การพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลชัยภูมิ

Main Article Content

จุฑารัตน์ บางแสง
ชลนรรจ์ แสนชั่ง
จุฑามาศ หมู่โยธา
สายตา จังหวัดกลาง

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะที่ร่างกายรับเชื้อต่างๆ และมีการตอบสนองต่อการอักเสบที่เกิดจากเชื้อโรคนั้นๆ อันเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตของผู้ป่วยหากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที ซึ่งในการรักษาพยาบาลจะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องในหลายมิติ หน่วยงานเกี่ยวข้องได้พยายามแก้ปัญหา หรือแนวทางรักษาอย่างต่อเนื่อง
วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ใช้แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินการดูแลผู้ป่วย แบบทดสอบความรู้ และการสนทนากลุ่ม ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงสัมพันธ์ คือ ค่าที (t-test) การวิเคราะห์เนื้อหา ได้แก่ การแยกแยะ การจัดหมวดหมู่ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล
ผลการศึกษา: ผลการศึกษา พบว่า คะแนนความรู้ของบุคลากรด้านความรู้เรื่องโรค และความรู้การให้บริการพยาบาล หลังการพัฒนา มีค่าเฉลี่ย ("X" ̅) เพิ่มขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ 0.05 คะแนนการปฏิบัติในการให้บริการ ขั้นแรกรับผู้ป่วย ทั้งก่อนและหลังการพัฒนา มีค่าเฉลี่ย เท่ากัน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ 0.05 ขั้นดูแลผู้ป่วย และขั้นจำหน่ายผู้ป่วย หลังการพัฒนา มีค่าเฉลี่ย ("X" ̅) เพิ่มขึ้น และมีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งสองรายการ แนวทางในการพัฒนาทางการพยาบาล พบว่า ด้านความรู้ มีการจัดให้ฝึกงานก่อนปฏิบัติ มีการประเมินการฝึกงาน และให้การอบรมระยะสั้นสม่ำเสมอด้านบริการทางการพยาบาล พบว่า มีการขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น และนำเครื่องช่วยเตือน แบบประเมิน SOS Score มาช่วยในการให้บริการทางการพยาบาล
สรุปผล: การพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย มีการปฏิบัติที่เป็นขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า มี การพัฒนาความรู้ ทักษะแก่บุคลากร การดูแลผู้ป่วยมีการปฏิบัติตามมาตรฐานทางการพยาบาล มีการขอความร่วมมือจากทีมสหวิชาชีพ มีการนำเครื่องมือ เช่น เครื่องช่วยเตือน และแบบประเมิน SOS Score มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม
คำสำคัญ: แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. นาตยา คำสว่าง, ปัญญา เถื่อนดวง, พรพิศ ตรีบุพชาติกุล.ผลการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดตามเวชปฏิบัติ หลังใช้ระบบพยาบาลผู้ประสานงาน. พุทธชินราชเวชสาร 2552;26(1):29-1.

2. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการรักษา Severs Sepsis และ Septic Shock.กรุงเทพฯ : แผนกอายุรศาสตร์โรงพยาบาลเลิศสิน; ม.ป.ป..

3. สลิล ศิริอุดมภาส. ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ(Sepsis)ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด(Septicemia). [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2558]. สืบค้นได้จาก:URL:www.http://Haanmor.com/th/%E0%B8%A0..%B8%94/#article101.2555.

4. อมร ลีลารัศมี.ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด.). [อินเตอร์เน็ท].[สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2558].สืบค้นได้จาก:URL:www. http://www.healthtoday.net/Thailand/feature/feature_150.html. 2552.

5. กนก พิพัฒน์เวช. การรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดตามแนวทางที่กำหนด โรงพยาบาลอุตรดิตถ์: เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิต. วารสารโรงพยาบาลน่าน 2555;45(4):6-7.

6. พรทิพย์ แสงสง่า, นงนุช เคี่ยมการ. ผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรุนแรงทางคลินิกตามเกณฑ์“Sepsis Bundles” ในงานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2558;29(3):410-43.

7. นงลักษณ์ โค้วตระกูล. ผลการพัฒนาคุณภาพระบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีติดเชื้อในกระแสเลือด ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. วารสารพยาบาลโรคหัวใจ และทรวงอก 2557;25(2):120-34.

8. จิรารัชน์อุนนะนันทน์.การประเมินแนวทางปฏิบัติการรักษา ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงในโรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารวิชาการ รพศ/รพท เขต4 2557;16(3):184-91.

9. จิดาภา รอดโพธิ์ทอง, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา. การพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยง สำหรับพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารกองการพยาบาล 2559;43(2):66-82.

10. สุนิดา อรรถอนุชิต. พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพแนวปฏิบัติการพยาบาล ในการประเมินสภาพแรกรับผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บหลายระบบที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุโรงพยาบาลปัตตานี. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2551.

11. ภาพิมล โกมล, รัชนี นามจันทรา, วารินทร์ บินโฮเซ็น. คุณภาพการจัดการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสิงห์บุรี. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 2560;6(2):32-43.

12.จิตรลดา พิมพ์ศรี. เปรียบเทียบผลการใช้ Search Out Severity Score(SOS) กับ Modified Early Warning Score (MEWS) ผู้ป่วยมีการติดเชื้อในกระแสเลือดหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2558]. สืบค้นได้จาก:URL:www.http://203.157.169.5/r2r/temp/597867c7b22ae.pdf.2560.