ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล: การทราบสถานการณ์และสุขภาวะของผู้สูงอายุในพื้นที่มีความจำเป็นในการดูแลสุขภาพของประชาชนเพื่อเตรียมพร้อมทั้งด้านทรัพยากรงบประมาณและวางแผนป้องกันปัญหาให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและระดับภาวะพึ่งพาของผู้สูงอายุ รวมทั้งหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนาและการศึกษาเชิงวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุจำนวน 997 คน ในพื้นที่ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์สถิติในการวิเคราะห์คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติไคสแควร์ (Chi –Square test), Fisher’s Exact test
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 53.7 เพศชายร้อยละ 46.3 อายุระหว่าง 60-102 ปี อายุเฉลี่ย 69.8 ปีผู้ดูแลหลักส่วนใหญ่ คือลูกสาวร้อยละ 47.9 ผู้สูงอายุร้อยละ 40.0 มีโรคประจำตัวที่พบมากคือโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 23.7 และ 16.1ตามลำดับ มีปัญหาสุขภาพด้านการมองเห็น ร้อยละ 28.8ปัญหาด้านการได้ยิน ร้อยละ 19.7 และปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ร้อยละ 8.9 ส่วนระดับภาวะพึ่งพาแบ่งความตามความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอยู่ในกลุ่มติดเตียงคิดเป็นร้อยละ 1.1กลุ่มติดบ้านร้อยละ 2.3 และกลุ่มติดสังคมร้อยละ 95.6การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านอายุ การมีผู้ดูแลและการมีโรคประจำตัวในกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพาและกลุ่มที่ดูแลตนเองได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ปัญหาสุขภาพหลักคือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีผู้สูงอายุอยู่ในภาวะพึ่งพาที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องคิดเป็นร้อยละ 3.4 และพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านอายุการมีผู้ดูแลและการมีโรคประจำตัวกับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในกลุ่มมีภาวะพึ่งพาและกลุ่มที่ดูแลตนเองได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ,สุขภาวะ, ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
Article Details
References
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวนผู้สูงอายุจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย จำแนกตามกลุ่มอายุ เพศ จังหวัดเขตการปกครองและภาค พ.ศ. 2560 (จัดทำทุก 3 ปี) [อินเตอร์เน็ต] 2560. [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.2563].ค้นได้จาก:URL:http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุ.[อินเตอร์เน็ต] 2554.[สืบค้นเมื่อวันที่31 ม.ค.2564]. ค้นได้จาก:URL:http://www.nso.go.th/sites/2014/Lists
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. HDC 43+7 แฟ้ม [อินเตอร์เน็ต].; [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.2563]. ค้นได้จาก:URL: https://ssk.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.
ปราโมทย์ ประสาทกุล. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2556. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2557.
พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว, รติพร ถึงฝั่ง. การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย. 2559; 21(2): 94-109.
เพชรรัตน์ บัวเอี่ยม, สุทธิ เจริญพิทักษ์, สุคนธาศิริ, ปรารถนา สถิตย์วิภาวี. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายโรคในผู้สูงอายุ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี.ใน: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 16; 31 พฤษภาคม-1 มิถุนายน 2561;กรุงเทพมหานคร; คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.
วิไลพร ขำวงษ์, จตุพร หนูสวัสดิ์, วรารัตน์ ประทานวรปัญญา, จิดาภา ศิริปัญญา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2554; 5(2): 32-40.
ศิริรัตน์ ปานอุทัย, ทศพร คำผลศิริ, ลินจง โปธิบาล.การวิเคราะห์สถานการณ์การดูแลระยะยาวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับผู้สูงอายุที่พึ่งพาตนเองไม่ได้.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ; 2553.
อัญชิษฐฐาศิริคำเพ็ง, ภักดี โพธิ์สิงห์. การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคประเทศไทย 4.0 .วารสารวิชาการธรรมทัศน์.2560:17(3):235-43.
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย.[อินเตอร์เน็ต] 2556. [สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2564]; 3(6):23.จาก: http://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440_0002.PDF
ผ่องพรรณ อรุณแสง, วรรณภา ศรีธัญรัตน์, เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์, สุทธินันท์ สุบินดี, ปัทมา สุริต,
อัมพรพรรณ ธีรานุตรและคณะ. ภาพสุขภาพผู้สูงอายุในสถาบันบริการสุขภาพและในชุมชน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2552.
น้ำฝน กองอรินทร์.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาวะสุขภาพผู้สูงอายุตั้งแต่วัยกลางขึ้นไปในจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยพยาบาลบาลราชชนนีเชียงใหม่; 2552.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์. ประชากรสูงอายุไทย: ปัจจุบันและอนาคต. เอกสารประมวลสถิติ ด้านสังคม 1/2558 (พฤศจิกายน). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์; 2557.
วิชัย เอกพลากร. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่5 พ.ศ. 2557.นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.
ศิริมาศ ภูมิไชยา, แสงอรุณ อิสระมาลัย, ขนิษฐา นาคะ. ภาวะสุขภาพและภาวะพึ่งพาของผู้อายุไทยในเขตเมือง: กรณีศึกษาเทศบาลนครหาดใหญ่. วารสารศิลปะศาสตร์. 2561;10(1):308-51.
ปิยะดา ด้วงพิบูลย์. การประเมินภาวะพึ่งพาของผู้สูงอายุในเขตอำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี [การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ, คณะวิทยาศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย;นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2552.
จีราพร ทองดี, ดาราวรรณ รองเมือง, ฉันทนา นาคฉัตรีย์. ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2555;22(3):88-99.
ดวงเดือน รัตนะมงคลกุล, สมสมัย สังขมณี, สุธีร์ รัตนะมงคลกุล, วิมลวรรณ เลิศวงศ์เผ่าพันธุ์, สิร์ดาภัทร สุขฉวี. ภาพสุขภาวะของผู้สูงอายุผ่านมุมมองพฤฒพลังในชุมชนจังหวัดนครนายก. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2558;22(2):48-60.
เด่น นวลไธสงค์, สุภาภรณ์ สุดหนองบัว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลวังไม้ขอน อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ 2559;11(2):89-104.
นงนุช แย้มวงษ์. คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2557;21(1): 35-42.
ศิราณี ศรีหาภาค, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, คณิศร เต็งรัง. ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข: 2556.
สุมิตรา วิชา; ณัชพันธ์ มานพ; สุภา ศรีรุ่งเรือง; เบญจพร เสาวภา; ศิริรัตน์ ศรีภัทรางกูร; ณัฐกานต์ ตาบุตรวงศ์;และคณะ. การพัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง (กรณีศึกษาผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียงในเขตรับผิดชอบของ รพ. สต.ฮ่องห้า อ.แม่ทะ จ.ลำปาง). กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2560.
ศศิพัฒน์ ยอดเพชร; เล็ก สมบัติ; ปรียานุช โชคธนวณิชย์; ธนิกานต์ ศักดาพร. ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนชนบทไทย. [อินเตอร์เน็ต] 2563. [สืบค้นเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2564];9.จาก https://thaitgri.org/?wpdmpro.