ปัจจัยพยากรณ์ โอกาสการเสียชีวิตของผู้ป่วยเลปโตสไปโรสิส โรงพยาบาลศรีสะเกษ

Main Article Content

ทวีวุฒิ เต็มเอี่ยม

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: เลปโตสไปโรสิส เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่สำคัญ จังหวัดศรีสะเกษมีอัตราป่วยด้วยโรคนี้สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยและมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดของประเทศในปี พ.ศ. 2560
วัตถุประสงค์: เพื่อทราบอัตราป่วยตาย ลักษณะทั่วไป อาการและอาการแสดงทางคลินิก ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการแรกรับและหาปัจจัยพยากรณ์โอกาสการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ วินิจฉัยสุดท้ายด้วยโรคเลปโตสไปโรสิส โรงพยาบาลศรีสะเกษ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ prognostic retrospective cohort study ผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2560 ที่ได้รับการสรุปเวชระเบียนผู้ป่วยในโดยอายุรแพทย์ว่าเป็นโรคเลปโตสไปโรสิส คำนวณขนาดตัวอย่างได้อย่างน้อย 161 ราย วิเคราะห์และนำเสนอด้วย สถิติเชิง พรรณนา และ เชิงวิเคราะห์ด้วย survival analysis (Cox-proportional hazard)
ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยเลปโตสไปโรสิสทั้งหมดในช่วงเวลาจำนวน 399 ราย เสียชีวิต 47 ราย (อัตราป่วยตายร้อยละ 11.8) ปัจจัยพยากรณ์การเสียชีวิตที่ตรวจพบแรกรับ 4 ปัจจัย คือ อายุเกิน 45 ปี (aHR=2.3) หายใจเร็วเกิน 27 ครั้ง/นาที (aHR=4.2) ระดับอัลบูมินต่ำกว่า 2.5 g/dL (aHR=2.1) และ AST/ALT ratio ≥ 2 (aHR=2.0) ส่วนปัจจัยการดำเนินโรคที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต คือ oliguria (HR=6.0), shock (HR=43.2), thrombocytopenia (HR=7.0), pulmonary hemorrhage (HR=5.0) และ respiratory failure (HR=112.1)
สรุป: การทราบปัจจัยพยากรณ์โอกาสการเสียชีวิตตั้งแต่แรกรับ รวมถึงการดำเนินโรคในระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล และนำไปปรับใช้เพื่อเฝ้าระวังผู้ป่วยเหล่านี้อย่างใกล้ชิดตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลชุมชน จะสามารถช่วยพยากรณ์โรคได้รวดเร็ว และลดอัตราการตายด้วยโรคนี้ลงได้
คำสำคัญ: เลปโตสไปโรสิส ปัจจัยพยากรณ์ การเสียชีวิต การดำเนินโรค

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. Costa F, Hagan JE, Calcagno J, Kane M, Torgerson P, Martinez-Silveira MS, et al. Global Morbidity and Mortality of Leptospirosis: A Systematic Review. PLoS Negl Trop Dis 2015;9(9):e0003898.

2. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สรุปรายงาน การเฝ้าระวังโรคประจำปี 2553. นนทบุรี : สำนักระบาดวิทยา; 2553: 428.

3. เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย. ระบาดวิทยาของโรคเลปโตสไปโรซิสจากรายงานในระบบเฝ้าระวังโรคแห่งชาติ ประเทศไทย พ.ศ 2546-2555. OSIR 2014; 7(2):1-5.

4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. รายงานการเฝ้าระวังโรคระดับจังหวัด;เลปโรสไปโรสิส 2561. ศรีสะเกษ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ; 2561.

5. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สรุปรายงาน การเฝ้าระวังโรคประจำปี 2561. นนทบุรี : สำนักระบาดวิทยา; 2561:765.

6. Goswami RP, Goswami RP, Basu A, Tripathi SK, Chakrabarti S, Chattopadhyay I. Predictors of mortality in leptospirosis: an observational study from two hospitals in Kolkata, eastern India. Trans R Soc Trop Med Hyg 2014;108(12):791-6.

7. Panaphut T, Domrongkitchaiporn S, Thinkamrop B.Prognostic factors of death in leptospirosis: a prospective cohort study in Khon Kaen. Int J Infect Dis 2002;6(1):52-9.

8. Dupont H, Dupont-Perdrizet D, Perie JL, Zehner-Hansen S, Jarrige B, Daijardin JB. Leptospirosis: prognostic factors associated with mortality. Clin Infect Dis 1997;25(3): 720-4.

9. Spichler AS, Vilaça PJ, Athanazio DA, Albuquerque JO, Buzzar M, Castro B, et al. Predictors of lethality in severe leptospirosis in urban Brazil. Am JTrop Med Hyg 2008;79(6):911-4.

10. Gancheva GI. Age as Prognostic Factor in Leptospirosis. Ann Infect Dis Epidemiol 2016; 1( 2):1-6.

11. Marotto PCF, Nascimento CMR, Eluf-Neto J, Marotto MS, Andrade L, Sztajnbok J, et al. Acute lung injury in leptospirosis: clinical and laboratory features, outcome, and factors associated with mortality. Clin Infect Dis 1999;29(6):1561-3.

12. Tantitanawat S, Tanjatham S. Prognostic factors associated with severe leptospirosis. J Med Assoc Thai 2003;86(10):925-31.

13. Smith S, Kennedy BJ, Dermedgoglou A, Poulgrain SS, Paavola MP, Minto TL,, et al. A simple score to predict severe leptospirosis. PLoSNegl Trop Dis 2019;13(2):e0007205.

14. Rosner B. Fundamentals of Biostatistics. 7th. ed. Boston : BROOKS/COLE; 2011.

15.Haake DA,Levett PN. Leptospirosis in humans.Curr Top Microbiol Immunol 2015;387:65-97.

16. Botros M,Sikaris KA. The de ritis ratio: the test of time. Clin Biochem Rev 2013;34(3):117-30.

17. Desai N, Gross J. Scoring systems in the critically ill: uses, cautions, and future directions. BJA Education 2019;19(7):212-8.