เปรียบเทียบประสิทธิภาพการให้ยาDiazepamทางปากกับทางหลอดเลือดเลือดดำในผู้ป่วยภาวะถอนแอลกอฮอล์

Main Article Content

เอกลักษณ์ แสงศิริรักษ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล : จากข้อมูลองค์การอนามัยโลกพบว่าความชุกของผู้ที่มีปัญหาจากการดื่มสุราถึงร้อยละ 1.7 ในประเทศไทยการสำรวจของกรมสุขภาพจิต ปี พ.ศ.2546 พบความชุกของปัญหาการดื่มสุรา ถึงร้อยละ 28.5 ความรุนแรงของปัญหาการดื่มสุราที่มีแนวโน้มส่งผล กระทบต่อสุขภาพมากขึ้น ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพบว่ามีภาวะติดแอลกอฮอล์ (Alcohol dependence) ประมาณร้อยละ 20-50 แผนกผู้ป่วยในจิตเวช โรงพยาบาลสุรินทร์ พบผู้ป่วยมีอาการถอนแอลกอฮอล์ ร้อยละ 23 ภาวะถอนแอลกอฮอล์ (Alcohol withdrawal) ส่งผลให้การดูแลรักษาผู้ป่วยมีความซับซ้อน เพิ่มโอกาสติดเชื้อ ระบบหายใจล้มเหลวและเพิ่มวันนอนมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันการบริหารยาส่วนใหญ่ จะให้ทางปากจะให้ยาทางหลอดดำก็ต่อเมื่อผู้ป่วยสับสนมาก ก้าวร้าวไม่ร่วมมือหรือ ต้องงดนํ้างดอาหารเป็นที่สังเกตว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาถอนพิษแอลกอฮอล์ทางหลอดเลือด บางรายมีจำนวนวันที่ต้องได้รับยาน้อยกว่าและมีอาการถอนแอลกอฮอล์ลดลงเร็วกว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาทางปาก ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการบริหารยาทางปากกับทางหลอดเลือดดำ ในผู้ป่วยที่นอนรักษาในแผนกจิตเวช ที่มีภาวะถอนแอลกอฮอล์ร่วมด้วย
วิธีการศึกษา : การศึกษาแบบ Randomized single blinded control trial ในผู้ป่วยที่เข้ารักษาในแผนกจิตเวชโรงพยาบาลสุรินทร์ที่มีอาการถอนแอลกอฮอล์ร่วมด้วยระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2562 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ทั้งหมด 46 ราย ทำการสุ่มลำดับ ผู้ป่วยด้วยคอมพิวเตอร์ ปิดด้วยซองจดหมายปิดผนึก กลุ่ม intravenous 23 คน จะได้รับยา Diazepam ทางหลอดเลือดดำ กลุ่ม oral 23 คนจะได้รับยา Diazepam ทางปากโดยขนาดยาได้จากการประเมิน Alcohol withdrawal scale ข้อมูลศึกษา ได้แก่ ระยะเวลาของการได้รับยา (วัน) ปริมาณยาสะสม (มก.) คะแนน TM5E ก่อนจำหน่าย และผลข้างเคียง
ผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาทางหลอดเลือดดำมีระยะเวลาของการได้รับยาสั้นกว่ากลุ่มที่ได้รับยาทางปากเฉลี่ย 1.3 วัน (p=0.001) ปริมาณยาสะสมในกลุ่มที่ได้ยาทางหลอดเลือดดำ (62.2 มิลลิกรัม) น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาทางปาก (92.9 มิลลิกรัม) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติส่วน TMSE ก่อนจำหน่ายและผลข้างเคียงได้แก่ ง่วงซึม ติดเชื้อทางเดินหายใจหกล้ม กดการหายใจ ไม่แตกต่างกันทางนัยสถิติระหว่างสองกลุ่ม
สรุป : การให้ยา Diazepam ทางหลอดเลือดดำมีประสิทธิภาพกว่าการให้ทางปาก ในเรื่อง ระยะเวลาของการได้ยาสั้นกว่า
คำสำคัญ : ไดอะซีแพม ภาวะถอนแอลกอฮอล์

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Global status report on alcohol and health 2014. [internet], [cited 2020 July 4]. Available from:URL:https:// apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/ 148114/ 9789241564854_eng.pdf.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิต : การศึกษาระดับประเทศ ปี 2546. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2563]. สืบค้นได้จาก : URL:http://www.dmhweb.dmh. go.th/social/ebook/files/survay.pdf.

สินเงิน สุขสมปอง, ปทานนท์ ขวัญสนิท, สุทธา สุป็ญญา, วรวรรณ จุฑา, พันธุนภา กิตติรัตนไพบูลย์, ดุษฎี อุดมอิทธิพงศ์. การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ.2556 : ความซุกของโรคจิตเวชของคนเมืองใหญ่, กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2016; 61(1):75-88.

Moore RD, Bone LR, Geller G, Mamon JA, Stokes EJ, Levine DM. Prevalence, detection, and treatment of alcoholism in hospitalized patients. JAMA 1989;261(3):403-7.

Ait-Daoud N, Malcolm RJ, Johnson BA. An overview of medications for the treatment of alcohol withdrawal and alcohol dependence with an emphasis on the use of older and newer anticonvulsants. Addict Behav 2006;31(9):1628-49.

Trevisan L, Ralevski E, Keegan K, Oville A, Vulppalapati D, Gonzalez G, Limoncelli D, Petrakis I. Alcohol detoxification and relapse prevention using valiproic acid versus gabapentin in Alcohol dependent patients. Addict Disorder their treat 2008;7(3):119-28.

Rogawski MA. Update on the neurobiology of alcohol withdrawal seizures. Epilepsy Curr 2005;5(6):225-30.

Addolorato G, Leggio L, Abenavoli L, Agabio R, Caputo F, Capristo E, et al. Baclofen in the treatment of alcohol withdrawal syndrome: a comparative study vs diazepam. Am J Med 2006;119(3):276.el3-8.

Soyka M, Schmidt P, Franz M, Barth T, de Groot M, Kienast T, et al. Treatment of alcohol withdrawal syndrome with a combination of tiapride/carbamazepine: results of a pooled analysis in 540 patients. Eur Arch Psychiatry Clin Neurosci 2006; 256(7):395-401.

O'Brien JM Jr, Lu B, Ali NA, Martin GS, Aberegg SK, Marsh CB, Lemeshow S, et al. Alcohol dependence is independently associated with sepsis, septic shock, and hospital mortality among adult intensive care unit patients. Crit Care Med 2007;35(2):345-50.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, บรรณาธิการ. คู่มือสำหรับผู้อบรม : การดูแลผู้มืปัญหาการดื่มสุราเบื้องต้นสำหรับบุคลากรสุขภาพ ฉบับปรับปรุง 2554 : Module C-มาตรการที่ 2 : มาตรการบำบัดรักษา ภาวะถอนพิษสุรา. เชียงใหม่ : แผนงานการพัฒนา ระบบการดูแลผู้มืปัญหาการดื่มสุรา (ผรส.); 2554.

Kaplan SA, Jack ML, Alexander K, Weinfeld RE. Pharmacokinetic profile of diazepam in man following single intravenous and oral and chronic oral administrations. J Pharm Sci 1973;62(11):1789-96.

Saitz R, O’Malley SS. Pharmacotherapies for alcohol abuse. Withdrawal and treatment. Med Clin North Am 1997;81(4):881-907.

Lai R. Pharmacotherapy of substance use disorders. In: Lai R, editor. Substance Use Disorders: Manual for Physicians. New Delhi: National Drug Dependence Treatment Center, All India Institute of Medical Sciences; 2005:1-12.

Wasilewski D, Matsumoto H, Kur E, Dziklinska A, Wozny E, stencka K, et al. Assessment of diazepam loading dose therapy of delirium tremens. Wasilewski D, et al. Alcohol Alcohol 1996;31(3):273-8.

Muzyk AJ, Leung JG, Nelson S, Embury ER, Jones SR. The Role of Diazepam Loading for the Treatment of Alcohol Withdrawal Syndrome in Hospitalized Patients. Am J Addict 2013;22(2):113-8.