ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลขั้นต้นผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

Main Article Content

ธวัชชัย ยืนยาว
ภาวิณี แพงสุข
ชลดา กิ่งมาลา

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: แอปพลิเคชันไลน์เป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย หากใช้เพื่อสนับสนุนในการเรียนการสอนก็จะเป็นประโยชน์กับผู้เรียนอย่างสูงสุด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลขั้นต้นก่อนและหลังโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลขั้นต้นผ่านแอปพลิเคชันไลน์
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการจัดโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลขั้นต้นผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ (One Group Pretest-Posttest Design) ใช้เครื่องมือการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามด้านความรู้และ 2) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลขั้นต้น เก็บข้อมูลจาก Google form ตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาพยาบาลจำนวน 155 คน คัดเลือกตัวอย่างด้วย วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังโปรแกรมด้วยโดยใช้สถิติ Pairedt-test
ผลการศึกษา: ผลการศึกษา พบว่า ค่าคะแนนความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลขั้นต้นหลังโปรแกรมสูงกว่าก่อนโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.001
สรุป: โปรแกรมส่งเสริมความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติการรักษาพยาบาลขั้นต้นผ่านแอปพลิเคชันไลน์ของนักศึกษาพยาบาล สามารถพัฒนาการเรียนการสอนให้รายวิชาปฏิบัติการรักษาพยาบาลขั้นต้นมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
คำสำคัญ: โปรแกรมส่งเสริมความรู้และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน, นักศึกษาพยาบาล

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Churchill EF. Social Media Meaning. Proceeding of the 2012 international. workshop on Socially-aware multimedia. New York : Cambridge University Press;2012:43-44.

อรวรรณ วงศ์แก้วโพธิ์ทอง. Social Media เครื่องมือเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ. วารสารนักบริหารมหาวิทยาลัยกรุงเทพ 2553;30(4):63-9.

Poore M. Using Social Media in the Classroom: A Best Practice Guide. 1st.ed. United Kingdom : SAGE Publications Ltd; 2012.

สุรศักดิ์ ปาเฮ.การพัฒนาวิชาชีพครูสู่ยุคปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการ การพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่2. [อินเตอร์เน็ต] 2564. [สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: URL:http://www.mbuisc.ac.th/phd/academic/flipped%20classroom2.pdf.

วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ตถาตา พับลิเคชั่น; 2554.

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. ไลน์รูปแบบการสื่อสารบนความสร้างสรรค์ของสมาร์ทโฟน:ข้อดีและข้อจำกัดของแอปพลิเคชัน.วารสารนักบริหารมหาวิทยาลัยกรุงเทพ 2556;33(4):42-54.

วิภาดา คุณาวิกติกุล.การเรียนการสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ ในยุคศตวรรษที่ 21. พยาบาลสาร 2558;42(2): 152-6.

บุษบา ทาธง, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์, บุษกร แก้วเขียว. ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตในรายวิชา การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2562;11(1): 155-67.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์.หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560). สุรินทร์ : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

Bandura A. Self-efficacy:The exercise of control. New York : W.H. Freeman; 1997.

Bandura A. Social Learning Theory. New Jersey : Prentice – Hall; 1977.

Bandura A. Social foundations thought and action: A social cognitive theory. New Jersey : Prentice-Hall; 1986.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์;2560.

ศิริพร ชุดเจือจีน, ประไพพิศ สิงหเสม, สุดารัตน์ วุฒิศักดิ์ไพศาล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการสร้างเสริมทักษะชีวิตต่อพฤติกรรมสุขภาพทางเพศของนักเรียน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560;4(2): 268-80.

พิชญา ทองโพธิ์, กิ่งแก้ว อุดมชัยกูล. ผลของโปรแกรมอบรมการต่อความรู้ การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการและความสามารถในการกดหน้าอกของนักศึกษาพยาบาลนักเรียน. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2563;26(1):107-21.