent Self-image. Princeton: PrincetonUniversity Press; 1965.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. แบบคัดกรองภาวะสุขภาพทั่วไป: GHQ. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2554.

Miller CA, editor. Caring for older adults during illness. Nursing for Wellness in Older Adults. 7th.ed. New York: Wolters Kluwer; 2015: 565-80.

มาธุรี อุไรรัตน์, มาลี สบายยิ่ง. การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ: กรณี ศึกษา มูลนิธิสงเคราะห์คนชรา อนาถาแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา. วารสารกึ่งวิชาการ 2560;38(1):29-44.

ศรีเรือน แก้วกังวาล.จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2553.

Achat H, Kawachi I, Spiro A 3rd, DeMolles DA, Sparrow D. Optimism and depression as predictors of physical and mental health functioning: the Normative Aging Study. Ann Behav Med 2000;22(2):127-30.

พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา, วิไลลักษณ์ พงษ์โสภา. ทฤษฎีและเทคนิคการให้บริการปรึกษา. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.