ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเทคนิคการใส่ท่อหายใจในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อชั้นลึกของคอที่มารับบริการผ่าตัดระบายหนอง โดยการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

เวณิกา มิตรานันท์

บทคัดย่อ

บทนำ: การเลือกวิธีดูแลทางเดินหายใจในผู้ป่วยติดเชื้อชั้นลึกของคอที่จะเข้ารับการผ่าตัดระบายหนองด้วยการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว เป็นสิ่งสำคัญและยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในการเลือกเทคนิคการใส่ท่อหายใจในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อชั้นลึก ของคอที่มารับบริการผ่าตัดระบายหนองโดยการระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาข้อมูลแบบย้อนหลังในผู้ป่วยติดเชื้อชั้นลึกของคอที่มารับการผ่าตัดระบายหนองด้วย การระงับความรู้สึกแบบทั้งตัวที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ในช่วง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ถึงปี พ.ศ. 2562 ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ การศึกษาหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้เทคนิคในการใส่ท่อหายใจใช้สถิติ Chi-square test (โดยพิจารณาผลการศึกษาที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value<0.05)
ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยทั้งหมด 85 ราย เป็นชาย 53 ราย (ร้อยละ 61.6) เทคนิคที่ใช้ในการใส่ท่อหายใจในการศึกษานี้ ได้แก่ fiberoptic intubation 30 ราย (ร้อยละ 35.3) Macintosh intubation 19 ราย(ร้อยละ 22.4) Mccoy intubation 19 ราย(ร้อยละ 22.4) และ video laryngoscope intubation 17 ราย(ร้อยละ 20) อาการ อาการแสดง และเกณฑ์การประเมินก่อนผ่าตัด ที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้เทคนิคในการใส่ท่อหายใจด้วย fiberoptic ได้แก่ dyspnea, hoarseness of voice, floor of mouth swelling, stridor และ American Society of Anesthesiologists (ASA) physical status class 3 (P-value=0.015, <0.001, 0.004, 0.030, 0.007 ตามลำดับ ) นอกจากนี้ยังพบว่าตำแหน่ง Ludwig’ s angina (P-value=0.004) และจำนวน space ของการติดเชื้อแบบ multiple space (P-value<0.001) ก็มีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้เทคนิคในการใส่ท่อหายใจด้วย fiberoptic เช่นกัน ส่วนการติดเชื้อแบบ single space (P-value<0.001) พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้เทคนิคในการใส่ท่อหายใจด้วย Macintosh intubation
สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเทคนิคใส่ท่อหายใจด้วย fiberoptic ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อชั้นลึกของคอ ได้แก่ อาการ dyspnea, hoarseness of voice, floor of mouth swelling, stridor, ตำแหน่ง Ludwig’s angina การติดเชื้อแบบ multiple space และ ASA physical status 3 ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใส่ท่อหายใจด้วย Macintosh intubation ได้แก่ การติดเชื้อแบบ single space
คำสำคัญ: การระงับความรู้สึก การติดเชื้อชั้นลึกของคอ การใส่ท่อหายใจ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

อัศวิน เรืองมงคลเลิศ. การอักเสบเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม 2559;4(3):5-15.

พิมวิชญา ซื่อทรงธรรม, สุพจน์ เจริญสมบัติอมร, จิระพงษ์ อังคะรา. การอักเสบติดเชื้อของคอชั้นลึกในคณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารศาสตร์เขตเมือง 2561;6(5):365-74.

Alaani A, Griffiths H, Minhas SS, Olliff J, Lee AB. Parapharyngeal abscess: diagnosis, complications and management in adults. Eur Arch Otorhinolaryngol 2005;262(4):345-50. doi: 10.1007/s00405-004-0800-6.

Coticchia JM, Getnick GS, Yun RD, Arnold JE. Age-, site-, and time-specific differences in pediatric deep neck abscesses. Arch Otolaryngol Head Neck Surg 2004;130(2):201-7. doi: 10.1001/archotol.130.2.201.

พงษ์ธารา วิจิตรเวชไพศาล การใส่ท่อช่วยหายใจ : ตำราเชิงภาพประกอบ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : ภาควิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล, 2539.

Vieira F, Allen SM, Stocks RM, Thompson JW. Deep neck infection. Otolaryngol Clin North Am 2008;41(3):459-83, vii. doi: 10.1016/j.otc.2008.01.002.

Ovassapian A, Tuncbilek M, Weitzel EK, Joshi CW. Airway management in adult patients with deep neck infections: a case series and review of the literature. Anesth Analg 2005;100(2):585-9. doi: 10.1213/01.ANE.0000141526.32741.CF.

Suehara AB, Gonçalves AJ, Alcadipani FA, Kavabata NK, Menezes MB. Deep neck infection: analysis of 80 cases. Braz J Otorhinolaryngol 2008;74(2):253-9. doi: 10.1016/s1808-8694(15)31097-1.

Alaani A, Griffiths H, Minhas SS, Olliff J, Lee AB. Parapharyngeal abscess: diagnosis, complications and management in adults. Eur Arch Otorhinolaryngol 2005;262(4):345-50. doi: 10.1007/s00405-004-0800-6.

Cho SY, Woo JH, Kim YJ, Chun EH, Han JI, Kim DY, et al. Airway management in patients with deep neck infections: A retrospective analysis. Medicine (Baltimore) 2016;95(27):e4125. doi: 10.1097/MD.0000000000004125.

Dalton GW, Thompson P H, Price RL. The four stages of professional careers- A new look at performance by professionals. Organ Dyn 1997;6(1):19-42. https://doi.org/10.1016/0090-2616(77)90033-X

American Society of Anesthesiologists. ASA Physical Status Classification System Committee of Oversight: Economics. [internet]. [cited 2021 jan 25]. Available from:URL https://www.asahq.org/standards-and-guidelines/asa-physical-status-classification-system.

ตวงทิพย์ ภาสุรินทร์. ผลลัพธ์ของการระงับความรู้สึกและดูแลทางเดินหายใจในผู้ป่วยโรคติดของเนื้อเยื่อชั้นลึกบริเวณลำคอที่ผ่าตัดในโรงพยาบาลลำปาง. ลำปางเวชสาร 2557;35(2):46-55.

Kulkarni AH, Pai SD, Bhattarai B, Rao ST, Ambareesha M. Ludwig's angina and airway considerations: a case report. Cases J 2008;1(1):19. doi: 10.1186/1757-1626-1-19.