ผลกระทบของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มารับบริการทันตกรรมที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พรทิพย์ ศุกรเวทย์ศิริ

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: สุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ปัญหาที่พบมากคือ โรคปริทันต์ ฟันผุ และการสูญเสียฟัน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาวะทันตสุขภาพและผลกระทบของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุที่มารับบริการที่กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลสุรินทร์
วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง โดยการตรวจช่องปาก และสัมภาษณ์จำนวนผู้สูงอายุ 205 คน โดยใช้ดัชนีสุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต (OHIP-49) ครอบคลุมทั้ง 7 หมวด คือความจำกัดการทำหน้าที่ ความเจ็บปวดทางกายภาพ ความรู้สึก ไม่สบายทางจิตใจ การสูญเสียความสามารถทางกายภาพการสูญเสียความสามารถทางจิตใจ การสูญเสียความสามารถทางสังคม และความด้อยโอกาสทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้ Chi-square Test (p<0.05)
ผลการศึกษา: พบว่า มีฟันผุ ร้อยละ 67.8 ค่าเฉลี่ย ฟันผุถอนอุดเท่ากับ12.1 ซี่/คน มีการสูญเสียเหงือกยึดระดับรุนแรง ร้อยละ 81.5 มีสภาวะฟันสึก ร้อยละ 62ผลกระทบของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตมีค่าคะแนนเฉลี่ยOHIP-49 เท่ากับ55.49 ±20.73 ความสัมพันธ์ของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้ที่ค่าคะแนน OHIP-49 สูงกว่าค่าเฉลี่ย มี ความสัมพันธ์ กับ จำนวนสภาวะฟันสึก การเคยมีอาการฟันผุ การเคยมีอาการเหงือกบวม การเคยมีก้อนหรือแผลในปาก สภาวะอนามัยช่องปากที่ไม่ดี และการไม่เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก
สรุปผลการศึกษา: สภาวะทันตสุขภาพมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดังนั้นควรมีการจัดรูปแบบการจัดการแก้ไขปัญหาการเกิดโรคในช่องปากของผู้สูงอายุเพื่อลดผลกระทบของปัญหาสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิต
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ คุณภาพชีวิต ผลกระทบของสภาวะทันตสุขภาพต่อคุณภาพชีวิต ดัชนีสุขภาพช่องปาก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : กรมอนามัย; 2560.

Kidd EA, Giedrys-Leeper E, Simons D. Take two dentists. A tale of root caries. Dent Update 2000;27(5):222-30.

Takano N, Ando Y, Yoshihara A, Miyazaki H. Factors associated with root caries incidence in an elderly population. Community Dental Health 2003;20:217-222.

Lawrence HP, Hunt RJ, Beck JD. Three-year root caries incidence and risk modeling in older adults in North Calolina. J Public Health Dent 1995;55:69-78.

Ritter AV. Talking with patients: Root Caries. J Esthet Restor Dent 2002;14(5):320.

Torrungruang K, Tamsailom S, Rojanasomsith K, Sutdhibhisal S, Nisapakultotn K, Vanichjakvong et al. Risk indicators of periodontal disease in older Thai Adults. J Periodontol 2005;76(4):558-65.

Bosnjak A, Plancak D, Curilovic Z. Advances in the relationship between periodontitis and systemic diseases. Acta Stomat Croat 2001;35(2):267-71.

. Peruzzo DC, Benatti BB, Ambrosano GM, Nogueira-Filho GR, Sallum EA, Casati MZ. A systematic review of stress and psychological factors as possible risk factors for periodontal disease. J Periodontol 2007;78(8):1491-504.

Vettore MV, Leao ATT, Monteiro da Silva AM. The relationship of stress and anxiety with chronic periodontitis. J Clin Periodontol 2003;30(5):394-402.

ประกล พิบูลย์โรจน์, วรางคณา เวชวิธี, ดาวเรือง แก้วขันตี, วิกุล วิสาลเสสถ์. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตด้านทันตสุขภาพ กับพฤติกรรมทันตสุขภาพผู้สูงอายุ.วารสารทันตสาธารณสุข 2540;7(1): 20.

Brodeur J-M, Laurin D, Vallee R, Lachapelle D. Nutrient intake and gastrointestinal Disorders related to masticatory performance in the edentulous elderly. J Prosthet Dent 1993;70(5):468-73.

Locker D, Grushka M. The impact of dental and facial Pain. J Dent Res 1987;66(9):1414-7.

ยุพิน ส่งไพศาล. ความพึงพอใจและผลกระทบของสุขภาพช่องปากต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไร้ฟันหลังการใส่ฟันเทียมทั้งปากในโครงการฟันเทียมพระราชทานที่โรงพยาบาลบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2550;30(3):31-45.

Slade GD, Spencer AJ. Social impact of oral conditions among older adults. Aust Dent J 1994;39(6):358-64.

Locker D. Measuring oral health: a conceptual framework. Community Dent Health 1988;5(1):3-18.

Luo Y, McMillan AS, Wong Mc, Zheng J, Lam CL. Orofacial pain conditions and impact on quality of life in community-dwelling elderly people in Hong Kong. J Orofac Pain 2007;21(1):63-71.

ดวงพร ศิริเทพมนตรี. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุหลังใส่ฟันเทียมพระราชทาน. วชิรเวชสาร 2551;52(1): 39-47.

Biazevic MG, Michel-Crosato E, Iagher F, Pooter CE, Correa SL, Grasel CE. Impact of oral health on quality of life among the elderly population of Joaçaba, Santa Catarina, Brazil. Braz Oral Res 2004; 18(1): 85-91.

Johansson A, Haraldson T, Omar R, Kiliaridis S, Carlsson GE. An investigation of some factors associated with occlusal tooth wear in a selected high-wear sample. Scand J Dent Res 1993; 101(6): 407-15.

Dahl BL, Carlsson GE, Ekfeldt A. Occlusal wear of teeth and restorative materials. A reviewof classification, etiology, mechanisms of wear, and some aspects of restorative procedures. Acta Odontol Scand 1993; 51: 299-311

Kaidonis JA, Richards LC, Townsend GC. Nature and frequency of dentalwear facets in an Australian aboriginal population. J Oral Rehabil 1993; 20: 333-340.