การนำฐานข้อมูลสมรรถนะคนพิการไปใช้ในการวางแผนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

วุฒิกนก สมแก้ว

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ประเทศไทยมีประชากรที่พิการประมาณ 3.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 5.5 ของประชากรทั่วประเทศหลายหน่วยงานได้เห็นความสำคัญในการจัดบริการเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 แต่มีข้อจำกัดในการนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจไปใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพ เนื่องจากข้อมูลที่ได้ไม่สะท้อนสมรรถนะและความต้องการของคนพิการได้จริงองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้ใช้บัญชีสากลเพื่อการจำแนกการทำงาน สุขภาพ และความพิการ (The Internationa Classification of Functioning, Disability and Health หรือ ICF) มาใช้ในการเก็บข้อมูลสมรรถนะคนพิการ
วัตถุประสงค์: เพื่อนำเสนอข้อมูลสมรรถนะคนพิการตามแนวคิด ICF
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) จากการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) แบบสอบถามข้อมูลสมรรถนะคนพิการตามแนวทาง ICF ตำบลรัตนบุรี และตำบลหนองบัวทอง อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ เดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 จำนวน 449 คน
ผลการศึกษา: คนพิการที่จดทะเบียนความพิการแล้วร้อยละ 1.9 และร้อยละ 2.9 ของประชากรทั้งหมดในตำบลรัตนบุรีและตำบลหนองบัวทอง อายุเฉลี่ยของคนพิการ 56 ปี คนพิการส่วนใหญ่สมรสและอยู่ด้วยกันกับคู่ชีวิต ส่วนใหญ่จบชั้นประถมศึกษา ก่อนพิการจะประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และเกษตรกรรม หลังจากพิการแล้วคนพิการส่วนใหญ่ไม่สามารถประกอบอาชีพเดิมได้ และมีรายได้ที่ลดลงหลังจากพิการ รวมทั้งรายได้ของครอบครัวก็ลดลงด้วยหลังจากพิการ คนพิการส่วนใหญ่มีความพิการด้านการมองเห็น การได้ยิน การพูด การเดิน และความจำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ จะมีความยากลำบากในการเคลื่อนที่นอกบ้าน การลุกจากท่านั่งยองๆ ลุกจากท่านั่ง ขึ้นลงบันไดและการเคลื่อนที่ภายในบ้าน ดังนั้น การสนับสนุนอุปกรณ์ช่วยด้านการเคลื่อนที่ หรือการปรับสภาพบ้านของคนพิการและผู้สูงอายุเพื่อให้คนพิการสามารถช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้มากขึ้น และช่วยให้การเคลื่อนที่ในบ้านสะดวกขึ้น จึงเป็นการให้บริการที่เหมาะสมกับคนพิการและผู้สูงอายุในพื้นที่คนพิการเข้าถึงการจดทะเบียนคนพิการ จำนวน 440 คน ร้อยละ 98.0 ได้รับเบี้ยผู้พิการ จำนวน 439 คนร้อยละ 97.8 และได้รับเบี้ยผู้สูงอายจำนวน 268 คน ร้อยละ 78.6 อุปกรณ์ที่คนพิการต้องการได้รับการสนับสนุนเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดคือ สายสวนปัสสาวะหรือผ้าอ้อม รองลงมาคืออุปกรณ์ช่วยด้านการเคลื่อนที่คนพิการที่ระบุความต้องการในการปรับสภาพบ้าน มีจำนวน 133 คน สาเหตุที่ยังไม่ได้ ปรับสภาพบ้าน เพราะไม่มีเงิน และไม่ทราบว่าจะปรับอย่างไร สถานที่ที่ต้องการปรับมากที่สุดคือ ห้องน้ำ เนื่องจากทรัพยากรที่มีในการปรับสภาพบ้านมีอยู่อย่างจำกัดการเข้าถึงสิทธิการรักษา ท.74 จำนวน 376 คน ร้อยละ 83.7 จากข้อมูลสำรวจการเข้าถึงสิทธิสวัสดิการด้านต่างๆ ของคนพิการในภาพรวม พบว่าคนพิการได้รับการช่วยเหลือและความต้องการด้านต่างๆ ยังไม่ทั่วถึง ในการดำเนินงานสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้ ครบถ้วนตามข้อมูลนี้ ควรมีการนำเสนอข้อมูล สมรรถนะและความต้องการของคนพิการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานการทำงานอย่างบูรณาการระหว่างภาคีเครือข่ายที่ดำเนินงานเกี่ยวข้องกับคนพิการ ร่วมกับชุมชน จนสามารถวางแผนการดำเนินการพัฒนาเพื่อให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สรุป: แนวคิด ICF สามารถนำมาใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อจัดกลุ่มคนพิการตามประเภทคน พิการและระดับความสามารถในการดูแลตนเอง รวมถึงมุมมองคุณภาพชีวิตของคนพิการที่เป็นองค์รวมมากขึ้น โดยมีการผสมผสานระหว่างมุมมองทางการแพทย์และมุมมองทางสังคม โดยเห็นว่าสมรรถนะหรือความสามารถของบุคคล เป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพร่างกายหรือจิตใจ และปัจจัยแวดล้อมบุคคลดังนั้น ในบทบาทด้านสาธารณสุข ควรส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของคนพิการ คือ การเปลี่ยนสิทธิการรักษาพยาบาลของคนพิการเป็นสิทธิ ท.74 การส่งเสริมให้คนพิการ ได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยสำหรับคนพิการ การส่งเสริมเรื่องการฝึกอาชีพ และการจ้าง งานคนพิการ เพื่อให้คนพิการและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
คำสำคัญ: คนพิการ สมรรถนะ แนวคิด ICF

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. การสำรวจความพิการ พ.ศ.2555. กรุงเทพฯ : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2557.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจความพิการ พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2562.

ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดสุรินทร์ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์. สถานการณ์การดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดสุรินทร์ ปี 2560. เมืองสุรินทร์ สุรินทร์ : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์, 2560.

อัญภัชชา สาครขันธ์, น้อมจิตต์ นวลเนตร์. การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์ของคนพิการ: กรณีศึกษาตำบลหนองบอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2554;23(3):274–83.

องค์การอนามัยโลก. บัญชีสากลเพื่อการจำแนกการทำงานความ พิการและสุขภาพ: ICF (ฉบับภาษาไทย). กรุงเทพฯ : องค์การอนามัยโลก; 2544.

World Health Organization. International Classification of Functioning, Disability and Health. Geneva: World Health Organization; 2001.

ศิรินาถ ตงศิริ. การใช้ ICF เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. นนทบุรี : ต้นเงินการพิมพ์; 2562.

องค์การอนามัยโลก. บัญชีสากลเพื่อการจำแนกการทำงาน ความพิการ และสุขภาพ: ICF. กรุงเทพฯ : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2548.

World Health Organization. Towards a Common Language for Functioning, Disability and Health: ICF the International Classification of Disability and Health. Geneva: World Health Organization; 2002.

ศิรินาถ ตงศิริ. การใช้บัญชีสากลเพื่อการจำแนกการทำงาน ความพิการและสุขภาพ (International classification of Functioning, Disability and Health) ในการพัฒนาฐานข้อมูลคนพิการ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556;28(1):131-42.

ศิรินาถ ตงศิริ. แนวทางการนำฐานข้อมูลสมรรถนะของคนพิการไปใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในชุมชน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2556;7(1):99–113.

Tongsiri S, Riewpaiboon W. Disability and Rehabilitation. Using the ICF to develop the capability-oriented database of persons with disabilities: a case study in Nakornpanom province, Thailand. Disability and rehabilitation 2013;35(13):1078-86.

อนัญญาเจียนรัมย์. ความต้องการได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2557;25(1):63–70.

ศิรินาถ ตงศิริ, ชนัตตา พลอยเลื่อมแสง, กตัญญู หอสูติสีมา. การปรับสภาพบ้านเพื่อคุณภาพชีวิตคนพิการและผู้สูงอายุ: ข้อเสนอแนะสำหรับการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2558;9(4):382–95.

นริสา วงศ์พนารักษ์, ศิรินาถ ตงศิริ. การใช้แนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;6(3):6-10.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 61 ก. (ลงวันที่ 27 กันยายน 2550)