ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลพนัสนิคม

Main Article Content

วลี โชคชัยชำนาญกิจ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาเป็นสาเหตุสำคัญของตาบอดในผู้ป่วยเบาหวาน การตรวจคัดกรองและการรักษาโดยเน้นในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงอย่างทันเวลา สามารถป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ได้รับการตรวจภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา โดยจักษุแพทย์และเจ้าหน้าที่คลินิกโรคเบาหวาน ระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2563 จำนวน 2,270 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ Chi-squared test และ Multiple logistic regression
ผลการศึกษา: พบเบาหวานเข้าจอประสาทตา ร้อยละ 11.0 แบ่งเป็น NPDR ร้อยละ 8.9 และ PDR ร้อยละ 2.1 พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา ได้แก่ อายุระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน วิธีการรักษาโรคเบาหวาน โรคไตระดับน้ำตาลสะสม ในเลือด (HbA1c) และระดับการทำงานของไต (Creatinine) มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) นอกจากนั้นพบว่าโรคระบบสมองและหลอดเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (FBS) และระดับไขมันในเลือด (Cholesterol) มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (p<0.05)
สรุป: ผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยเฉพาะที่มีกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว ควรได้รับการตรวจคัดกรองจอประสาทตาถี่มากขึ้นเพื่อเฝ้าระวังภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตา ช่วยลดความรุนแรงของภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาได้
คำสำคัญ: ภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาความชุก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ขวัญเรือน วรเตชะ. ปัจจัยทางเมตะบอลิกที่มีผลต่อภาวะจอประสาทตาเสื่อมของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2555;3:10-23.

Wild S, Roglie G, Green A, Sicree R, King H. Global prevalence of diabetes: estimates for the year 2000 and projections for 2030. Diabetes Care 2004;27(5):1047-53.

Aekplakorn W, Stolk RP, Neal B, Suriyawongpaisa IP,Chongsuvivatwong V, Cheepudomwit S, et al. The prevalence and management of diabetes in Thai adults:the international collaborative study of cardiovascular disease in Asia. Diabetes Care 2003;26(10):2758-63.

Chetthakul T, Deerochanawong C, Suwanwalaikorn S, Kosachunhanun N, Ngarmukos C, Rawdaree P, et.al. Thailand diabetes registry project:prevalence of diabetic retinopathy and associated factors in type 2 diabetes mellitus. J Med Assoc Thai 2006;89(Suppl 1):S27-36.

Silpa-Archa S, Sukhawarn R. Prevalence and associated factors of diabetic retinopathy in Chandrubeksa Hospital, Directorate of Medical Service Royal Thai Air Force. J Med Assoc Thai. 2012;95(Suppl 4):S43-9.

อริย์ธัช เอี่ยมอุดมสุข, กรรณิการ์ เอี่ยมอุดมสุข. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สถาบันราชประชาสมาสัย. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2557;4(2):109-17.

วิชิต ปวรางกูร. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลนันอา กรุงเทพฯ. เชียงรายเวชสาร 2560;9(2):73-82.

Chaveepojnkamjorn W, Somjit P, Rattanamongkolgul S, Siri S, Pichainarong N. Factors associated with retinopathy among type 2 diabetics: a hospital based case-control study. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2015;46(2):322-9.

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). Blindness caused by diabetes--Massachusetts, 1987-1994. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 1996;45(43):937-41.

No authors listed. Photocoagulation treatment of proliferative diabetic retinopathy. Clinical application of Diabetic Retinopathy Study (DRS) findings, DRS Report Number 8. The Diabetic Retinopathy Study Research Group. Ophthalmology 1981;88(7):583-600.

No authors listed. Photocoagulation for diabetic macular edema. Early Treatment Diabetic Retinopathy Study report number 1. Early Treatment Diabetic Retinopathy Study research group. Arch Ophthalmol 1985;103(12):1796-806.

No authors listed. Grading diabetic retinopathy from stereoscopic color fundus photographs--an extension of the modified Airlie House classification. ETDRS report number 10. Early Treatment Diabetic Retinopathy Study Research Group. Ophthalmology 1991;98(5 Suppl):786-806.

มนัสวี จรดล, ประกายรัตน์ ทองผิว, อรัญญา ร่มโพธิ์เงิน. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานเข้าจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานของศูนย์แพทย์กาญจนาภิเษก. จักษุเวชสาร 2556;27(1):17-24.

นิภาพร พวงมี, กรรณิการ์ คำเตียม, สุภเลิศ ประคุณหังสิต. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยตรวจโรคจักษุ โรงพยาบาลศิริราช. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2560;17(3) 336-45.

สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการคัดกรองและการดูแลรักษาจอประสาทตาผิดปกติจากเบาหวานและแนวทางการวินิจฉัยการป้องกันและรักษาโรคไตจากเบาหวาน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2548.

Zheng Y, Lamoureux EL, Lavanya R, Wu R, Ikram Mk, Wong JJ, et al. Prevalence and risk factors of diabetic in retinopathy Migrant Indians in an Urbanized Society in Asia: The Singapore Indian Eye Study. Ophthalmology 2012;119(10):2119-24.

Charles BA. Chapter 53 - The Adenosine A2a Receptor and Diabetic Retinopathy. In: Charles BA. The Adenosine A2a Receptor and Diabetic Retinopathy. In: Preedy VR, editor. Handbook of nutrition, diet, and the eye. Oxford : Academic Press; 2014: 525-534.

Giloyan A, Harutyunyan T, Petrosyan V. The prevalence of and major risk factors associated with diabetic retinopathy in Gegharkunik province of Armenia: cross-sectional study. BMC Ophthalmol 2015;15:46.