การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

บุหลัน เปลี่ยนไธสง
รัชนี ผิวผ่อง
ธัญสุดา ปลงรัมย์
วิไลวรรณ เงาศรี

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด ST-ElevationMyocardialInfarction (STEMI) ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน (PercutaneousCoronaryIntervention:PCI) เป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงสูง จากการศึกษาปรากฏการณ์ก่อนการพัฒนา พบว่า รูปแบบการพยาบาลเดิมไม่ชัดเจนส่งผลให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐาน
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development)มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการรักษาด้วย PCIเปรียบเทียบผลลัพธ์ในระยะก่อนและหลังการพัฒนา ศึกษาคุณภาพชีวิตหลังกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการรักษาด้วย PCIทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคมพ.ศ. 2558 ถึงเดือนธันวาคมพ.ศ. 2563 ที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 52 คนทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย แพทย์ 3 คน เภสัชกร 1 คน กายภาพบำบัด 1 คน นักโภชนากร 2 คน และผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการรักษาด้วย PCIจำนวน992คน มีขั้นตอนดำเนินการ 3 ขั้นตอน ระยะที่ 1 ขั้นศึกษาสถานการณ์ปัญหาและความต้องการในการดูแลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการรักษาด้วย PCIระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการรักษาด้วย PCI และนำลงสู่การปฏิบัติระยะที่3 ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการรักษาด้วย PCIเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการรักษาด้วย PCI และ2) เครื่องมือเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยจากแฟ้มประวัติผู้ป่วยและและแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย STEMI จังหวัดบุรีรัมย์2.2) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย STEMIและ2.3)แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา: ได้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการรักษาด้วย PCIที่พัฒนาขึ้นและเปรียบเทียบผลลัพธ์ในระยะก่อนและหลังการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย STEMI ที่ได้รับการรักษาด้วย PCIพบว่า1) Onset to Balloon time in Primary PCIหลังการพัฒนาใช้เวลาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 241 นาที เป็น 275นาที2) อัตราDoor to EKG ภายใน 10 นาทีหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75.9 เป็นร้อยละ 84.93) Door to Balloon time in Primary PCI หลังการพัฒนาใช้เวลาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 45 นาทีเป็น 55 นาที4) อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำ PCI หลังการพัฒนาลดลงจากร้อยละ 3.6 เป็น ร้อยละ1.35) อัตราการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วันด้วยโรคเดิมก่อนการพัฒนา ร้อยละ2.4 หลังการพัฒนาไม่พบผู้ป่วยกลับมารักษาซ้ำ6) จำนวนวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยหลังการพัฒนาลดลงจาก 5.5 วัน เป็น 4.3 วัน และ7) อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลหลังการพัฒนาลดลงจาก ร้อยละ 13.2 เป็นร้อยละ 6.8 ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตอยู่ระดับมาก(gif.latex?\bar{x}=3.5, S.D.=0.7)และ พยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการพยาบาลในระดับมาก(gif.latex?\bar{x}= 4.1, S.D.=0.6)
สรุปผล: การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยSTEMIที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวนส่งผลให้มีระบบบริการตามมาตรฐานผู้ป่วยเข้าถึงการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวนได้เร็วขึ้นปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนมีจำนวนวันนอนโรงพยาบาลอัตราการกลับมารักษาซ้ำด้วยโรคเดิมลดลง และอัตราการเสียชีวิตลดลง
คำสำคัญ: การพัฒนารูปแบบการพยาบาล กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดSTEMI การเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวน        

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สถิติกระทรวงสาธารณสุข ปีพ.ศ.2559. นนทบุรี : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

โรงพยาบาลบุรีรัมย์. สถิติผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ 2559. บุรีรัมย์ : โรงพยาบาลบุรีรัมย์; 2559.

กัมปนาท วีรกุล, จิตติโฆษิตชัยวัฒน์} บรรณาธิการ. 7 R การลดอัตราการตายในโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน. นนทบุรี : ศรีนคร ดีไซน์ พริ้นติ้ง; 2557.

เกรียงไกร เฮงรัศมี, บรรณาธิการ. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 5). นทบุรี : สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

อมรรัตน์ ปานะโปย, บุหลัน เปลี่ยนไธสง. การพัฒนาเครือข่ายการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2561;33(2):145-63.

Shewhart WA, Deming WE. Statistical method from the viewpoint of quality control. New York : Dover Publications, Inc.; 1986.

เอมอร แสงศิริ, ดวงกมล วัตราดุลย์, สุธา นิธิกาญจนกุล, ศรีรัตน์ ณัฐธำรงกุล, สถิตพร นพพลับ, สะอาด วงศ์อนันต์นนท์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2558;26(1):104-18.

สุวนิตย์ โพธิ์จันทร์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2011;29(1):22-30.

จรินทร์ ขะชาตย์, เจริญพิศ ปรียาศักดิ์สกุล, สมควร สุขสัมพันธ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST-Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) ที่ได้รับการเปิดขยายหลอดเลือดหัวใจ โรง พยาบาลพระปกเกล้า. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2557;24(1):136-48.

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า, ดิลก ภิญโยทัย. ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจได้รับการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจต่อภาวะแทรกซ้อนและระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจในหอผู้ป่วยอายุรกรรมธท. 2 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. พยาบาลสาร 2562;46(4):149-57.

Ibanez B, James S, Agewall S, Antunes MJ, Bucciarelli-Ducci C, Bueno H, et al. 2017 ESC Guidelines for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation: The Task Force for the management of acute myocardial infarction in patients presenting with ST-segment elevation of the European Society of Cardiology (ESC). Eur Heart J 2018;39(2):119-177. doi: 10.1093/eurheartj/ehx393.

จุฑาภรณ์ เพิ่มพูน, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, อุษาวดี อัศดรวิเศษ, พันธุ์ศักดิ์ ลักษณบุญส่ง. ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบมีโครงสร้างในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความพึงพอใจ และการกลับมารักษาซ้ำ. J Nurs Sci S1 2011;29(2):120-28.

Toback M, Clark N. Strategies to improve self-management in heart failure patients. Contemp Nurse 2017;53(1):105-120. doi: 10.1080/10376178.2017.1290537.

อัจฉริยา พ่วงแก้ว, พรรณิภา บุญเทียร, ศศิมา ทองสาย, นพวรรณ เจริญยศ, ลัลน์ภัทรา ธนัตถ์โภคินันท์. ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2563;31(1):179-97.

สุจิตรา บุญทวี, และกัญญดา ประจุศิลปะ. การศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจ ตายเฉียบพลัน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2557;25(2):90-104.

รัชนี สรรเสริญและคณะ. สถานการณ์ปัญหาและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. การพยาบาลและการศึกษา 2554;4(1):2-16.