ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในหน่วยงานบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ

Main Article Content

กุลธิดา ดวงเนตร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของตัวผู้ป่วยและการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค จากการศึกษาที่ผ่านมาในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติยังไม่ได้มีการศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมาก่อน ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยใช้แบบคัดกรอง “KKU-DI”
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในหน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาภาคตัดขวางเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional Descriptive study) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สี่กลุ่มโรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองที่มารับการรักษาในหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แบบเก็บข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2) แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า“KKU-DI” วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ โดยใช้สถิติเชิงวิเคราะห์ เช่น chi square, odds ratio, 95%CI, multiple logistic regression โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 400 คน เป็นเพศหญิงจำนวน 236 คน (ร้อยละ 59.0) เพศชายจำนวน 164 คน (ร้อยละ 41.0) อายุเฉลี่ย 62.2±7.8 ปี ความชุกของภาวะซึมเศร้าพบร้อยละ 30.2 โดยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีภาวะซึมเศร้าสูงสุดร้อยละ 35.6 โรคเบาหวานร้อยละ 30.7 โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 25.0 และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจร้อยละ 20.6 ตามลำดับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ โรคประจำตัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Odds ratio=2.96, 95%CI=1.39-7.38, p=0.012) และความเพียงพอของรายได้ (Odds ratio=5.21, 95%CI=1.73-15.70, p=0.018)
สรุป: ความชุกภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติพบได้ 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นกลุ่มคะแนนที่มีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับรุนแรงสูงสุด รองลงมาได้แก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานตามลำดับและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่โรคประจำตัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง และความเพียงพอของรายได้
คำสำคัญ: ภาวะซึมเศร้า โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า“KKU-DI”

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Non communicable disease. 2018. [Internet]. [cited 2019 January 8]. Available from:URL:https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases.

ดิเรก ขำแป้น. แผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อจำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อ ปี 2559-2561 รวม 4 โรค โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง. 2561. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.thaincd.com/2016/mission3

จารุวรรณ มานะสุรการ. ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง : ผลกระทบและการพยาบาล. สงขลา : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2544.

World Health Organization. Depression. 2018. [Internet]. [cited 2019 January 8 ]. Available from: URL: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/depression

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานจำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า. 2562. [อินเตอร์เน็ท]. [สืบค้นวันที่ 8 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:URL: http://www.thaidepression.com/www/data_network.php

นิตยา จรัสแสง, ศิริพร มงคลถาวรชัย, เพชรรัตน์ บุตะเขียว, สมลักษณ์ บุญจันทร์, พรนิภา หาญละคร, สุวรรณา อรุณ พงศ์ไพศาล. ภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2555;57(4):439-46.

อิทธิพล พลเยี่ยม, สุคนธา ศิริ, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์, ดุสิต สุจิรารัตน์ ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. บทคัดย่อการประชุมวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 15. ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย หาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557:1848-54.

บุษราคัม จิตอารีย์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2555.

สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ. การปรับปรุงเครื่องมือคัดกรองภาวะซึมเศร้า KKU-DI เพื่อให้มีความไวต่อเพศภาวะ. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2553;55(2):177-89.

ศรีวรรณา ต้นศิริ. ผลของการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่อการลดความซึมเศร้าของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราวาสนะเวศม์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล: 2535.

สายฝน เอกวรางกูร. รู้จัก เข้าใจ ดูแลภาวะซึมเศร้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

มาติกา รัตนะ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. วิชาเอกการจัดการการบริการสาธารณสุข, คณะสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2559.

วีระชัย จิตภักดี, สมรักษ์ สันติเบ็ญจกุล, กฤษณา พิรเวช. ความชุกของอาการวิตกกังวลและ. อาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และผลต่อการฟื้นตัวของระบบสั่งงานกล้ามเนื้อและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน. เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2560;61(2): 233-47.

จุฑารัตน์ สถิรปัญญา, พรชัย สถิรปัญญา, จามรี ไตรจันทร์. ความชุก ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง และภาวะซึมเศร้าภายหลังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในจังหวัดพัทลุง.สงขลานครินทร์เวชสาร2557; 32(5):275-282.

ปรีชา ศตวรรษธำรงและคณะ. การศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ : โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, 2544.

สรวุฒิ สังข์รัศมี, พิมพาภรณ์ สังข์รัศมี, สุวรรณี เรืองเดช. การศึกษาอารมณ์เศร้าในผู้ป่วยจิตเวชผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา. วารสารจิตวิทยาคลินิก 2540;28(2):1-11.

อาคม บุญเลิศ. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนเขตรับผิดชอบของสถานบริการปฐมภูมิสามเหลี่ยม จังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559;31(1):25-33.