ผลของกิจกรรมการระลึกถึงความหลังต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเกิดโรคซึมเศร้าได้เนื่องจากความเสื่อมถอยทางร่างกายและจิตใจจนทำให้ความมีคุณค่าในตนเองลดลง
วัตถุประสงค์: ผลของกิจกรรมการระลึกถึงความหลังต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในผู้สูงอายุ
วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า จำนวน 15 คน เครื่องมือประกอบด้วย 1) เครื่องมือในการทดลอง ได้แก่ กิจกรรมการระลึกความหลัง ซึ่งพัฒนาตามแนวคิดของ Hamilton (1985) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน รวมทั้งสิ้น 60-120 นาที และ 2) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.83 3) แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติทีคู่และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองก่อนและหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-4.23, p<0.01) และผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สรุปได้ 4 ประเด็นหลัก 1) ดูแลตนเองได้ 2) พอใจในสิ่งที่มี และ 3) เป็นที่พึ่งพา 4) ความสำเร็จของบุตรหลาน
สรุป: กิจกรรมการระลึกถึงความหลังสามารถเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองในผู้สูงอายุได้สำคัญ
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การระลึกความหลัง
Article Details
References
กรมสุขภาพจิต. โรคซึมเศร้า ความผิดปกติทางอารมณ์ที่รักษาให้หายได้. [อินเตอร์เน็ต] 2562. [สืบค้นเมื่อ 15 เมย. 2563]. เข้าถึงได้จาก : URL : https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=29902.
ทิปภา ชุติกาญจนโกศล. อาการซึมเศร้าในผู้สูงวัยอันตรายกว่าที่คิด. [อินเตอร์เน็ต] 2560. [สืบค้นเมื่อ 20 เมย. 2563]. เข้าถึงได้จาก : URL : https://www.samitivejhospitals.com/th/ซึมเศร้าในผู้สูงอายุ.
ทิปภา ชุติกาญจนโกศล และวีรศักดิ์ เมืองไพศาล.(AgingCare) Elders' Mental Health : Late life Department. [อินเตอร์เน็ต] 2562. [สืบค้นเมื่อ 20 เมย.2563]. เข้าถึงได้จาก :
URL:https://www.bdmscmeonline.com/content/Annual-Meeting-2019/Elders--Mental-Health-Late-life-Department
สาวิตรี สิงหาด. การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2559;18(3):15-24.
ศรีเรือน แก้วกังวาน. จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2549.
Butler RN. The life review: An interpretation of reminiscence in the aged. Psychiatry 1963; 26(1):65-76.
Butler RN. Successful aging and the role of the life review. J Am Geriatr Soc. 1974;22(12):529-35.
Hamilton D. Reminiscence Therapy. In: Bulechek G, McCloskey J, eds. Nursing Interventions: Treatments for Nursing Diagnoses. Philadelphia: Saunders; 1985: 139-51.
จงกรม ทองจันทร์. ผลของการระลึกความหลังอย่างมีรูปแบบต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและความหวังในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต], สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2544.
วาสนา วรรณเกษม, รังสิมันต์ สุนทรไชยา. ผลของโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นการปรับตัวและการระลึกความหลังต่ออาการซึมเศร้าของผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2554;25(3):82-96.
สุมาลา ถนอมพันธ์. ผลของการระลึกความหลังต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ภาวะซึมเศร้าความผาสุกในชีวิตของผู้สูงอายุโรคมะเร็ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต], สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.
วัลนิกา ฉลากบาง. การวิจัยแบบผสมผสาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม 2560;7(2) :124-32.
วารี กังใจ. ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความสามารถในการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ.[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต], สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ, บัณฑิตวิทยาลัย; ชลบุรี; มหาวิทยาลัยบูรพา: 2540.
สินีนาฏ ตรีรินทร์. ผลของโปรแกรมการระลึกความหลังต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและความผาสุขทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต], สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559.
สิริพร สุธัญญา. พฤติกรรมการดูแลตนเองกับความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุในสวนรมณีนาถกรุงเทพมหานคร. [สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต], สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2550.
สุรชัย อยู่สาโก. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลเมืองท่าเรือ-พระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต], สาขาวิชาพัฒนศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2550.
สุพรรษา แสงพระจันทร์, จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, เวทิส ประทุมศรี. การรับรู้ความหมายความมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2559;26(2):76-88.