การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เขตเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: ระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในชุมชนที่มีอยู่ยังไม่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และการมีส่วนร่วมของชุมชนยังมีน้อย มีผลต่อการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ในชุมชน เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ของ Stephen Kemmis และ McTaggart มุ่งเน้นศึกษารูปแบบโดยใช้กระบวนการวางแผนการปฏิบัติการสังเกตและการสะท้อนผล ในขั้นตอนการวางแผนใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (Appreciation Influence Control) ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน – ธันวาคม พ.ศ. 2561กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้สูงอายุในชุมชนหลังตลาด จำนวน 80 คน กลุ่มผู้เกี่ยวข้องจำนวน 25 คน การเก็บข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ Paired t-test การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ มี 6 ขั้นตอน
ผลการศึกษา: พบว่า กระบวนการดำเนินงานตามการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ศึกษาบริบทของพื้นที่ วิเคราะห์สภาพปัญหา ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทำแผนปฏิบัติการ ปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการ นิเทศติดตาม สรุปปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและวางแผนในการแก้ไขปัญหา กระบวนการดังกล่าวนำไปสู่ความสำเร็จในการการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุอย่างมีระบบ หลังการดำเนินงานพบว่า ความรู้ การปฏิบัติตนในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p-value<0.001)
สรุปผลการศึกษา: ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานตามระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ คือ ภาคีเครือข่ายโดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่สามารถเป็นแกนนำในการดำเนินกิจกรรมเชิงรุกร่วมกับทีมและภาคีเครือข่ายในพื้นที่อย่างใกล้ชิด
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ รูปแบบ ระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เครือข่าย
Article Details
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. ข้อมูลทางสถิติผู้สูงอายุในประเทศไทยปี2562. [อินเตอร์เนต].2563 [เข้าถึงเมื่อ 31 มี.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก:URL: http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/335.
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand).[บทความวิชาการ].สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.[อินเตอร์เน็ท]. 2556. [สืบค้น7 เม.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก : http://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440_0002.PDF.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เล่มที่ 1 สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพและโรคทางระบบ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2552.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี : สามเจริญพาณิชย์; 2561.
พิณีวรรณ์ บูรณ์เจริญ. รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านลุมพุก ตำบลนาดี อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, คณะสาธารณสุขศาสตร์,บัณฑิตวิทยาลัย: มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
สาริณี วอนเก่าน้อย, เสาวนีย์ ไกรอ่อน. การพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 2558;21:41-53.
Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. 3rd.ed. Victoria: Deakin University;1988.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : จามจุรี โปรดักส์; 2549.
กฤติยา วงศ์ก้อม. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา; 2545.
รัยฮานี บือราเฮง. ปัญหาทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์,คณะสาธารณสุขศาสตร์,บัณฑิตวิทยาลัย; ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2552.
จันทิรา เพียรอดวงษ์. การพัฒนาการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, คณะสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
จีระศักดิ์ เจริญพันธ์, ณัฐจาพร พิชัยณรงค์, ฉวีวรรณจันทรักษ์, บุญเพ็ง ใจดี. การมีส่วนร่วมสร้างเสริมสุขภาพชุมชนโดยใช้ประชาคมสุขภาพในการจัดการระบบสุขภาพภาคประชาชน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2551;26:223-56.
จีระศักดิ์ เจริญพันธ์. การจัดการสาธารณสุขในชุมชน=Community in Public Health Management. พิมพ์ครั้งที่ 11. มหาสารคาม : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.
จงกลนี บุญอาษา, พรทิพย์ คำพอ. การพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ หมู่ 13 ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยแลพัฒนาระบบสุขภาพ 2555;6(3):1-10.