ประสบการณ์การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ดิษฐพล ใจซื่อ
ณฐพร คำศิริรักษ์
อังศวีร์ จันทะโคตร

บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: สถานการณ์ผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพอนามัยและนโยบายด้านสาธารณสุขการเรียนรู้และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุพึ่งตนเองในด้านสุขภาพโดยการนำองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านภูมิปัญญาพื้นบ้านมาประยุกต์ใช้จึงเป็นการตอบสนองต่อความต้องการและปัญหาสุขภาพได้อย่างเหมาะสมและคงไว้ซึ่งคุณค่าในผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์และประสบการณ์การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลหลักเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่เคยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานในการดูแลตนเอง จำนวน 20 คน 2) หมอพื้นบ้านและปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 10 คน รวบรวมข้อมูลทั่วไปโดยใช้แบบสัมภาษณ์โครงสร้าง ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้จำนวน ร้อยละค่าเฉลี่ย ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา: ผลการศึกษา พบว่า 1) สถานการณ์การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุเกิดจากกากเรียนรู้และสืบทอดต่อมาจนเป็นแบบแผนและวิถีชีวิตของชาวอีสานโดยมีแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติและบุคคลเป็นสิ่งสนับสนุน ในปัจจุบันถูกมองว่าเป็นสิ่งงมงายล้าสมัย ซึ่งต้องการให้มีการศึกษาเชิงลึกและสืบทอดภูมิปัญญานี้ไว้ 2) ประสบการณ์การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน ประกอบด้วย 3 ด้านได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพ คือ “กินตามครู อยู่ตามฮีต” เป็นการกินอาหารตามหลักโภชนาการหลีกเลี่ยงอาหารแสลง “หลับแซบ หลับนัว” เป็นการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ “บ่อยู่ บ่เซา บ่เจ็บ บ่ป่วย” การทำงานไม่หยุดนิ่งถือเป็นการออกกำลังกาย “หมั่นส่วย หมั่นล้าง” เป็นการดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย “ม่วนชื่นในหัวใจ” คือ การทำให้อารมณ์ จิตใจให้สดชื่นแจ่มใส การป้องกันการเจ็บป่วย คือ “การซอมเบิ่งอาการ” “ขะลำกิน ขะลำอยู่” “การตรวจคัดกรองโรค” และการรักษาบำบัดฟื้นฟู คือ การใช้ยาสมุนไพร ใช้มือและเท้าบีบนวด จับเส้น ดึงกระดูกและใช้พิธีกรรมความเชื่อ
สรุปผล: ประสบการณ์การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสานในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันการเจ็บป่วยและการรักษาบำบัดฟื้นฟูสุขภาพสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลตนเองด้านสุขภาพในบริบทที่ใกล้เคียงได้
คำสำคัญ: ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน การดูแลตนเอง ผู้สูงอายุ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

United Nations : Department of Economic and Social AffairsPopulation Dynamics. World Population Prospects 2019. [Internet]. 2019. [Cited 2020 May 3]. Available from: URL: https://population.un.org/wpp/.

Institute for Population and Social Research, Mahidol University. Situation of the Thai Elderly. Nakorn Pathom : Printery; 2019.

กรมกิจกรรมผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. แผนพัฒนาผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-พ.ศ.2564). ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 3 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: URL: www.older@dop.mail.go.th.

พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ, ชุติมา มาลัย, นิตติยา น้อยสีภูมิ, มนัสวี จำปาเทศ. การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารพยาบาลทหารบก 2562;20(3):44-53.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. ปกิณกคดี 100 ปีการสาธารณสุขไทย. นนทบุรี:สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.); 2561.

ทิพย์วารี สงนอก, นนทิยา จันทร์เนตร์. ภูมิปัญญาด้านการบำบัดรักษาโรคของหมอยาพื้นบ้านในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย 2561;12(3):124-35.

กรุณา จันทุม, กัลยารัตน์ กำลังเหลือ. การรักษาโรคด้วยสมุนไพรและตำรับยาโบราณของหมอพื้นบ้าน. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560;24(2):48-57.

สุรีย์ ธรรมิกบวร, สุรสม กฤษณะจูฑะ, ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ. วัฒนธรรมอีสานกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ. อุบลราชธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2561.

โชติกา สิงหาเทพ, ธนิกานต์ ศรีจันทร์, เสาวนีย์ จันทสังข์. รายงานวิจัยชุมชนเรื่อง “บทบาทของผู้สูงอายุในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ”. กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า; 2561.

จันธิดา กมาลาสน์หิรัญ , กุสุมา ศรียากูล , สมบูรณ์ เกียรตินันทน์, ปารัณกุล ตั้งสุขฤทัย, ปรัชญา เพชรเกตุ. การศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย 4 ภาค. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2563;29(1):36-47.

อรนุช วงศ์วัฒนาเสถียร, กนกพร ทองสอดแสง,ภัทรินทร์ กิตติบุญญาคุณ, สุภาพร กุลธินี. การส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยตำบลแวงน่าน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารราชพฤกษ์ 2563;18(2):128-36.

สามารถ ใจเตี้ย. การเสริมสร้างสุขภาพสังคมผู้สูงอายุในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28(ฉบับเพิ่มเติม 2):s185-s194.

อาวุธ หงษ์ศิริ, เพชรน้ำผึ้ง รอดโพธิ์, ศุภรัตน์ ดวนใหญ่, อัจฉรา แก้วน้อย. ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านชาติพันธุ์กุย: กรณีศึกษาหมอพื้นบ้าน 7 ราย ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2563;18(1):166-79.

ธนิดา ผาติเสนะ, จิรัญญา บุรีมาศ, ปาริชาติ วงษ์วริศรา. การจัดการความรู้ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านเพื่อการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม : กรณีศึกษาเมืองนาทรายทอง นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา; 2561.

มะยุรี วงศ์กวานกลม. ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในสังคมวัฒนธรรมอีสาน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม 2559;6:140-8.