ปัจจัยพยากรณ์ความล้มเหลวของการใช้ Streptokinase ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST Segment Elevation Myocardial Infarction ที่วินิจฉัยและเริ่มใช้ยาที่โรงพยาบาลชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: จังหวัดบุรีรัมย์จัดตั้งเครือข่าย Buri Ram Acute ST segment Elevation Myocardial Infarction Network ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เพื่อให้ผู้ป่วยโรกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด Acute ST segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) เข้าถึงการักษาได้อย่างรวดเร็ว โรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งในจังหวัดสามารถเริ่มให้ยาละลายลิ่มเลือดชนิด Streptokinase (SK)ได้ ถ้าทราบปัจจัยพยากรณ์ความล้มเหลวของการใช้ยาSKในผู้ป่วยSTEMIที่วินิจฉัยและเริ่มให้ยาที่โรงพยาบาลชุมชน บุคคลากรทางการแพทย์จะสามารถเตรียมความพร้อม เพื่อส่งต่อทำหัตการรักษาหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีย์ผ่านสายสวนเป็นกรณีฉุกเฉินต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อทราบปัจจัยพยากรณ์ความล้มเหลวของการใช้ Streptokinase(SK) ในผู้ป่วย STEMI ที่เริ่มใช้ยาที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชน
วิธีการศึกษา: Retrospective Cohort study ในผู้ป่วยSTEMI ซึ่งได้รับ Streptokinase (SK) ที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์และนำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนาและMultivariablelogistic regression.
ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วย 218 คน เพศชาย ร้อยละ72.9 ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่เกิดอาการจนถึงได้รับ SK 172 นาที ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงห้องฉุกเฉินจนได้รับ SK 47 นาที อัตราความล้มเหลวของ SKเป็นร้อยละ 41 ปัจจัยที่มีผลต่อความล้มเหลวของ SK คือภาวะความดันโลหิตต่ำ(odds ratio 5.42, p-value=0.01 95% CI 1.36-21.5) อาการเจ็บหน้าอกที่ยังคงอยู่ (odds ratio 9.7, p-value<0.01 95% CI 3.56-26.39)ST segment ที่ 45นาทีหลังได้รับSKลดลงน้อยกว่าร้อยละ 50 (oddsratio 22.25, p-value<0.01 95% CI 4.74-104.39)Area under ROC curve ของ ความดันโลหิตต่ำ, อาการเจ็บหน้าอกที่ยังคงอยู่และ ST segment ที่ 45 นาทีหลังได้รับ SK ลดลงน้อยกว่าร้อยละ 50 เท่ากับ 0.93
สรุป: ปัจจัยพยากรณ์ความล้มเหลวของการใช้ SK ในผู้ป่วย STEMI คือ ภาวะความดันโลหิตต่ำ, อาการเจ็บหน้าอกที่ยังคงอยู่และ ST segment ที่ 45 min หลังได้รับ SK ลดลงน้อยกว่าร้อยละ 50
คำสำคัญ: กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST Segment Elevation (STEMI) Streptokinase (SK) ล้มเหลว
Article Details
References
2. O'Gara PT, Kushner FG, Ascheim DD, Casey DE Jr, Chung MK, de Lemos JA, et al. 2013 ACCF/AHA guideline for the management of ST-elevation myocardial infarction: a report of the American College of Cardiology Foundation/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines. Circulation 2013;127(4):e362-425.
3. กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 028: STEMI (อัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ). [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ธค.2562].
สืบค้นได้จาก:URL:http://bie.moph.go.th/cockpit/data_infor_pro.php?id=47
4. หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลบุรีรัมย์. ข้อมูลโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ Service plan สาขาหัวใจของจังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2560. บุรีรัมย์ : หน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลบุรีรัมย์; 2560.
5. ศูนย์มาตรฐานและรหัสข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ กลุ่มพัฒนามาตรฐานรหัสด้านสุขภาพ. Thailand Health Coding Center. Database ICD-10-TM Version 2016. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ธค.2562].
สืบค้นได้จาก:URL:www.http://thcc.or.th/
6. Lee YY. Thrombolytic failure with streptokinase in acute myocardial infarction using electrocardiogram criteria. Singapore Med J 2008;49(4):304-10.
7. วตากานต์ สุราษฎร์, รชนิศ เย็นสบาย, ณัฐพล ขจรวิทยากุล¸ไกรฤกษ์ ชวลิตกุล, กัญญารัตน์ เหล่ายัง, กฤดา เอื้อกฤดาธิการและคณะ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความล้มเหลวของการใช้ยา Streptokinase ในการรักษาผู้ป่วย STEMI: การศึกษาแบบย้อนหลัง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2557; 8(3):238-245.