สภาวะฟันผุและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุในเด็กโรคหอบหืด อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ตุลยา สังวรานนท์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: โรงพยาบาลนาโพธิ์มีผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืดมากเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มเด็กที่ป่วยเป็นโรคไม่ ติดต่อเรื้อรัง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ปัญหาโรคฟันผุเป็นปัญหาที่พบมากในเด็ก ซึ่งผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืดมีปัจจัยส่งเสริมการเกิดฟันผุหลายประการ จึงควรได้รับการส่งเสริมป้องกัน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาวะฟันผุ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในเด็กโรคหอบหืด อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง (Analytic cross-sectional study) ในเด็กอายุ 1-15 ปี ที่มารับบริการในคลินิกโรคหอบหืด ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ทั้งหมด 43 ราย รวบรวมข้อมูลโดยสัมภาษณ์ตามแบบสอบถามของผู้ปกครองและเด็ก ร่วมกับการตรวจช่องปากเด็ก ข้อมูลที่ได้แจกแจงโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อโรคฟันผุแบบทวิปัจจัย (bivariate analysis) และแบบพหุปัจจัย (multivariate analysis)
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 9.1+3.5 ปี มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดในฟันน้ำนมเท่ากับ 3.0+3.4 ซี่/คน ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดในฟันแท้เท่ากับ 1.3+1.8 ซี่/คน เมื่อวิเคราะห์แบบทวิปัจจัย พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ระดับการศึกษา ของผู้ปกครอง (p=0.031) ชนิดอาหารว่างที่เลือกรับประทาน (p=0.045) การพาเด็กมารับบริการทันตกรรม (p=0.005) การได้รับฟลูออไรด์เสริม (p=0.008) และเมื่อนำมาวิเคราะห์แบบพหุปัจจัย พบเพียงปัจจัยเดียวที่มีความสัมพันธ์ คือ การพาเด็กมารับบริการทันตกรรม (p=0.027) โดยพบว่าเด็กที่ไม่เคยมาตรวจฟันจะมีฟันผุมากกว่าเด็กที่เคยมาตรวจฟัน (OR=15.8;95%CI=1.4-182.1)
สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคฟันผุที่มากขึ้นในเด็กโรคหอบหืดอำเภอนาโพธิ์ คือ การไม่เคยพาเด็กมารับการตรวจบริการทางทันตกรรม
คำสำคัญ: ฟันผุ หอบหืด ปัจจัย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ไพศาล เลิศฤดีพร. โรคหอบหืด (Asthma). ใน: อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์, ธิติดา ชัยศุภมงคลลาภ, จงรักษ์ อุตรารัชต์กิจ, หฤทัย กมลาภรณ์, ธีรเดช คุปตานนท์, บรรณาธิการ. The essentials of pediatric respiratory care. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2549. หน้า 382-99.

WHO: Asthma [Internet]. Geneva: World Health Organization. C2017 – [updated 2017 Aug 31; cited 2019 May 8]. Available from: https://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/asthma.

วัชรา บุญสวัสดิ์. โรคหืด. ใน: นิธิพัฒน์ เจียรกุล, บรรณาธิการ. ตำราโรคระบบการหายใจ. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์; 2550. หน้า 444-54.

Chugh IM, Khanna P, Shah A. Nocturnal symptoms and sleep disturbances in clinically stable asthmatic children. Asian PacJ Allergy Immunol 2006;24:135-142.

Acs G, Lodolini G, Kaminsky S, Cisneros GJ. Effect of nursing caries on baby weight in a pediatric population. Pediatr Dent 1992;14:302-5.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี : สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพ); 2561.

Holst A, Martensson I, Laurin M. Identification of caries risk children and prevention of caries in pre-school children. Swed Dent J 1997;21:185-91.

Muller M. Nursing-bottle syndrome: risk factors. ASDC J Dent Child 1996;63:42-50.

Alavaikko S, Jaakkola MS, Tjaderhane L. Asthma and caries: a systematic review and meta-analysis. Am J Epidemiol 2011;174:631-41.

Kumar B, Avinash A, Kashyap N, Sharma M, Munot H, Sagar MK. Comparative evaluation of dental caries in asthmatic and asthma-free children: A cross-sectional Study. Int J prevClin Dent Res 2017;4:85-90.

Mazzoleni S, Stellini E, Cavaleri E, Volponi AA, Ferro R, Colombani SF. Dental caries in chidren with asthma undergoing treatment with short-acting beta2-agonists. Eur J Paediatr Dent 2008;9:132-8.

Ersin NK, Gulen F, Eronat N, Cogulu D, Demir E, Tanac R, et al. Oral and dental manifestations of young asthmatics related to medication, severity and duration of condition. Pediatr Int 2006;48:549-54.

Vachirojpisan T, Shinada K, Kawaguchi Y, Luangwechakarn P, Somkote T, Detsomboonrat P. Early childhood caries in children aged 6-19 months. Community Dent Oral Epidemiol 2004;32:133-42.

Stensson M, Wendt LK, Koch G, Oldeus G, Lindell M, Modeer T. Effect on oral health in preschool children with Asthma. Int J Pediatr Dent 2008;18:243-50.

McDerra EJ, Pollard MA, Cruzon ME. The dental status of asthmatic British school children. Pediatr Dent 1998;20:281-7.

Seow WK. Biological mechanisms of early childhood caries. Community Dent Oral Epidemiol 1998;26suppl 1:S8-27.

Fisher-Owens SA, Gansky SA, Platt LJ, Weintraub JA, Soobader MJ, Bramlett MD, et al. Influences on children’s oral health: a conceptual model. Pediatrics 2007;120:510-20.

Techanitiswad T. Determinants of the variation in dental caries of 2 and 4 years old Thai children in an urban area of Khon Kean province, North eastern Thailand [dissertation]. Dunedin : University of Otago; 1994.

Featherstone JD. Prevention and reversal of dental caries: role of low level fluoride. Community Dent Oral Epidemiol 1999;27:31-40.

ธาดารัตน์ รุ่งหิรัญวัฒน์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคฟันผุในเด็ก 12-18 เดือน [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.