ภาวะสุขภาพ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้รับบริการสุขภาพแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชุมชนในเขตจังหวัดอีสานใต้

Main Article Content

ธวัชชัย ยืนยาว
นริศรา เสามั่น
นภสร ดวงสมสา

บทคัดย่อ

บทนำ: การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมที่มีผลต่อภาวะสุขภาพ ซึ่งทําให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของตนเองและคนใกล้ชิด อาจทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและจนถึงเสียชีวิตได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลภาวะสุขภาพ ทัศนคติเกี่ยวกับการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้รับบริการสุขภาพแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชุมชนในเขตจังหวัดอีสานใต้
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ตัวอย่างเป็นผู้รับบริการสุขภาพโรงพยาบาลชุมชนในเขตจังหวัดอีสานใต้ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 405 คน โดยคัดเลือกแบบบังเอิญ (Accidental sampling) เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและภาวะสุขภาพ แบบสอบถามทัศนคติต่อการสูบบุหรี่และแบบสอบถามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้รับบริการสุขภาพแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชุมชนในเขตจังหวัดอีสานใต้ใช้สถิติไคสแควร์ (Chi- square test)
ผลการศึกษา: ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 61.0) มีอายุระหว่าง 18-87 ปี อายุเฉลี่ย 41.8 ปี (SD = 18.3) อาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 45.4) รายได้เฉลี่ย 8,662.7 บาท มีโรคประจำตัว ร้อยละ 24.44 อาการสำคัญที่มารับบริการสุขภาพ คือ กลุ่มอาการระบบทางเดินอาหาร ร้อยละ 22.5 พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้รับบริการสุขภาพแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชุมชน พบว่า สูบบุหรี่ร้อยละ 19.3 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้รับบริการสุขภาพแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชุมชน พบว่า เพศ ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของผู้รับบริการสุขภาพแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 =196.960, p<0.001, X2=17.110, p<0.001) และ (X2 =13.256, p=0.001)
สรุป: การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะสำหรับโรงพยาบาลชุมชนควรมีแนวทางในการให้ความรู้เรื่องอันตรายของบุหรี่แก่ผู้รับบริการสุขภาพแผนกผู้ป่วยนอก เพื่อเกิดความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะส่งผลถึงภาวะสุขภาพต่อไป
คำสำคัญ: ภาวะสุขภาพ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ผู้รับบริการสุขภาพแผนกผู้ป่วยนอก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Mackay JL., Eriksen M., Shafey O. The Tobacco Atlas. 2nd.ed. Geneva : World Health Organization; 2006.

2. Hughes JR, Goldstein MG, Hurt RD, Shiffman S. Recent Advances in the Pharmacotherapy of Smoking. JAMA 1999; 281(1):72–6.

3. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดีการพิมพ์.; 2560.

4. สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ. แบบเก็บข้อมูลการบริโภคยาสูบในกลุ่มนักเรียน 15 -18 ปี. กรุงเทพมหานคร : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

5. Schwartz NE. Nutritional knowledge, attitude and practice of high school graduated. J Am Diet Assoc 1975;66(1):28-31.

6. Cochran WG. Sampling Techniques. XVll + 413 S. New York : London; 1963.

7. กัลยา วานิชย์บัญชา. สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.

8. ซันนียะ ดินอะ. พฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม กรณีศึกษา: โรงเรียนตัสดีกียะห อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา. สงขลา: [ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต]. ภาควิชาสาธารณสุขชุมชน; คณะสาธารณสุขศาสตร์; ยะลา : วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา; 2553.

9. ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี : ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปร เกรสซิฟ; 2553.

10. พรอนันต์ กิตติมั่นคง, ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร, สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี, นาตยานี เซียงหนู, ณิชกมล กรึ่มพิมาย, ศรีเสาวลักษณ์ อุ่นพรมมี. สถานะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของบุคคลวัยทำงานในเขตสุขภาพที่ 9 นครชัยบุรินทร์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2560;11(26):192-205.

11. วิลาวัณย์ กล้าแรง, นิสากร เห็มชนาน, ธวัชชัย ยืนยาว. ภาวะสุขภาพของประชาชนที่มารับบริการสุขภาพโครงการสุรินทร์สร้างสุขสร้างรอยยิ้ม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์. The 9th Rajamangala Surin National Conference,The 1st Rajamangala Surin International Conference(9th RSNC & 1st RSIC). สุรินทร์: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์; 2561:363-71.

12. คทา บัณฑิตานุกูล, วิไล บัณฑิตานุกูล, ระพีพรรณ ฉลองสุข. ผลการให้บริการเลิกบุหรี่โดยเภสัชกรชุมชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารไทยไภษัชยนิพนธ์ 2557;9(2):1-17.

13. อัมภากร หาญณรงค์, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 25(3).:52-65.

14. บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์, วัลภา คุณทรงเกียรติ, ภาวนา กีรติยุตวงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นซ้ำ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2559;24(1):51-64.

15. พลากร สืบสำราญ, อนันต์ ไชยกุลวัฒนา, เมรีรัตน์ มั่นวงศ์, นิยม จันทร์นวล, วันวิสา จันทาทร. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่ออันตรายของการสูบบุหรี่กับการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย: กรณีศึกษาอำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2560;19(30):12-20.

16. วิไลวรรณ วิริยะไชโย, อภิรดี แซ่ลิ่ม. ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่่และสุขภาพของบุคลากร นักศึกษาแพทย์ และผู้ป่วยนอกและญาติของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2549;24(3):205-14.

17. ลักษมล ลักษณะวมิล, เรวดี เพชรศริาสัณห์, สายฝน เอกวรางกูร, นัยนา หนูนิล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาล 2563; 69(1):1-9.

18. ทวิมา ศิริรัศมีและคณะ. ผลกระทบจากนโยบายควบคมการบริโภคยาสูบในประเทศไทยการสำรวจระดับประเทศ กลุ่มวัยรุ่น รอบที่ 6 (พ.ศ. 2555). นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2556.

19. ศศิธร ชิดนายี, วราภรณ์ ยศทวี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ 2561;10(1):83-93.

20. สุวิมล โรจนาวี, จินตนา ยูนิพันธุ์, อรวรรณ ฆ้องต้อ. ผลของบริการเลิกบุหรี่ของศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ : การวิเคราะห์แยกเพศ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2562; 31(1):1-14.

21. พลอยฌญารินทร์ ราวินิจ, อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะอ้วนลงพุงในประชากรตำบล ชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2559; 5(2):33-47.

22. Sun K., Liu J., Ning G. Active Smoking and Risk of Metabolic Syndrome: A Meta Analysis of Prospective Studies. PLoS ONE 2012;7(10):1-9.

23. เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง, สมจิต แดนสีแก้ว. การเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพื่อลดการสัมผัสควันบุหรี่.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2559;34(4):73-79.

24. สุรีรัตน์ เวียงกมล, พรนภา หอมสินธุ์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์. ต้นทุนชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ระยะแรกของนกัเรียนชายชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560;31(2):91-108.