การใช้สมุดบันทึกนมแม่เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมแม่ในทารกก่อนกำหนด : วิจัยทดลองแบบสุ่ม ควบคุมกลุ่มตัวอย่าง

Main Article Content

เคียงขวัญ อัมไพพันธ์
โสรยา เตชะนัดตา

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: มารดาที่อยู่แยกจากทารกมีปัญหาการผลิตน้ำนมที่ล่าช้าและน้ำนมมีปริมาณน้อยกว่ามารดาที่อยู่กับทารก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณนมแม่ระดับความเครียดของมารดาภาวะแทรกซ้อนจากการบีบนมแม่ ภาวะลำไส้อักเสบของทารกอัตราการตายและระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของทารกเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ใช้สมุดบันทึกนมแม่และกลุ่มควบคุม
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มในมารดาที่อยู่แยกจากทารกอายุครรภ์≤34 สัปดาห์ อายุตั้งแต่ 14-42 ปี ผู้วิจัยให้ความรู้และสาธิตการบีบนมข้างเตียงภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด จากนั้นแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือใช้สมุดบันทึกนมแม่และกลุ่มควบคุม โดยมีการตรวจวัดปริมาณนมแม่ที่นำส่งมาให้ที่หอผู้ป่วยทุกวัน โทรสอบถามระดับความเครียดของมารดา ภาวะแทรกซ้อนจากการบีบนมแม่ตั้งแต่วันที่ 1-7 หลังคลอดของทั้งสองกลุ่ม ประเมินภาวะลำไส้อักเสบของทารก อัตราการตายและระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของทารกของทั้งสองกลุ่ม
ผลการศึกษา: มารดาที่เข้าเกณฑ์การศึกษา 52 คน มีปริมาณนมแม่ในวันที่ 1-7 หลังคลอดของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.87) ปริมาณนมแม่ของทั้งสองกลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 4-7 หลังคลอดเมื่อเปรียบเทียบกับวันแรกคลอด (p-value <0.001)ในส่วนระดับความเครียดของมารดา ภาวะแทรกซ้อนจากการบีบนมแม่ ภาวะลำไส้อักเสบของทารก อัตราการตายและระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลของทารกไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของทั้งสองกลุ่ม
สรุปผล: ปริมาณนมแม่ ระดับความเครียด ภาวะแทรกซ้อนจากการบีบนม ภาวะลำไส้อักเสบของทารก อัตราการตายและระยะเวลานอนโรงพยาบาลของทารกของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน การให้ความรู้ สาธิตการบีบนมแม่ข้างเตียงภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอดช่วยทำให้มีปริมาณนมแม่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยไม่จำเป็นต้องใช้สมุดบันทึกนมแม่
คำสำคัญ: การเพิ่มปริมาณนมแม่ในทารกก่อนกำหนด การใช้สมุดบันทึกนมแม่

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Parker LA, Sullivan S, Krueger C, Mueller M. Association of timing of initiation of breastmilk expression on milk volume and timing of lactogenesis stage II among mothers of very low-birth-weight infants. Breastfeed Med 2015;10(2):84-91.

Sisk PM, Lovelady CA, Gruber KJ, Dillard RG, O'Shea TM. Human milk consumption and full enteral feeding among infants who weigh <= 1250 grams. Pediatrics 2008;121(6):e1528-33.

Héon M, Goulet C, Garofalo C, Nuyt AM, Levy E. An Intervention to Promote Breast Milk Production in Mothers of Preterm Infants. West J Nurs Res 2016;38(5):529-52.

Lussier MM, Brownell EA, Proulx TA, Bielecki DM, Marinelli KA, Bellini SL, Hagadorn JI. Daily Breastmilk Volume in Mothers of Very Low Birth Weight Neonates: A Repeated-Measures Randomized Trial of Hand Expression Versus Electric Breast Pump Expression. Breastfeed Med 2015;10(6):312-7.

Wang Lixin. Breast Guidance Manual. Beijing: Science and Technology Press; 2012.

Liu Y, Yao J, Liu X, Luo B, Zhao X. A randomized interventional study to promote milk secretion during mother-baby separation based on the health belief model: A consort compliant. Medicine (Baltimore) 2018;97(42):e12921.

Sinha B, Chowdhury R, Sankar MJ, Martines J, Taneja S, Mazumder S, et al. Interventions to improve breastfeeding outcomes: a systematic review and meta-analysis. Acta Paediatr. 2015 Dec;104(467):114-34.

Bernard, R. Fundamentals of biostatistics. 5th. ed. Duxbery: Thomson learning; 2000: 307.

Wu B, Zheng J, Zhou M, Xi X, Wang Q, Hua J, et al. Improvement of Expressed Breast Milk in Mothers of Preterm Infants by Recording Breast Milk Pumping Diaries in a Neonatal Center in China. PLoS One. 2015 Dec 4;10(12):e0144123.