การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทพฤติกรรมรุนแรง ในโรงพยาบาลศรีธัญญา

Main Article Content

ศศินันท์ รักษาทรัพย์
ศิริลักษณ์ สว่างวงศ์สิน
นิตยา สุริยะพันธ์

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: สถิติของพยาบาลถูกผู้ป่วยทำร้ายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่มีอาการอยู่ในระยะวิกฤติ ซึ่งเป็นการกระทำรุนแรงทางวาจาโดยมีสาเหตุเกิดจากการขาดความรู้และทักษะของบุคลากรและการไม่มีแนวปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร
วัตถุประสงค์: เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทพฤติกรรมรุนแรงในโรงพยาบาลศรีธัญญา และทดลองใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทพฤติกรรมรุนแรงในโรงพยาบาลศรีธัญญา
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้แบบแผน ลำดับขั้นแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อกำหนด ร่างแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง โดยใช้การวิจัยเอกสาร ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทดลองใช้ร่างแนวปฏิบัติการ พยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนก ผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีธัญญา จำนวน 20 คน ซึ่งได้รับการฝึกอบรมการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยจิตเภทพฤติกรรมรุนแรงที่ได้พัฒนาขึ้นก่อนนำไปใช้จริงกับผู้ป่วยในหอผู้ป่วยใน
ผลการศึกษา: แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทพฤติกรรมรุนแรงในโรงพยาบาลศรีธัญญามีแบ่งเป็น 6 หมวดโดยมีแนวปฏิบัติรวมทั้งสิ้น 58 ข้อ ผลการทดลองใช้ร่างแนว ปฏิบัติการพยาบาล พบว่า หลังการฝึกอบรมพยาบาลส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการ พยาบาลผู้ป่วยพฤติกรรมรุนแรงในระดับปานกลาง มีทักษะการสื่อสารเพื่อลดระดับความกระวน กระวายใจของผู้ป่วยจิตเภทในระดับมาก และมีทัศนคติต่อการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยพฤติกรรม รุนแรงในระดับปานกลาง และเมื่อนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปปฏิบัติพบว่า แนวปฏิบัติการพยาบาล ที่พยาบาลจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 สามารถปฏิบัติได้ คิดเป็นร้อยละ 36.2 และปัญหาอุปสรรคที่พบ ประกอบด้วย 1) ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรงยังไม่เพียงพอ 2) ทัศนคติต่อการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรงยังต้องได้รับการพัฒนาให้ มีระดับที่สูงขึ้น และ 3) ทักษะที่พยาบาลต้องการพัฒนาคือทักษะการสื่อสารเพื่อลดความรุนแรง
สรุปผล: แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทพฤติกรรมรุนแรงในโรงพยาบาลศรีธัญญาสามารถนำไปใช้ได้ แต่ต้องปรับปรุงการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับพยาบาลวิชาชีพที่จะนำไปปฏิบัติ
คำสำคัญ: การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยจิตเภทพฤติกรรมรุนแรง

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย, บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. ฉบับเรียบเรียง ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

World Health Organization. Schizophrenia. [Internet] 2019. [Cited 2020 Jan 22]. Available from: URL: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/schizophrenia.

Black DW, Anderson NC. introductory textbook of psychiatry. 5th ed. Washington DC: American psychiatric publishing; 2011.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. สถิติโรคจิตเภท 2560. [อินเตอร์เน็ท] 2560 [สืบค้น 22 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก:URL: http//:www//medhubnews.com.

Achir Yani Syuhaimie Hamid M, Catharina Daulima NH. The experience of restraint-use among patients with violent behaviors in mental health hospital. Enferm Clin 2018;28(Suppl 1):295-9.

Podubinski T, Lee S, Hollander Y, Daffern M. Patient characteristics associated with aggression in mental health units. Psychiatry Res 2017;250(1):141-5.

อัครเดช กลิ่นพิบูลย์, ชมพูนุท โมราชาติ, กชพงศ์ สารการ. กลยุทธ์การพัฒนาพยาบาลวิชาชีพ ในการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ของผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาลเขตสุขภาพที่ 10*. วารสารพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2560;31(1):29-40.

Berring LL, Pedersen L, Buus N. Coping with Violence in Mental Health Care Settings: Patient and Staff Member Perspectives on De-escalation Practices. Arch Psychiatr Nurs 2016;30(5):499-507.

Paterson B, McIntosh I, Wilkinson D, McComish S, Smith I. Corrupted cultures in mental health inpatient settings. Is restraint reduction the answer?. J Psychiatr Ment Health Nurs 2013;20(3):228-35.

อรุณี โสตถิวนิชย์, กฤษณา อยู่ศิริ, นิตยา สุริยะพันธ์, สายัณห์ แสนโคตร. รูปแบบการเกิดพฤติกรรมรุนแรงในผู้ป่วยจิตเภทโรงพยาบาลศรีธัญญา. วารสารกรมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข 2551;11(1):8-17.

โรงพยาบาลศรีธัญญา. เอกสารรายงานความเสี่ยงทีมนำทางคลินิก. นนทบุรี : โรงพยาบาลศรีธัญญา ; 2562.

Richmond JS, Berlin JS, Fishkind AB, Holloman GH Jr, Zeller SL, Wilson MP, et al. Verbal De-escalation of the Agitated Patient: Consensus Statement of the American Association for Emergency Psychiatry Project BETA De-escalation Workgroup. West J Emerg Med 2012;13(1):17-25.

จันทรา น้ำดอกมะลิ ทวีศักดิ์ กสิผล, จริยาวัตร คมพยัคฆ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกิน. วารสาร มฉก.วิชาการ 2557;17(34):77-92.

ศิริพร ศิริบุรานนท์, ทิพา ต่อสกุลแก้ว, วรรณี สัตยวิวัฒน์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการ พยาบาลในการจัดการความปวดแผล ผ่าตัดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดใหญ่ช่องท้อง. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2552;27(3):33-41.

ประคอง ชื่นวัฒนา, ฉวีวรรณ อยู่สำราญ, อัมประภา พัวพัน. การพัฒนาแนวปฏิบัติการ พยาบาลในการสนับสนุนด้านจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าทารกในครรภ์มี ความผิดปกติโดยต้องได้รับการผ่าตัดภายหลังคลอด. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2515;33(2):51-60.

สิริยากร สิริอำไพพงศ์. ผลของการใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อการพัฒนาความสามารถใน การคิดแก้ปัญหาของพนักงานผู้ช่วยดูแลผู้ป่วย โรงเรียนฝึกพนักงาน โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการพัฒนามนุษย์, บัณฑิตวิทยาลัย; มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต; 2547.

Khamphan S. Perception of competency in advanced nursing practice (APN) anesthesia of nurse anesthetists. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2010;37(2):109-26.

รัชนี ไพรสวัสดิ์. บทบาทของสมาชิก ครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่บ้าน. [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข, คณะสังคมศาสตร์ การแพทย์และสาธารณสุข, บัณฑิตวิทยาลัย; เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2551.

มลธนัฎ มาปุก. แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกเบาหวาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ขั้นสูง, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2553.

สุวิมล ว่องวาณิช, นงลักษณ์ วิรัชชัย. แนวทางการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2550.

Soukup SM. Evidence-based Practice Model Promoting the Scholarship of Practice. In: Soukup SM, Beason CF, Eds. Nursing Clinic of North America. Philadelphia:WB Saunders; 2000