ผลของโปรแกรมการออกกำลังข้อมือในผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ เกิดการบาดเจ็บจากการใช้งานข้อมือมากเกินไป หรือใช้งานในลักษณะเดิมซ้ำๆ สาเหตุเกิดจากการอักเสบที่บริเวณรอบปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อ Abductor pollicis longus (APL) และ Extensor pollicis brevis (EPB) ทำให้มีอาการปวดและจำกัดการเคลื่อนไหว การรักษาทำได้ 2 วิธี คือ การรักษาแบบประคับประคองและการผ่าตัด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังข้อมือในผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
รูปแบบการศึกษา: วิจัยกึ่งทดลอง
วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการออกกำลังข้อมือร่วมกับการรักษาด้วยพาราฟินและ อัลตราซาวน์ กลุ่มควบคุมจะได้รับการรักษาด้วยพาราฟินและอัลตราซาวน์ เท่านั้น ระยะเวลา 1 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ วัดระดับความเจ็บปวดโดยใช้ Visual analog scale (VAS) การบวมโดยใช้สายวัดและองศาการเคลื่อนไหวโดยใช้โกนิโอมิเตอร์ สถิติที่ใช้ Independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษา: ระดับความเจ็บปวด การบวมเปรียบเทียบก่อนและหลังภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 องศาการเคลื่อนไหวของข้อมือเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05
สรุป: ผลของโปรแกรมการออกกำลังข้อมือร่วมกับการรักษาด้วยพาราฟินและอัลตราซาวน์ จำนวน 1 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ในผู้ป่วยโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ สามารถลดอาการปวด ลดการบวมและเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อมือได้ดีกว่า การรักษาด้วยพาราฟินร่วมกับอัลตราซาวน์เท่านั้น
คำสำคัญ: ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ออกกำลังกาย ระดับความเจ็บปวด การบวม องศาการเคลื่อนไหว
Article Details
References
un Nisa Z, Umer B, ul Hassan T. Prevalence of De Quervain’s Syndrome Among Young Mobile Phone Users. JRCRS 2016; 4(1):22-4.
Physical therapy department of Buri Ram Hospital. The annual report, Physical medicine and Rehabilitation. Buri Ram : Buri Ram hospita; 2019: 1-10.
Rabin A, Israeli T, Kozol Z. Physiotherapy Management of People Diagnosed with de Quervain's Disease: A Case Series. Physiother Can 2015;67(3):263-7. doi: 10.3138/ptc.2014-47.
Papa JA. Conservative management of De Quervain's stenosing tenosynovitis: a case report. J Can Chiropr Assoc 2012;56(2):112-20.
Howell ER. Conservative care of De Quervain's tenosynovitis/ tendinopathy in a warehouse worker and recreational cyclist: a case report. J Can Chiropr Assoc 2012;56(2):121-7. PMID: 22675225
Hadianfard M, Ashraf A, Fakheri M, Nasiri A. Efficacy of acupuncture versus local methylprednisolone acetate injection in De Quervain's tenosynovitis: a randomized controlled trial. J Acupunct Meridian Stud 2014;7(3):115-21. doi: 10.1016/j.jams.2013.10.003.
Otter SJ, Agalliu B, Baer N, Hales G, Harvey K, James K, et al. The reliability of a smartphone goniometer application compared with a traditional goniometer for measuring first metatarsophalangeal joint dorsiflexion. J Foot Ankle Res 2015;8:30. doi: 10.1186/s13047-015-0088-3.
Bijur PE, Silver W, Gallagher EJ. Reliability of the visual analog scale for measurement of acute pain. Acad Emerg Med 2001;8(12):1153-7. doi: 10.1111/j.1553-2712.2001.tb01132.x.
Wu F, Rajpura A, Sandher D. Finkelstein's Test Is Superior to Eichhoff's Test in the Investigation of de Quervain's Disease. J Hand Microsurg 2018;10(2):116-118. doi: 10.1055/s-0038-1626690.
Homayouni K, Zeynali L, Mianehsaz E. Comparison between Kinesio taping and physiotherapy in the treatment of de Quervain's disease. J Musculoskelet Res 2013;16(4): 1350019-6. DOI: 10.1142/S021895771350019X
Goel R, Abzug JM. de Quervain's tenosynovitis: a review of the rehabilitative options. Hand (N Y) 2015;10(1):1-5. doi: 10.1007/s11552-014-9649-3.
Vogt M, Hoppeler HH. Eccentric exercise: mechanisms and effects when used as training regime or training adjunct. J Appl Physiol (1985) 2014;116(11):1446-54. doi: 10.1152/japplphysiol.00146.2013.