รูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์ : การทบทวนอย่างเป็นระบบ

Main Article Content

วัจมัย สุขวนวัฒน์
รุจิรดา เศาจวุฒิพงศ์
ปราชญาวติ ยมานันตกุล

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: สตรีตั้งครรภ์ที่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงสามารถ ช่วยบรรเทาอาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ได้แต่พบว่าสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีการออกกำลังกายน้อยซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษารูปแบบและผลลัพธ์การส่งเสริมการออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์ จากรายงานวิจัยปฐมภูมิ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2563
วิธีการศึกษา: เป็นกระบวนการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของสถาบันแอนนาบริกส์ ผู้วิจัยคัดเลือกวรรณกรรมที่ใช้ในการศึกษาด้วยการใช้หลักของ PICO จากฐานข้อมูล ThaiLis,วช., คลังข้อมูลวิจัยไทย, และคลังข้อมูล สวรส, ThaiJo, Google scholar, Science Direct และ CINAHL เครื่องมือที่ใช้ในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ คือ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบสกัดข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ จำนวนและร้อยละ วิเคราะห์รูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา: มีงานวิจัยผ่านเกณฑ์การคัดเลือกทั้งหมด 18 เรื่อง ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลอง จำนวน 14 เรื่อง และการวิจัยกึ่งทดลอง 4 เรื่อง จากการสรุปเนื้อหา พบว่า รูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์ มี 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายตามแนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรรม รูปแบบส่งเสริมการออกกำลังกายผสมผสานแนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรรมร่วมกับแนวคิดอื่น และรูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายโดยไม่ใช้แนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรรม ซึ่งผลลัพธ์พบว่า การส่งเสริมการออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์ส่งผลทำให้สตรีตั้งครรภ์ทำให้มีพฤติกรรมการออกกำลังกายดีขึ้น มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสมมีระดับอาการปวดหลังส่วนล่างและอาการรบกวนการทำกิจวัตรประจำวันน้อยลง มีระดับความเจ็บปวดระยะที่2 ของการคลอดน้อย คะแนนแอพการ์ของทารกแรกเกิดอยู่ในระดับดี
สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงผลดีของรูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์ต่อการเป็นปกติสุขและสุขภาพร่างกายและจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ควรส่งเสริมให้สตรีตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
คำสำคัญ: การส่งเสริมการออกกำลังกาย สตรีตั้งครรภ์ การทบทวนอย่างเป็นระบบ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

สุวิสา ปานเกษม. การออกกำลังกายในระยะตั้งครรภ์ Exercise During Pregnancy. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(3):108-13.

กาญจนา โกทิยะ, ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์. การบริหารร่างกายของสตรีตั้งครรภ์เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2559;8(3):154-67.

รพีพร ขวัญพร้อม, จันทรรัตน์ เจริญสันติ, พรรณพิไล ศรีอาภรณ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์. พยาบาลสาร 2564;48(1):210-21.

กาญจนา ศรีสวัสดิ์, ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร, ณัฐธิดา สอนนาค. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561;38(2):95-109.

ศิริมา เขมะเพชร. การออกกำลังกาย: ผลต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์. วารสารพยาบาลตำรวจ 2556;5(1):1-18.

American College of Sports Medicine. ACSM’s guidelines for exercise testing and prescription. 10th.ed. Philadelphia : Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins; 2016.

Syed H, Slayman T, DuChene Thoma K. ACOG Committee Opinion No. 804: Physical Activity and Exercise During Pregnancy and the Postpartum Period. Obstet Gynecol. 2021 Feb 1;137(2):375-376. doi: 10.1097/AOG.0000000000004266.

Chan CWH, Au Yeung E, Law BMH. Effectiveness of Physical Activity Interventions on Pregnancy-Related Outcomes among Pregnant Women: A Systematic Review. Int J Environ Res Public Health 201923;16(10):1840. https://doi.org/10.3390/ijerph16101840

Tung CT, Lee CF, Lin SS, Lin HM. The exercise patterns of pregnant women in Taiwan. J Nurs Res 2014;22(4):242-9. doi: 10.1097/jnr.0000000000000056.

สมญาภรณ์ พุทธรักษา, บังอร ศุภวิทิตพัฒนา, กรรณิการ์ กันธะรักษา. ทัศนคติบรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมและความตั้งใจในการออกกำลังกายของสตรีตั้งครรภ์. พยาบาลสาร 2559;44(4):24-34.

ฐิติกร โตโพธิ์ไทย, อรณา จันทรศิริ, ปฏิญญา พงษ์ราศรี. ข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็มซี คอนเซ็ปต์ จำกัด, 2560.

กาญจนา โกทิยะ, ศศิธร พุมดวง, และสุรีย์พร กฤษเจริญ. ผลของโปรแกรมกายบริหารต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง.สงขลานครินทร์เวชสาร 2555 ;30(2):243-53.

Page MJ, McKenzie JE, Bossuyt PM, Boutron I, Hoffmann TC, Mulrow CD, et al. The PRISMA 2020 statement: an updated guideline for reporting systematic reviews. [serial online] .2020. [cited 2021 July 1]; [ 1screen]. Available from :URL: http://prisma-statement.org/prismastatement/flowdiagram.aspx.

The Joanna Briggs Institute The University of Adelaide . The Joanna Briggs Institute Reviewers’ Manual 2014 The Systematic Review of Economic Evaluation Evidence. South Australia : The Joanna Briggs Institute 2014; 2014.

สุชารัตน์ ชาติไทย, สาธิตา มัคกิติกาล, กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์. การเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการเดินและการออกกำลังกายแบบโยคะที่บ้านต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดในสตรีตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสที่ ๒: การทดลองเชิงสุ่ม. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2560;17(3):315-24.

ทรงพร จันทรพัฒน์, ประภาพรชูกำเหนิด, สุภา พันธุ์ชนะ , อรวรรณ จินตนะ, ศิรินารถ อึ้งสถาพร. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนด้วยโยคะต่อพฤติกรรมสุขภาพและการเพิ่มน้ำหนักตัวในสตรีตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2561;29(1):148-63.

สุวิสา ปานเกษม. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของหญิงมีครรภ์. วารสารพยาบาลทหารบก 2556;14(2):35-47.

กาญจนา โกทิยะ. ผลของโปรแกรมกายบริหารต่ออาการปวดหลังส่วนล่างในสตรีตั้งครรภ์ [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และผดุงครรภ์ขั้นสูง, คณะพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย; สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2554.

อรวรรณ พินิจเลิศสกุล, ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, นิตยา สินสุกใส, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร. โปรแกรมการกำกับตนเองต่อการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ที่มีน้ำ หนักเกินและอ้วน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561;57(2):26-42.

Yan CF, Hung YC, Gau ML, Lin KC. Effects of a stability ball exercise programme on low back pain and daily life interference during pregnancy. Midwifery 2014;30(4):412-9. doi: 10.1016/j.midw.2013.04.011.

Gaston A, Prapavessis H. Using a combined protection motivation theory and health action process approach intervention to promote exercise during pregnancy. J Behav Med 2014;37(2):173-84. doi: 10.1007/s10865-012-9477-2.

Hui AL, Back L, Ludwig S, Gardiner P, Sevenhuysen G, Dean HJ, et al. Effects of lifestyle intervention on dietary intake, physical activity level, and gestational weight gain in pregnant women with different pre-pregnancy Body Mass Index in a randomized control trial. BMC Pregnancy Childbirth 2014;14:331. doi: 10.1186/1471-2393-14-331.

Eggen MH, Stuge B, Mowinckel P, Jensen KS, Hagen KB. Can supervised group exercises including ergonomic advice reduce the prevalence and severity of low back pain and pelvic girdle pain in pregnancy? A randomized controlled trial. Phys Ther 2012;92(6):781-90. doi: 10.2522/ptj.20110119.

Songøygard KM, Stafne SN, Evensen KA, Salvesen KÅ, Vik T, Mørkved S. Does exercise during pregnancy prevent postnatal depression? A randomized controlled trial. Acta Obstet Gynecol Scand 2012;91(1):62-7. doi: 10.1111/j.1600-0412.2011.01262.x.

Haakstad LA, Bø K. Effect of a regular exercise programme on pelvic girdle and low back pain in previously inactive pregnant women: A randomized controlled trial. J Rehabil Med 2015;47(3):229-34. doi: 10.2340/16501977-1906.

Backhausen MG, Tabor A, Albert H, Rosthøj S, Damm P, Hegaard HK. The effects of an unsupervised water exercise program on low back pain and sick leave among healthy pregnant women - A randomised controlled trial. PLoS One 2017;12(9):e0182114. doi: 10.1371/journal.pone.0182114.

Ali. A Gehan AA, Khadiga S A, Amir G A, Eman A. Efficacy of antenatal exercises on maternal and neonatal outcomes in elderly primigravida. Kasr Al Ainy Med J 2015;21(3):109-14. doi: 10.4103/1687-4625.177813

Kennelly MA, Ainscough K, Lindsay KL, O'Sullivan E, Gibney ER, McCarthy M, et al. Pregnancy Exercise and Nutrition With Smartphone Application Support: A Randomized Controlled Trial. Obstet Gynecol 2018;131(5):818-826. doi: 10.1097/AOG.0000000000002582.

Stafne SN, Salvesen KÅ, Romundstad PR, Stuge B, Mørkved S. Does regular exercise during pregnancy influence lumbopelvic pain? A randomized controlled trial. Acta Obstet Gynecol Scand 2012;91(5):552-9. doi: 10.1111/j.1600-0412.2012.01382.x.

Rauh K, Gabriel E, Kerschbaum E, Schuster T, von Kries R, Amann-Gassner U, et al. Safety and efficacy of a lifestyle intervention for pregnant women to prevent excessive maternal weight gain: a cluster-randomized controlled trial. BMC Pregnancy Childbirth 2013;13:151. doi: 10.1186/1471-2393-13-151.

Abdullah WH, Najib BM. Effect of Antenatal Exercise Teaching Program on Neonatal Outcomes During Delivery in Erbil, Iraq. Medico-legal Update 2020;20(1):510-5. doi: 10.37506/v20/il/2020/mlu/194373

Ainscough KM, O'Brien EC, Lindsay KL, Kennelly MA, O'Sullivan EJ, O'Brien OA, et al. Nutrition, Behavior Change and Physical Activity Outcomes From the PEARS RCT-An mHealth-Supported, Lifestyle Intervention Among Pregnant Women With Overweight and Obesity. Front Endocrinol (Lausanne) 2020;10:938. doi: 10.3389/fendo.2019.00938.

Haakstad LA, Voldner N, Henriksen T, Bø K. Why do pregnant women stop exercising in the third trimester? Acta Obstet Gynecol Scand 2009;88(11):1267-75. doi: 10.3109/00016340903284901.