ผลทางสูติกรรมและผลทางปริกำเนิดของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นคลอดครั้งแรกในโรงพยาบาลสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การตั้งครรภ์และการคลอดในวัยรุ่นเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุชักนำปัญหาการตายและทุพพลภาพในมารดาและทารก
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลการคลอดในวัยรุ่นและเปรียบเทียบผลการตั้งครรภ์ระหว่างหญิงคลอดวัยรุ่นและหญิงคลอดอายุ 20-34 ปี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยแบบย้อนหลังโดยการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยและทะเบียนการคลอดของหญิงคลอดอายุน้อยกว่า 35 ปี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ที่มาคลอดครั้งแรก ที่โรงพยาบาลสกลนคร ในปีงบประมาณ 2558 – 2562 ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 3,493 คนโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มศึกษา คือ กลุ่มหญิงคลอดวัยรุ่นอายุน้อยกว่า 20 ปี จำนวน 1,018 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ คือ หญิงคลอดอายุ 20 – 34 จำนวน 2,475 คนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Chi-square test
ผลการศึกษา: พบว่า หญิงคลอดในโรงพยาบาลสกลนคร ปีงบประมาณ 2558 - 2562 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีจำนวนทั้งหมด 8,042 คนพบหญิงคลอดวัยรุ่นจำนวนทั้งหมด 1,018 คน (ร้อยละ 12.7) หญิงคลอดอายุ 20 - 34 ปี จำนวน 2,475 คน ร้อยละ 30.0 หญิงคลอดวัยรุ่น ร้อยละ 29.1 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 15 – 19 ปี ร้อยละ 96.0 เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการฝากครรภ์และการคลอด พบอัตราส่วนในกลุ่มหญิงคลอดวัยรุ่นมากกว่าหญิงคลอดอายุ 20 – 34 ปี ได้แก่ การไม่มาฝากครรภ์ ร้อยละ 1.3, OR 2.1 ภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 32.4, OR 1.7 ทารกคลอดก่อนกำหนดร้อยละ 13.4, OR 1.4 การคลอดทางช่องคลอด ร้อยละ 79.1, OR 2.7 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ร้อยละ 1.3 การติดเชื้อซิฟิลิสร้อยละ 0.7 ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ร้อยละ 13.8 ชักจากความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 4.3 และ การใช้ยาระงับความเจ็บปวดร้อยละ 5.8 ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
สรุปผลการศึกษา: พบหญิงคลอดวัยรุ่น จำนวนทั้งหมด 1,018 คน เมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการฝากครรภ์และการคลอด พบอัตราส่วนในกลุ่มหญิงคลอดวัยรุ่นมากกว่าหญิงคลอดอายุ 20-34 ปี ได้แก่ การไม่มาฝากครรภ์, ภาวะโลหิตจาง, ทารกคลอดก่อนกำหนด, การคลอดทางช่องคลอด, แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นจึงควรเน้นย้ำการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และ หากพบว่าวัยรุ่นตั้งครรภ์ ควรกระตุ้นให้มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์โดยเร็ว รวมทั้งควรพัฒนาการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในการลดภาวะโลหิตจางและการคลอดก่อนกำหนด
คำสำคัญ: การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ผลทางปริกำเนิด
Article Details
References
World Health Organization. Definition in adolescent pregnancy. Geneva: World Health Organization; 2004.
World Health Organization. 10 facts on maternal health.[Internet].2013 [Cited 2020 Jan29].
Available from:URL: https://www.who.int/features/factfiles/maternal_health/maternal _health_facts/en/index.html
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ. 2560 - 2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไข ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ระยะ 3 ปี (ปีงบประมาณ 2562 - 2564). กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2562.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2561. [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562]. เข้าถึงได้จาก : URL: www.http://rh.anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=86
กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่น. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จาก:URL:www. http://rh.anamai.moph.go.th/main.php?filename=index
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. รายงานการคลอดของมารดาและทารก จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร; 2562.
ลักษณะเลิศ วรรณภาสนี. สถานการณ์และผลกระทบจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลศรีษะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560;26(4):713-22.
พิทยา พิสิฐเวช. ผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์และการคลอดในมารดาวัยรุ่นที่คลอดครรภ์แรก ในโรงพยาบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2558;29(1):101-10.
ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์, ขวัญใจ เพทายประกายเพชร. การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการทำแท้ง: แนวทางป้องกันสำหรับวัยรุ่น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2559;32(2):133-41.
ณรงค์ จันทร์แก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่นที่มารับบริการคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลโพนพิสัย อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลมหาสรคาม 2558;12(2):11-22.
ปัญญา สนั่นพานิชกุล, ยศพล เหลืองโสมนภา. การตั้งครรภ์ในหญิงวัยรุ่น: ปัจจัยทางด้านมารดาที่มีผลต่อทารก. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2558;32(2):147-56.
อำนวย ทองสัมฤทธิ์. ผลการตั้งครรภ์แรกระหว่างมารดาวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2560;7(2):223-34.
วิทมา ธรรมเจริญ, นิทัศนีย์ เจริญงาม, ญาดาภา โชติดิลก. ปัจจัยทำนายการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่โรงพยาบาล พระปกเกล้าจันทบุรี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2561;10(19):188-200.
วิชญา เวชยันต์ศฤงคาร. ผลของการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นคลอดครรภ์แรกในโรงพยาบาลบางใหญ่. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตรศึกษาคลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2555;29(2):82-92.