ความเครียดและการเผชิญความเครียดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกหลังคลอด

Main Article Content

สุริยา ยอดทอง
รุ่งฤดี อุสาหะ
อาภรณ์ ภู่พัทธยากร

บทคัดย่อ

หลักการแหละเหตุผล: การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นการเปลี่ยนแปลงของชีวิตที่ทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางด้านร่างกายเป็นปัญหาทางสูติศาสตร์นอกจากนี้ทางด้านจิตใจก็เป็นสิ่งสำคัญความเครียดภาวะซึมเศร้า การออกจากการเรียน การศึกษาน้อย ขาดงานทำและการติดยา ความเครียดดังกล่าวส่งผลต่อการตั้งครรภ์ การแก้ปัญหาโดยการเผชิญ ความเครียดนั้น หากมีกระบวนการเผชิญความเครียด ที่ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยลดปัญหาในมารดาวัยรุ่นได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความเครียดการเผชิญความเครียดและความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับการเผชิญความเครียดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกหลังคลอด
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยาย (Descriptive research) กลุ่มตัวอย่าง เป็นมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกหลังคลอดจำนวน 177 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยแบบสอบถามความเครียดและการเผชิญความเครียด
ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบว่า ความเครียดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกหลังคลอดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.7, SD.=0.4) การเผชิญความเครียดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.9, SD.=0.4) และความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับการเผชิญความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.3,p<0.01) ความเครียดโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเผชิญความเครียดด้านมุ่งเน้นแก้ปัญหาและการเผชิญความเครียดด้านมุ่งเน้นอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.4,p<0.01 และ r=0.2,p<0.01) ตามลำดับ
สรุป: ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเผชิญความเครียดดังนั้นต้องให้เวลาในการให้ความรู้ ฝึกทักษะทั้งมารดาและบุคคลในครอบครัว และการมีส่วนร่วมของครอบครัวโดยเฉพาะสามี จะช่วยบรรเทาความเครียดและสามารถยอมรับปฏิบัติในบทบาทของมารดาได้ดีที่สุด
คำสำคัญ: ความเครียดการเผชิญความเครียดมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ภาวะการมีบุตรของวัยรุ่นไทย พ.ศ. 2554. [อินเตอร์เน็ท]. [18 ธันวาคม, 2562]. สืบค้นได้จาก:URL: www.http://www.m-society.go.th/article_attach/9885/14470.pdf

2. Bureau of Reproductive Health Bureau of Reproductive Health [Internet]. Live birth birth certificate for women aged 15-19 year 2017. [Internet]. 2013. [Update 2018 September 17]; [cited 2019 April 6]. Available from: URL:www.http://rh.anomai.moph.go.th//main.php?filename=index (in thai)

3. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สถิติการคลอดของแมวัยรุนประเทศไทยป พ.ศ. 2561. นนทบุรี: สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์; ม.ป.ป.

4. ปาริชาติบัวหลวง.ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจของมารดาต่อความเครียดและแสดงบทบาทมารดาในการดูแลทารกแรกคลอดก่อนกำหนดที่มีภาวะวิกฤต.[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต].สาขาการผดุงครรภ์, คณะพยาบาลศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย; ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552

5. Lazarus RS.Psychological Stress and theCoping Process. New York : Springer Publishing Company; 1984.

6. ศรุตยารองเลื่อน, ภัทรวลัย ตลึงจิตร, สมประสงศ์ศิริบริรักษ์.การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น : การสำรวจปัญหาและความต้องการสนับสนุนในการพยาบาล. วารสารพยาบาลศิริราช 2555;5(1):14-28

7.บัณฑูรลวรัตนากร.ศึกษาอายุมารดากับผลการคลอดของมารดาที่มาคลอดที่อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีษะเกษ.วารสารป้องกันควบคุมโรคที่ 2555;11:1-4.

8. Wahn EH, Nissen E. Sociodemographic background, lifestyle and psychosocial conditions of Swedish teenage mothers and their perception of health and social support during pregnancy and childbirth. Scand J Public Health 2008;36(4):415-23.

9. กมลวรรณ ลีนะธรรม. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความเครียดมารดาหลังคลอด. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต] สาขาจิตวิทยาการพัฒนา, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย;กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: 2556.

10. ปณิตา ปรีชากรกนกกุล, สมพร วัฒนนุกูลเกียรติ, วิลาวรรณ พันธุ์พฤกษ์.ความเครียดและการเผชิญความเครียดของสตรีตั้งครรภ์ที่ทำงาน ในโรงงานอุตสาหกรรมเขตอุตสาหกรรมสุรนารี นครราชสีมา. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2012;35(2):53-61.

11. สุมัจฉรา มานะชีวกุล, ทัศนี ประสบกิตติคุณ,พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม.ปัจจัยทำนายความเครียดของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรวัยขวบปีแรก.วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555;30:53-62.

12. Chen MY, James K, Hsu LL, Chang SW, Huang, LH, Wang EK.Health-related behavior and adolescent mothers.Public Health Nurs. 2005;22(4):280-8.

13. รสสุคนธ์ เจริญสัตย์สิริ. ปัจจัยทำนายความเครียดในการเป็นมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรคนแรกวัยทารก.[วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต].สาขาการพยาบาลเด็ก, คณะพยาบาลศาสตร์,บัณฑิตวิทยาลัย; ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา; 2557.

14. ดรุณี สินสุริยะศักดิ์. ความเครียดและกระบวนการจัดการความเครียดอย่างมีส่วนร่วมของพนักงานในโรงงานอินทรเซรามิดจังหวัดลำปาง.[วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต].สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ, คณะศึกษาศาสตร์,บัณฑิตวิทยาลัย;เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: 2550.

15. Seaward BL. Mang stress: Principles and wellbeing. 5th.ed. Mass : Jones and Bartlett Publishers; 2006.

16. สิตานันท์ ศรีใจวงศ์, จิราพร วงศ์ใหญ่. ความเครียดและการเผชิญความเครียดของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง. อุตรดิตถ์ : วิทยาลัยพยาบาลอุตรดิตถ์; 2551.

17. ชัญญ์สุรีย์ สิงสุวรรณ. ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและการเผชิญความเครียดของมารดาวัยรุ่นมุสลิมที่มีบุตรเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดในสามจังหวัดชายแดนใต้. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].การพยาบาลเด็ก, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: 2558.