การพัฒนาอุปกรณ์ดึงนิ้วมือแบบ Wonder Finger Trap เพื่อช่วยในการจัดกระดูก ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บกระดูกแขนหักแบบปิด ในโรงพยาบาลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

กฤษณะ ระดาพัฒน์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บกระดูกแขนหักแบบปิด จำเป็นต้องได้รับการ ช่วยเหลือในการจัดกระดูกให้เข้าที่ในห้องผ่าตัด จึงต้องการพัฒนาอุปกรณ์ที่ช่วยในการดึงนิ้วมือเพื่อให้สามารถจัดกระดูกแขนให้ เข้าที่ในตำแหน่งเดิมได้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ดึงนิ้วมือเพื่อช่วยในการจัดกระดูกแขน ในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บกระดูกแขนหักแบบปิด ในห้องผ่าตัด
วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัดก่อนและหลังการทดลอง ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บกระดูกปลายแขนหักแบบปิด ที่มารับบริการในคลินิกโรคกระดูกและข้อ อายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป ซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ที่ได้รับบาดเจ็บกระดูกปลายแขนหักแบบปิด 1 ตำแหน่ง เลือกกลุ่มทดลองแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คืออุปกรณ์การจัดกระดูกที่หักให้เข้าที่โดยไม่ใช้การผ่าตัด ที่พัฒนาขึ้นวิเคราะห์เปรียบเทียบการมีกระดูกปลายแขนเข้าตำแหน่งเดิมก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้จำนวนและร้อยละ
ผลการศึกษา: ได้อุปกรณ์ดึงนิ้วมือเพื่อใช้ช่วยในการจัดกระดูกแขนผู้ที่ได้รับบาดเจ็บกระดูกแขนหักแบบปิด ในห้องผ่าตัด ผลการทดลองหลังจากผ่านไป 1 เดือน พบว่ากลุ่มทดลองมีกระดูกแขนเข้าที่ในตำแหน่งเดิม ร้อยละ 100
สรุป: การพัฒนาอุปกรณ์ดึงนิ้วมือเพื่อช่วยในการจัดกระดูกแขน ในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บกระดูกปลายแขนหักแบบปิด ทำให้ได้อุปกรณ์ดึงนิ้วมือมหัศจรรย์ เพื่อใช้งานในห้องผ่าตัด และสามารถช่วยจัดกระดูกปลายแขนที่หักเข้า ตำแหน่งเดิมได้
คำสำคัญ: อุปกรณ์ดึงนิ้วมือ การจัดกระดูกแขน กระดูกปลายแขนหักแบบปิด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

ธวัช ประสาทฤทรา, พรทิพย์ ลยานันท์, สุขใจ ศรีเพียรเอม. การพยาบาลออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพฯ : บริษัท สหมิตรพริ้นติ้งแอนพับลิสซิง จำกัด; 2555.

พงศธร ฉันท์พลากร, ชนิกา อังสนันท์สุข, นรเทพ กุลโชติ, ปพน สง่าสูงส่ง, เทพรัตน์ กาญจนเทพศักดิ์. ตำราการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพฯ : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562.

Ozkan S, Westenberg RF, Flelliwell LA, Mudgal CS. Distal Radius Fractures: Evaluation of Closed Reduction and Percutaneous Kirschner Wire Pinning. J Hand Microsurg 2018;10(3):134-8.

S0sborg-Wurtz Hjalte, Gellert SC, Erichsen JL, Viberg B. Closed reduction of distal radius fractures: a systematic review and meta-analysis. EFORT Open Rev 2018;3(4): 114-20.

Corsino CB, Reeves RA, Sieg RN. Distal Radius Fractures. NP: StatPearls Publishing LLC.; 2020.

Paterson P, Wolfe S, Palmer AK. Technique for Insertion of the Conventus Cage for Distal Radial Fracture Fixation. JBJS Essent Surg Tech 2017;7(3):e24.

Leventhal EL, Moore DC, Akelman E, Wolfe SW, Crisco JJ. Conformational changes in the carpus during finger trap distraction. J Hand Surg Am 2010;35(2):237-44.

Meena S, Sharma P, Sambharia AK, Dawar A. Fractures of distal radius: an overview. J Family Med Prim Care 2014;3(4):325-32.

Salvi AE. The handshake technique: proposal of a closed manual reduction technique for Colles1 wrist fracture. Am J Emerg Med 2011;29(1):115-7.

Leixnering M, Rosenauer R, Pezzei C, Jurkowitsch J, Beer T, Keuchel T, et al. Leixnering M, et al. Indications, surgical approach, reduction, and stabilization techniques of distal radius fractures Arch Orthop Trauma Surg 2020; 140(5):611-21.

Thongtanworapat T, Suwanno P, Anuntaseree S. Comparison of Pain Scores between Bamboo and Stainless steel Finger Traps: An Experimental study. J Health Sci Med Res 2019;37(2):145-50.