ปัจจัยที่มีผลต่อการฆ่าตัวตายของผู้ป่วย คลินิกให้คําปรึกษากลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

จินตนา กมลพันธ์
วันรวี พิมพ์รัตน์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตทั่วโลกปัญหาการฆ่าตัวตายมีความรุนแรงมากขึ้นและมีความสำคัญในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยเป็นอย่างมากโรงพยาบาลบุรีรัมย์ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาทางจิตสังคมซึมเศร้าและพฤติกรรมการฆ่าตัวตายจึงได้มีการจัดตั้งคลินิกให้คำปรึกษาขึ้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายเพื่อใช้ข้อมูลในการวางแผนการพยาบาลและพัฒนางานบริการให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการฆ่าตัวตายในคลินิกให้คำปรึกษากลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลบุรีรัมย์
รูปแบบการศึกษา: ทำการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางโดยเก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง
วิธีการศึกษา: ทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มารับคำปรึกษาในคลินิกให้คำปรึกษา กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลบุรีรัมย์ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกในช่วงเดือน มิถุนายน พ.ศ.2561 ถึงเดือน เมษายน พ.ศ.2563 จำนวนทั้งหมด 141 ราย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้สถิติ ความถี่ร้อยละ และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายโดยใช้ logistic regression analysis
ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 76.6 อายุตั้งแต่14-62 ปี อายุเฉลี่ย 28.8 ปี สถานภาพโสดร้อยละ 58.9 และมีการประกอบอาชีพร้อยละ 43.3 การวินิจฉัยโดยจิตแพทย์พบกลุ่ม mood disorderมากที่สุดร้อยละ 69.5 พบการใช้สุรา ร้อยละ23.4 ยาบ้าร้อยละ 3.5 กัญชาร้อยละ 2.8 จำนวนครั้งที่ผู้ป่วยได้รับการทำจิตบำบัด ตั้งแต่ 1-7 ครั้ง โดยทำจิตบำบัด 1 ครั้ง ร้อยละ 56 พบว่าเคยมีประวัติการฆ่าตัวตายมาก่อนร้อยละ 61.7วิธีการที่ใช้ฆ่าตัวตายพบการกินยาเกินขนาดมากที่สุดร้อยละ 28.4 ผู้ป่วยที่มาติดตามการรักษาพบว่าไม่มีความคิดฆ่าตัวตายร้อยละ 61เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี logistic regression analysis พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายตามลำดับมีดังนี้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคกลุ่ม psychotic disorder (OR = 12.56, 95%CI = 1.30-120.95, P = 0.029)ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคadjustment disorder (OR = 8.89, 95%CI = 1.21-65.11, P =0.032)และผู้ป่วยอายุน้อยกว่า21ปี (OR = 2.90, 95%CI = 1.23-6.85, P = 0.015)
สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อการฆ่าตัวตายในคลินิกให้คำปรึกษากลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ได้แก่ ผู้ป่วยโรคกลุ่ม psychotic disorder ผู้ป่วยโรค adjustment disorderและผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 21 ปีทางผู้วิจัยสามารถนำผลการวิจัยที่ได้ไปปรับการดูแลและเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงการฆ่าตัวตายต่อไป
คำสำคัญ: การฆ่าตัวตาย ปัจจัย คลินิกให้คำปรึกษา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Suicide data [Internet]. [cited 2020 Apr 28]. Available from:URL:WWW.http://www.who.int/mental_health/

prevention/suicide/suicideprevent/en/

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานอัตราฆ่าตัวตายต่อประชากรแสนคน แยกตามจังหวัดประจำปี พ.ศ. 2562 [Internet]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563]. สืบค้นได้จาก:URL: https://www.dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานอัตราการฆ่าตัวตาย (รายต่อแสนประชากร) ปี พ.ศ. 2540-2562. [Internet]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563]. สืบค้นได้จาก:URL:https://www.dmh.go.th/report/suicide/s_stat.asp?region.

ปองพล วรปาณิ, เสาวนันท์ บำเรอราช, สุพัตรา สุขาวห. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพยายามฆ่าตัวตาย ในอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;1(1):69-78.

ธัญชนก บุญรัตน์. พฤติกรรมการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยที่มารักษาที่คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลหาดใหญ่. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2018;30(1):101–9.

สุพัตรา สุขาวห, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล. ปัจจัยเสี่ยงและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายในวัยรุ่น : การทบทวนวรรณกรรมเชิงลึก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2560;62(4):359-78.

วินัย รอบคอบ, สมบัติ สกุลพรรณ์, หรรษา เศรษฐบุปผา. ภาวะซึมเศร้า พฤติกรรมการดื่มสุรา และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น. พยาบาลสาร 2561;45(4):144-58.

ศศิธร กมลธรรม, รุ่งระวี แก้วดี. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายสำเร็จ ในเขตเมืองจังหวัดลำปาง ด้วยการสืบค้นหลังเสียชีวิต ตุลาคม 2553-กันยายน 2556. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561;63(1):47-54.

Grendas LN, Rojas SM, Puppo S, Vidjen P, Portela A, Chiapella L, et al. Interaction between prospective risk factors in the prediction of suicide risk. J Affect Disord 2019;258:144-50.

สุภาวดี ศรีรัตนประพันธ์. ความชุกของภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มารักษา ในโรงพยาบาลละหานทราย อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561;33(3):249-64.

นันทวัช สิทธิรักษ์. จิตเวชศิริราช DSM-5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ศิริราช; 2562. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2563]. สืบค้นได้จาก:URL: https://www.mebmarket.com/index.php?action=BookDetails&book_id=98192.

Ruengorn C, Sanichwankul K, Niwatananun W, Mahatnirunkul S, Pumpaisalchai W, Patumanond J. Incidence and risk factors of suicide reattempts within 1 year after psychiatric hospital discharge in mood disorder patients . Clin Epidemiol 2011;3:305-13.